ตัวอย่างการรายงานแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน PA1

ตัวอย่างการรายงานแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน PA1

 




✅📝บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้✅📝

 



 จากคุณครูณัฐธยาน์   สานิง


โรงเรียนนิลรัตน์อนุสรณ์  


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1


เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้   
 

สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ

 

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)

(ทุกสังกัด)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2565

ผู้จัดทำข้อตกลง

ชื่อ..............นางสาวณัฐธยาน์.............นามสกุล.......................สานิง.........................................ตำแหน่งครู

สถานศึกษา  โรงเรียนนิลรัตน์อนุสรณ์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

รับเงินเดือนในอันดับ ค.ศ. ....1.... อัตราเงินเดือน .....XXXXX....บาท

ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ (สามารถระบุได้มากกว่า 1 ประเภทห้องเรียน ตามสภาพการจัด

การเรียนรู้จริง)

o ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน

o ห้องเรียนปฐมวัย

o ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ

o ห้องเรียนสายวิชาชีพ

o ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ / ตามอัธยาศัย

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแห่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด                 

   1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน....15....ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

          กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ     20 นาที

          กิจกรรมเสริมประสบการณ์          20 นาที

          กิจกรรมสร้างสรรค์                   40 นาที

          กิจกรรมเล่นตามมุม                  40 นาที

          กิจกรรมกลางแจ้ง                    40 นาที

          กิจกรรมเกมการศึกษา               40 นาที    

   1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน.. 10..ชั่วโมง/สัปดาห์

                               - การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้                       2 ชั่วโมง/สัปดาห์

                               - การวัดและประเมินผลการเรียนรู้                      2 ชั่วโมง/สัปดาห์

                               - การประเมินพัฒนาการเด็ก                             2 ชั่วโมง/สัปดาห์

                               - การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน            2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ        2 ชั่วโมง/สัปดาห์

 1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน...13...ชั่วโมง/สัปดาห์

- ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่การเงินและบัญช             2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- หัวหน้าระดับชั้น                                        5 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานวิจัยชั้นเรียน                                        1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานตรวจการบ้านนักเรียน                             2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานครูที่ปรึกษาประจำชั้น/งานดูแลนักเรียน         2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ครูเวรประจำวัน                                         1 ชั่วโมง/สัปดาห์

   1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน....-....ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู (ให้ระบุรายละเอียดของงานที่จะปฏิบัติในแต่ละด้านว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยอาจระบุระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการด้วยก็ได้)

หมายเหตุ

1. รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนา ตามแบบ PA 1 ให้เป็นไปตามบริบท และสภาพการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษา และข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง

2. งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางานต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ที่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และให้นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน โดยเสนอในภาพรวม ของรายวิชาหลักที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา สามารถเลือกรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง และคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางาน ตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA 2

          3. การพัฒนางานตามข้อตกลง ตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ ของผู้เรียน (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรม และการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริง สภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางาน ตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
             ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน

ดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

   ประเด็นท้าทาย เรื่อง พัฒนาการด้านสติปัญญาโดยใช้สื่อนิทานเล่มใหญ่

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

  การจัดประสบการณ์ด้านสติปัญญาเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โดยหลักสูตรสถานศึกษาศึกษาได้กำหนดประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้ เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ผ่านการคิด การใช้ภาษา การสังเกต การจำแนกและการเปรียบเทียบ จำนวน มิติสัมพันธ์(พื้นที่/ระยะ) และเวลา จากประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนพบว่านักเรียนชั้นอนุบาล 3 ส่วนมากมีปัญหาในด้านการใช้ภาษา การคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและการแก้ปัญหา จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ ซึ่งสื่อหนังสือนิทานที่ครูพัฒนาขึ้นเองสามารถพัฒนาด้านสติปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ได้  ครูผู้สอนจึงจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สื่อนิทานเล่มใหญ่เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 เพื่อให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่สูงขึ้น

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

    1)  ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 เพื่อออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณลักษณะและตัวบ่งชี้

2) ศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อนิทานเล่มใหญ่สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3

3) ใช้กระบวนการ PLC เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา พัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

4) ออกแบบสื่อนิทานเล่มใหญ่ ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น นิทาน 3 มิติ นิทานเน้นภาษา และอื่นๆ

5) จัดทำสื่อการเรียนรู้ นิทานเล่มใหญ่ ตามที่ได้ออกแบบไว้

6) นำสื่อไปทดลองใช้และนำผลที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาสื่อนิทานเล่มใหญ่ ให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

7) นำผลสะท้อนในการใช้สื่อนิทานเล่มใหญ่ บันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้  นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

          3.1 เชิงปริมาณ

   นักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนนิลรัตน์อนุสรณ์ ร้อยละ 70  มีผลการพัฒนาด้านสติปัญญาสูงขึ้น

3.2 เชิงคุณภาพ

 นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนนิลรัตน์อนุสรณ์ สามารถพัฒนาด้านสติปัญญาในด้านการใช้ภาษา การคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและการแก้ปัญหา จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ ตรงตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และตัวบ่งชี้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560




 จากคุณครูณัฐธยาน์   สานิง


โรงเรียนนิลรัตน์อนุสรณ์  


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1


เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้   
 

สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ










 




 จากคุณครูณัฐธยาน์   สานิง


โรงเรียนนิลรัตน์อนุสรณ์  


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1


เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้   
 

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ


https://drive.google.com/file/d/1YIgBNqDB6SfRAIP0mdjT9hlRzMjvmlrd/view?usp=sharing 


ใหม่กว่า เก่ากว่า