✅📝บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้✅📝
ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่างการรายงานแบบข้อตกลง
จากคุณครูสุรีย์วัลย์ ชูรักษ์
โรงเรียนอ่าวลึกประชาสรรค์
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ
แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อตกลงในการพัฒนางานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ที่ได้เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อแสดงเจตจำนงว่าภายในรอบการประเมินจะพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรให้สูงขึ้นโดยสะท้อนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ และสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาได้เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งข้อมูลที่ได้นำเสนอนี้ ข้าพเจ้าจะนำไปพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนอ่าวลึกประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ ให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป
แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตำแหน่ง ครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)
(ทุกสังกัด)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม
พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ.
2565
ผู้จัดทำข้อตกลง
ชื่อ นางสาวสุรีย์วัลย์ นามสกุล
ชูรักษ์ ตำแหน่ง ครู
สถานศึกษา โรงเรียนอ่าวลึกประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง
กระบี่
รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 1 อัตราเงินเดือน (...xxx...) บาท
ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ (สามารถระบุได้มากกว่า 1 ประเภทห้องเรียน ตามสภาพการจัด
การเรียนรู้จริง)
✅ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน
☐ ห้องเรียนปฐมวัย
☐ ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ
☐ ห้องเรียนสายวิชาชีพ
☐ ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ
/ ตามอัธยาศัย
ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
ตำแห่งครู ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา
ไว้ดังต่อไปนี้
ส่วนที่
1
ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน
จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน
รวมจำนวน 20.83 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
รายวิชา พลศึกษา (พ23104) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชา
สุขศึกษาและพลศึกษา (พ33102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรม
ลูกเสือ-เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 0.83
ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรม ชุมนุมศิลปะป้องกันตัว
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 0.83
ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรม อบรมจริยธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรม โฮมรูม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรม เพิ่มเวลารู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที 3/3
จำนวน 1.67
ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรม PLC จำนวน 1.67
ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 1.67 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรม โฮมรูม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรม PLC
จำนวน 1.67
ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน 3.33 ชั่วโมง/สัปดาห์
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
จำนวน 3.33 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น
จำนวน 1.67 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรม
เพิ่มเวลารู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที 3/3 จำนวน 1.67
ชั่วโมง/สัปดาห์
หมายเหตุ
1. รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน.ตามแบบ.PA.1.ให้เป็นไปตามบริบทและสภาพการ
จัดการเรียนรู้ของแต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษาและ
ข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง
2. งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ
หลักที่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และให้นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน โดย
เสนอในภาพรวมของรายวิชาหลักที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา สามารถเลือก
รายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง และคณะ
กรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA
2
3. การพัฒนางานตามข้อตกลง ตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้
เรียน (Outcomes)และตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรม และการประเมินของคณะกรรมการประเมิน
ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงาน
จริงสภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจาก
การพัฒนางานตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
เพื่อการแก้ปัญหาการเรียนไม่ต่อเนื่อง
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
การจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ซึ่งเน้น
กระบวนการเรียนการสอนให้นักเรียนรู้จักศึกษาหาความรู้แสวงหาคําตอบ
และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง นักเรียนสามารถค้นคว้าความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
เช่น ผู้รู้ แหล่งเรียนรู้จากสื่อ ICT คลิปวีดีโอ
จากยูทูป โดยครูผู้สอนมีหน้าที่ให้คำแนะนำเพิ่มเติมและเป็นที่ปรึกษา
และสืบเนื่องจากคาบเรียนที่มักจะตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์ และตรงกับกิจกรรมต่างๆ
ของทางโรงเรียน ประกอบกับครูผู้สอนลาคลอดบุตร ทำให้การเรียนการสอนขาดความต่อเนื่อง
จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นผู้สอน
มีความสนใจในการจัดกิจกรรมการเรียนแบบ ผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
เพื่อการแก้ปัญหาการเรียนไม่ต่อเนื่อง โดยผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษาและทบทวนเนื้อหาที่เรียนได้
ด้วยตนเองอีกทั้งนักเรียนยังสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นของตนเองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
โดยมี การโต้ตอบ สนทนา กับนักเรียนคนอื่นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ
การที่ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะแก้ปัญหา และทำให้
ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น เพราะผู้เรียนสามารถศึกษาได้ ด้วยตนเอง
เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ด้วย
จึงทำให้ผู้เรียนมีความ เข้าใจบทเรียนมากขึ้น ผู้เรียนตื่นตาตื่นใจด้วยการนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลาย
เช่น วีดีโอสาธิต ภาพเคลื่อนไหน เป็นต้น
ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนทำให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมี
ประสิทธิภาพและส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของนักเรียนต่อไป
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
ออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมรายวิชา
สุขศึกษาและพลศึกษา จัดทำเว็บไซต์เพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ซึ่งเว็บไซต์จะ
ประกอบด้วยเนื้อหาในรูปแบบสื่อประเภทต่าง ประกอบด้วย เอกสาร วีดีโอ
ข้อความและภาพกราฟฟิก
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งสิ้น 283 คน ในรายวิชา พ33101
สุขศึกษาและพลศึกษา
3.2 เชิงคุณภาพ
การจัดกิจกรรมการเรียนแบบผสม ผสานผ่าน เครือข่ายสังคมออนไลน์องค์กรสามารถแก้ไขปัญหาคาบเรียนไม่ต่อเนื่อง
และเป็นการปรับตัวให้เข้ากับกระแสสังคมในยุคปัจจุบันที่สื่อสังคมออนไลน์ (Social media) เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่างการรายงานแบบข้อตกลง
จากคุณครูสุรีย์วัลย์ ชูรักษ์
โรงเรียนอ่าวลึกประชาสรรค์
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ
ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่างการรายงานแบบข้อตกลง
จากคุณครูสุรีย์วัลย์ ชูรักษ์
โรงเรียนอ่าวลึกประชาสรรค์
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ ครับ