ตัวอย่างการรายงานแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน PA1

 




💕💕บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💕💕

 



 จากคุณครูสุชาธิณี   แก้วมณี


โรงเรียนคลองมหาวงก์ 


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1


เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้   
 

สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ

 

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)

(ทุกสังกัด)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ระหว่างวันที่ 1 เดือน เมษายน พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2565

ผู้จัดทำข้อตกลง

ชื่อ นางสาวสุชาธิณี นามสกุล แก้วมณี  ตำแหน่ง ครู

สถานศึกษา โรงเรียนคลองมหาวงก์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 1  อัตราเงินเดือน ***** บาท

ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ (สามารถระบุได้มากกว่า 1 ประเภทห้องเรียน ตามสภาพการจัดการเรียนรู้จริง)

✅ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน

☐ ห้องเรียนปฐมวัย

☐  ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ

☐  ห้องเรียนสายวิชาชีพ

☐ ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ / ตามอัธยาศัย

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่  1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

  1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 17 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

รายวิชาคณิตศาสตร์ (ค13101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1

          จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาคณิตศาสตร์ (ค13101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2

          จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาคณิตศาสตร์ (ค13101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3

          จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี           จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมวิถีพุทธ                     จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

 

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

    จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์และสร้างสื่อนวัตกรรม

    จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง 15 นาที/สัปดาห์ ดังนี้

   กรรมการกลุ่มงานบริหารงบประมาณ           จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

   กิจกรรมส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ประจำชั้น      จำนวน 1 ชั่วโมง 15 นาที/สัปดาห์

   งานเยี่ยมบ้าน/ติดตามนักเรียน                   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

 1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

          กิจกรรมวันสำคัญ                              จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์


 หมายเหตุ

1. รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบ PA1 ให้เป็นไปตามบริบทและสภาพการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษาและข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง

2. งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และให้นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน โดยเสนอในภาพรวมของรายวิชาหลักที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา สามารถเลือกรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งและคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA 2

3. การพัฒนางานตามข้อตกลง ตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรม และการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริง สภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางานตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์

การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือ มีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

          ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา      ค13101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หน่วยที่ 4 เรื่องการคูณจำนวนไม่เกินสี่หลัก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

                     การจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่องการคูณ เป็นเรื่องที่เรียนรู้ต่อเนื่องมาจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ทำให้นักเรียนไม่ได้เรียนเรื่องการคูณในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อย่างเต็มที่ จึงทำให้นักเรียนไม่มีพื้นฐานในการเรียนเรื่องการคูณ และการคูณในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีการเพิ่มจำนวนหลักของตัวเลขในโจทย์ไม่เกินสี่หลัก รวมถึงเป็นพื้นฐานต่อเนื่องไปสู่การเรียนรู้เรื่องการหาร หากนักเรียนไม่เข้าใจหลักการคูณก็จะส่งผลต่อการเรียนเรื่องการหารและยากต่อการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

                     ดังนั้น ครูผู้สอนจึงได้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าทาย โดยการจัดสร้างสื่อ   ใบงานควบคู่เสริมกับแบบฝึกทักษะ เรื่องการคูณจำนวนไม่เกินสี่หลัก ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ต่อไป

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                     2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนคลองมหาวงก์ ตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2564 ในเรื่องมาตรฐานการเรียนและตัวชี้วัดของเนื้อหา

                     2.2 จัดทำกำหนดการสอน รายวิชาคณิตศาสตร์ หน่วยที่ 4 เรื่องการคูณจำนวนไม่เกินสี่หลัก

                     2.3 ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของใบงานและเฉลยของใบงาน พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงแก้ไข

                     2.4 ครูผู้สอนนำชุดการเรียนรู้มาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                     2.5 นำใบงาน หน่วยที่ 4 เรื่องการคูณจำนวนไม่เกินสี่หลัก ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กับนักเรียนควบคู่กับการใช้แบบฝึกหัด

                     2.6 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในโปรแกรม Microsoft Excel และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ หากนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนและการสอนซ่อมเสริม แล้วให้นักเรียนได้ศึกษาและทำการทดสอบใหม่จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

  3.1 เชิงปริมาณ        

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน ได้รับการพัฒนาทักษะการคูณจำนวนไม่เกินสี่หลัก ด้วยใบงานเสริมควบคู่กับแบบฝึกหัด รายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค13101


  3.2 เชิงคุณภาพ        

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการคูณจำนวนไม่เกินสี่หลัก และนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้





 จากคุณครูสุชาธิณี   แก้วมณี


โรงเรียนคลองมหาวงก์ 


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1


เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้   
 

สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ

 














 จากคุณครูสุชาธิณี   แก้วมณี


โรงเรียนคลองมหาวงก์ 


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1


เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้   
 

ดาวน์โหลไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ

 

https://drive.google.com/file/d/1AEAnqtv0sW59jnR-rsQgi3NYKtBxEKfb/view?usp=sharing 


ใหม่กว่า เก่ากว่า