ตัวอย่าง Best Practice กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 




💕💕บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💕💕

 

ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่าง Best Practice



 จากคุณครูศิริวัฒน์   สุนทรงามทวีเลิศ


โรงเรียนบ้านตรมไพร 


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1


เป็นไฟล์ PDF  สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ


ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)

ชื่อผลงาน                              เกมวางบัตรภาพพืชดอกบอกให้รู้ พร้อมใบกิจกรรมหนูทำได้

ผู้รับผิดชอบ                            นายศิริวัฒน์ สุนทรงามทวีเลิศ

กลุ่มสาระการเรียนรู้                    วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชื่อหน่วยงาน                           โรงเรียนบ้านตรมไพร

สังกัด                                   เครือข่ายบริหารสถานศึกษาแบบบูรณาการ ศีขรภูมิ ๒ 

                                          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต ๑

๑. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

            หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติ ให้เป็นมนุษย์ที่ มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นใน การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้ทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๑)

         วิชาวิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล ความคิด สร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะที่สำคัญในการ ค้นหาความรู้มีความสามารถในการ แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล หลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ทุก คนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจโลกธรรมชาติ พัฒนา คุณภาพชีวิตที่ดีตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตเนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโลกธรรมชาติซึ่งมี การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทุกคนต้องเรียนรู้เพื่อนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตและการประกอบอาชีพเมื่อ ผู้เรียนได้รับปัญหา มีการร่วมกันคิดลงมือปฏิบัติจริงก็จะเข้าใจและเห็นความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์ อื่น และชีวิต ทำให้สามารถอธิบายทำนายคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๖)

        ในปีการศึกษา ๒๕๖๕ นี้ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้จัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิชาวิทยาศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ซึ่งได้สังเกตพฤติกรรมการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ทำให้ พบว่านักเรียนไม่ชอบในการเรียนวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมีความคิดว่าเป็นวิชาที่ยาก และมีเจตคติที่ไม่ดีต่อ วิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ข้าพเจ้าจึงมีแนวคิดว่าจะจัดเรียนการสอนอย่างไรเพื่อให้นักเรียนชอบเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ และ สนุกกับการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ จึงได้คิดสร้างสรรค์ เกมสัตว์มหัศจรรย์และกลุ่มที่อยู่ขึ้นเพื่อใช้ควบคู่ไป กับการจัดการเรียนการสอน เพราะเกมอาจทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน อีกทั้งยังส่งผลให้นักเรียนมี ความกระตือรือร้นและรู้สึกชอบ มีความสุขในการเรียนมากขึ้น

            เกมวางบัตรภาพพืชดอกบอกให้รู้ พร้อมใบกิจกรรมหนูทำได้อยู่นั้นเป็นเกมที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งได้รับความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์เนื่องจาก เป็นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหรือ Active Learning คือการที่ครูให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อการค้นหา คำตอบของปัญหาด้วยตนเอง อีกทั้งสอดแทรกความรู้เรื่อง ความซื่อสัตย์สุจริต นักเรียนทุกคนในชั้นเรียน ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน มีความสุขในการเรียนรู้ และกระตุ้นความสนใจได้เป็นอย่างดี สมาชิกทุกคนต้องเคารพกติกาในการเล่นเกม ซึ่งข้าพเจ้าได้สร้างเกม เพื่อบูรณาการกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนสำหรับครูผู้สอนตามกลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐) ทั้ง ๘ คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นนวัตกรรม ประกอบการจัดการเรียนการสอน ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาให้กับนักเรียน เพื่อ ส่งเสริมทักษะกระบวนการคิด ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่ อย่างพอเพียง มีความมุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทยและมีจิตสารธารณะ อีกทั้งยังเกิดความสามัคคี ในการเล่นเกมร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม และยังได้ความสนุกสนาน ฝึกทักษะด้านกระบวนการคิดแบบ นักวิทยาศาสตร์อีกด้วย

         จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าต้องการให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ มีความรู้ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ยั่งยืน ควบคู่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการที่กล่าวมาจึงได้มี ความคิดที่สร้างสรรค์ “เกมวางบัตรภาพพืชดอกบอกให้รู้ พร้อมใบกิจกรรมหนูทำได้” มาเป็นนวัตกรรม ประกอบการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ มีความสนุกในการเรียน วิทยาศาสตร์ และสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน โดยกลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๓๑ คน สาระการเรียนรู้เรื่อง ศึกษากลุ่มพืชดอก

๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของผลงาน

        ๒.๑ จุดประสงค์

    ๑) เพื่อให้นักเรียนมีวินัยในการเล่นเกมวางบัตรภาพพืชดอกบอกให้รู้ พร้อมใบกิจกรรมหนูทำได้      

    ๒) เพื่อให้นักเรียนรู้กติกา ปฏิบัติตามกติกาในการเล่นเกมและมีความซื่อสัตย์ในการเล่นเกม 

    ๓) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของนักเรียนและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ 

   ๔) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้เรื่อง การศึกษากลุ่มพืชดอกให้ สูงขึ้น 

  ๕) เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการตามตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน

๒.๒ เป้าหมาย

         ๒.๒.๑ เชิงปริมาณ

                 ๑) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ร้อยละ ๘๐ มีวินัยและความซื่อสัตย์ในการเล่น เกม สามารถปฏิบัติตามกติกาในการเล่นเกมได้

                ๒) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ร้อยละ ๘๐ มีทักษะกระบวนการคิดและมี เจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์

                ๓) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ร้อยละ ๘๐ มีผลสัมฤทธิ์ในรายวิชา วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้เรื่อง การศึกษากลุ่มพืชดอก

           ๒.๒.๒ เชิงคุณภาพ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีพัฒนาการด้านกระบวนการคิด มีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ๘ ประการตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐)

๓. กระบวนการผลิตงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน

        การจัดกิจกรรมเกมวางบัตรภาพพืชดอกบอกให้รู้ พร้อมใบกิจกรรมหนูทำได้โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA กระบวนการ PLC และการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ๔ ขั้น ตามโมเดล PAR-SAPS ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๑

ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่าง Best Practice



 จากคุณครูศิริวัฒน์   สุนทรงามทวีเลิศ


โรงเรียนบ้านตรมไพร 


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1


เป็นไฟล์ PDF   สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ

 










 

ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่าง Best Practice



 จากคุณครูศิริวัฒน์   สุนทรงามทวีเลิศ


โรงเรียนบ้านตรมไพร 


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1


เป็นไฟล์ PDF  ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ

 

https://drive.google.com/file/d/1F0K6OxC0GGD_ZVo7anJ0nVt1A1xTXUcV/view?usp=sharing 


ใหม่กว่า เก่ากว่า