✅📝บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้✅📝
ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่างการรายงานแบบข้อตกลง
จากคุณครูสาวิตรี ธีระสาร
โรงเรียนบ้านนาหว้า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ
แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู
วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
(ทุกสังกัด)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ..2565...
ระหว่างวันที่..1...เดือน...ตุลาคม...พ.ศ..2564... ถึงวันที่ ...30...เดือน...กันยายน...พ.ศ..2565...
ผู้จัดทำข้อตกลง
ชื่อ...นางสาวิตรี.......สกุล.....ธีระสาร.....ตำแหน่ง...ครู.....วิทยฐานะ......ครูชำนาญการพิเศษ........
สถานศึกษา.....โรงเรียนบ้านนาหว้า.....สังกัด…..สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5.....
ได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ…3.......อัตราเงินเดือน .....(XXXXX).....บาท
ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้
(สามารถระบุได้มากกว่า 1 ประเภทห้องเรียน
ตามสภาพการจัด
การเรียนรู้จริง)
✅ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน
☐ ห้องเรียนปฐมวัย
☐ ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ
☐ ห้องเรียนสายวิชาชีพ
☐ ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ / ตามอัธยาศัย
ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแห่งครู
วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา
ไว้ดังต่อไปนี้
ส่วนที่
1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1.
ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน
รวมจำนวน.......25......ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา.....ภาษาไทย........... จำนวน.......5........ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา......คณิตศาสตร์....... จำนวน.......5........ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา...วิทยาศาสตร์ฯ....... จำนวน…….1……..ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา..วิทยาการคำนวณ… จำนวน.......1........ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา…..สังคมศึกษา……. จำนวน.......1.......ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา…..ประวัติศาสตร์…… จำนวน.......1.......ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา…..สุขศึกษา ฯ……….. จำนวน…….1…….ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา…..ศิลปะ………………. จำนวน......1.......ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา…..การงานอาชีพ……… จำนวน......1......ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา….ภาษาต่างประเทศ… จำนวน...5....ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา…..หน้าที่พลเมือง…… จำนวน...1.....ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา…..แนะแนว……………… จำนวน...1....ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา…..ลูกเสือ-เนตรนารี…… จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา…..สาธารณะประโยชน์.. จำนวน...1....ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา…ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้.. จำนวน..1...ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน.....1......ชั่วโมง/สัปดาห์
- การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ จำนวน.....1......ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน.....2......ชั่วโมง/สัปดาห์
-
หัวหน้างานวิชาการ จำนวน.....1......ชั่วโมง/สัปดาห์
-
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน.....1......ชั่วโมง/สัปดาห์
-
เจ้าหน้าที่งานการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน.....1......ชั่วโมง/สัปดาห์
- เจ้าหน้าที่งานทะเบียนข้อมูลสารสนเทศ จำนวน.....1......ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น
จำนวน.....3......ชั่วโมง/สัปดาห์
- ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ จำนวน.....1......ชั่วโมง/สัปดาห์
หมายเหตุ
1. รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนา ตามแบบ PA
1 ให้เป็นไปตามบริบท
และสภาพการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสถานศึกษา
โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษา และข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง
2. งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางานต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
และให้นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน โดยเสนอในภาพรวม
ของรายวิชาหลักที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา
สามารถเลือกรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง
และคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางาน ตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA
2
3. การพัฒนางานตามข้อตกลง ตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ ของผู้เรียน (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรม และการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริง สภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางาน ตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร
ส่วนที่ 2
ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง
ซึ่งปัจจุบัน
ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การสร้างพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ด้วยรูปแบบการสอน CIPPA Model รายวิชาคณิตศาสตร์ สาระที่ 5 เรื่องการคูณ (การแก้โจทย์ปัญหาการคูณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามตัวชี้วัดที่ต้องรู้และควรรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ และปัญหาของผู้เรียน
ตามที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ให้ครูในสังกัดได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น
ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid-19 ) ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ดังนั้น
ข้าพเจ้านางสาวิตรี ธีระสาร ตำแหน่ง ครู
วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 รับผิดชอบทำการสอนให้กับนักเรียนทั้งหมด จำนวน 14 คน ในทุกรายวิชาทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้เป็นตามปกติได้
จึงทำให้ทางโรงเรียนได้เลือกรูปแบบวิธีการสอน แบบ On-Hand เป็นกิจกรรมหลัก และ การเรียนการสอนแบบ Online (ในบางโอกาส) จากการจัดกิจกรรมดังที่กล่าวมานั้นทำให้พบปัญหาส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์
ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจในหลายเนื้อหา
หรือมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ คือร้อยละ 70 คะแนนเฉลี่ยการทดสอบประจำบทเรียนในแต่ละหน่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักในช่วงสถานการณ์โควิด Covid-2019
ซึ่งต้องสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรสมรรถนะที่นักเรียนต้องรู้และควรรู้ตามตัวชี้วัด
จากการนำผลตรวจแบบฝึกหัด/ใบกิจกรรม/ใบงานในเนื้อหา ที่เป็นภาระงานให้นักเรียนได้ทำการเรียน จึงสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
แสดงให้เห็นว่านักเรียนยังขาดความเข้าใจไม่มีความรู้พื้นฐานและความรู้ทางคณิตศาสตร์
ข้อปัญหาที่พบ คือ นักเรียนจะไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้ถูกต้อง
วิธีการหาคำตอบผิดพลาด ขาดความมั่นใจในการตอบที่ถูกต้อง จึงทำให้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน
นักเรียนส่วนมากยังขาดทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างไม่ต่อเนื่องจึงทำให้ขาดความคิดรวบยอดในการเรียนได้เท่าที่ควร
ดังนั้นจึงทำให้เกิดผลกระทบถึงการเรียนในเนื้อหาอื่นๆ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขในทักษะการแก้โจทย์ปัญหา
หน่วยที่ 5 เรื่อง การคูณ
ในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนในเนื้อหาต่อไป ครูผู้สอนในฐานผู้รายงานจะประสบปัญหาในการสอน
เรื่อง การคูณ และทักษะการแก้โจทย์ปัญหา
ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตลอดมา
นักเรียนไม่ทราบว่าจะหาคำตอบด้วยวิธีใดเพราะไม่เข้าใจความหมายของโจทย์ปัญหาแต่ละข้อ จึงไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและแก้โจทย์ปัญหานั้นได้ และยังค้นพบว่า
แนวทางในการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์นั้นทำได้หลายวิธี เช่น พัฒนาหลักสูตร และอีกวิธีหนึ่งที่สำคัญ
คือ
การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้หรือเทคนิคการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยที่ครูต้องปรับวิธีการสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เน้นกระบวนการคิด อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล มุ่งให้ผู้เรียนรักการการเรียน
รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาความรู้ และรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง การเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นเรียนไม่มีความหลากหลายของสื่อการเรียนการสอนหรือนวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ
ที่จะกระตุ้นความสนใจของนักเรียนในการเรียนคณิตศาสตร์ เช่น
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI รูปแบบการสอน CIPPA
Model เป็นต้น
ซึ่งนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ควรมีลักษณะกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ท้าทายความสามารถ
ให้เข้าใจง่ายในบทเรียน มีภาพประกอบ
ออกแบบให้สวยงามและสามารถฝึกฝนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
อันจะส่งผลให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แบบฝึกทักษะมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิชาที่เป็นทักษะมาก เพราะเป็นอุปกรณ์เปรียบเสมือนผู้ช่วยครูทางอ้อม
ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะในการใช้ภาษาให้ดีขึ้น
ส่งเสริมในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
ทำให้นักเรียนมีความสุขและเรียนรู้แบบสนุก ไม่เบื่อในการเรียน เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนหลังจากเรียนบทเรียนเสร็จแล้ว
ตลอดจนนักเรียนสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง ทำให้ครูมองเห็นปัญหาต่างๆ
ของนักเรียนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
1) ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง และหลักสูตรนักเรียนต้องรู้ (กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2) เพื่อคัดเลือกและออกแบบหน่วยตามตัวชี้วัด สร้างและจัดทำพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะ หน่วยที่ 5 เรื่อง การคูณ “การแก้โจทย์ปัญหาการคูณ” รหัสตัวชี้วัด ค.1/1 ป.2/5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยรูปแบบการสอน CIPPA Model ผลิตสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI เพื่อช่วยเสริมทักษะตามความเหมาะสมของนักเรียนรายบุคคล และนำผลสะท้อนในการทำแบบฝึกเสริมทักษะบันทึกข้อมูลคะแนนในระบบสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้ นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาหว้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ร้อยละ 80 มีความรู้และเข้าใจวิธีการแก้โจทย์ปัญหา การสร้างโจทย์ปัญหาพร้อมทั้งหาคำตอบได้ถูกต้อง ตามตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยที่ 5 เรื่อง การคูณ (ตรงตามหลักสูตรแกนกลางต้องรู้และควรรู้) รหัสตัวชี้วัด ค.1/1 ป.2/5 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
เชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาหว้า
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ปีการศึกษา 2564 ต้องรู้ถึงวิธีการแก้โจทย์ปัญหา
การสร้างโจทย์ปัญหาพร้อมทั้งหาคำตอบได้ถูกต้อง และมีความรู้ตามตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
หน่วยที่ 5 เรื่อง การคูณ
(ตรงตามหลักสูตรแกนกลางต้องรู้และควรรู้) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2561 มีสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 คนไทยฉลาดรู้ (Literate
Thais) ในสมรรถนะที่ 2 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเรียนรู้อย่างมีความสุข
ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่างการรายงานแบบข้อตกลง
จากคุณครูสาวิตรี ธีระสาร
โรงเรียนบ้านนาหว้า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ
ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่างการรายงานแบบข้อตกลง
จากคุณครูสาวิตรี ธีระสาร
โรงเรียนบ้านนาหว้า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ