✅บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้✅
ขอแนะนำไฟล์ การรายงานแบบข้อตกลง
เครดิต : คุณครูธนิตา ลิขิต
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน
(PA)
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู
วิทยฐานะ ไม่มีวิทยฐานะ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
ระหว่างวันที่
1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่
30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2565
ผู้จัดทำข้อตกลง
ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ครู
สถานศึกษา สังกัด .
ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้
☑ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน
ส่วนที่
1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่
ก.ค.ศ.กำหนด
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 14.15 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/การออกแบบและเทคโนโลยี
ม.3
จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/การออกแบบและเทคโนโลยี
ม.4
จำนวน 3.33 ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/การออกแบบและเทคโนโลยี
ม.6
จำนวน 3.33 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมเพื่อสังคม
ชุมนุม ม.1-3 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์
ลูกเสือ เนตรนารี
ยุวกาชาด ม.3 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์
แนะแนวที่ปรึกษา ม.3/2 จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1.66 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2.50 ชั่วโมง/สัปดาห์
ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2565
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 26 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
กิจกรรมเพื่อสังคม ชุมนุม
ลูกเสือ เนตรนารี
ยุวกาชาด
แนะแนวที่ปรึกษา
กิจกรรมอบรมคุณธรรม
จริยธรรม
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น
ด้านที่
1 ด้านการจัดการเรียนรู้ ลักษณะงานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติและนำเสนอครอบคลุมถึง
การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร
การออกแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้
การวัดและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้
การศึกษา การวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน
และการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
1.1
สร้างและพัฒนาหลักสูตร ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดนาขุนแสน
(แกละประชานุกูล) พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2565 จัดทำคำอธิบายรายวิชา คณิตศาสตร์
วิเคราะห์ตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลาง และดำเนินการจัดทำหน่วยการเรียนรู้
และแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา คณิตศาสตร์
ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา
1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้รายวิชาโครงสร้างรายวิชา ประเมินผลการใช้หน่วยการเรียนรู้
1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นำเทคโนโลยี สื่อ นวัตกรรม สื่อการเรียน มีการออกแบบสื่อการเรียนรู้ เช่น Google Site ,Youtube , คลิปวิดีโอ, เกม, ห้องเรียนออนไลน์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
1.4 การสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม ได้สร้างสื่อ นวัตกรรมการเรียน มีการออกแบบสื่อการเรียนรู้ เช่นเว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ , Google Site , Padlet, Google form มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือการวัดและประเมินผล
1.5 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงและเก็บผลการเรียนรู้ ก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียนอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่นการทำแบบทดสอบ การสร้างชิ้นงาน
1.6 การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน วิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาทักษะการคูณ และการหาร ด้วยสื่อวิดีโอยูทูบ ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และนำความรู้ที่ได้มาวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนที่มีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
1.7 การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน จัดบรรยากาศห้องเรียนให้สะอาด สวยงาม และปลอดภัย สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ในการเรียนการสอน สามารถสืบค้นข้อมูลต่าง ๆได้ด้วยตนเอง สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว นำสื่อ นวัตกรรม เกม มาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน
1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
สอดแทรกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณธรรม
และจริยธรรม ในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยคำนึงความแตกต่างของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน ลักษณะงานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติและนำเสนอครอบคลุมถึง สารสนเทศของผู้
เรียน และรายวิชาที่ครูสอนให้ผู้เรียนและผู้ปกครองสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ รวมถึงการแก้ไขปัญหาผู้เรียนให้มีความ
พร้อมและมีศักยภาพเพียงพอในการพัฒนาได้ เช่น การเยี่ยมบ้านนักเรียน คัดกรองนักเรียนยากจน
การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล การประเมิน SDQ ระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียน เพื่อใช้สนับสนุนการเรียนรู้
และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ลักษณะงานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติและนำเสนอครอบคลุม
ถึงการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการ
เรียนรู้และนำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ
พัฒนาเทคโนโลยี สื่อ นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้
ประเด็นท้าทาย เรื่อง นักเรียนมีปัญหาด้านทักษะการคูณและการหารตัวเลข
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดนาขุนแสน (แกละประชานุกูล) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
เนื่องจากโรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก
ทำให้จำนวนบุคลากรที่จะทำการจัดการเรียนการสอนให้ครบตามกลุ่มสาระ หรือรายวิชานั้นไม่เพียงพอ
จึงทำให้ครูผู้สอนประจำชั้นต้องทำการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชาของระดับชั้นนั้น
ๆ และในช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้นักเรียนต้องเรียนในรูปแบบ On
hand ส่งผลให้คุณภาพและประสิทธิภาพในการเรียนลดลง
ดังนั้นในปีการศึกษานี้ ครูผู้สอนจึงได้ใช้วิธีการ พัฒนาเว็บไซต์ โดยใช้สื่อวิดีโอ
และใบกิจกรรมเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนแต่ละคน
ได้ปรับให้เหมาะสม กับช่วงเวลา อุปกรณ์ของตนเอง มีการยืดหยุ่นในเรื่องของเวลา
นักเรียนสามารถทบทวนย้อนหลังได้จากวิดีโอที่ครูจัดทำไว้ให้ ได้บ่อยตามต้องการ
ผ่านโทรศัพท์ของผู้ปกครอง หรือช่วงเวลาพักกลางวันได้ เพื่อแก้ไขปัญหา
และเพื่อเพิ่มทักษะการคูณและการหารตัวเลขให้ดีขึ้น
และต่อยอดในการเรียนเนื้อหาในปัจจุบันได้
2. วิธีการดําเนินการให้บรรลุผล
1) ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง
และหลักสูตรนักเรียนต้องรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อ
ออกแบบหน่วยตามตัวชี้วัด
2)
ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ แต่ละหน่วยเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างของหลักสูตร
โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น
3) ออกแบบสื่อเว็บไซต์
สื่อวิดีโอ และใบกิจกรรม
4)
จัดทำสื่อการเรียนรู้ เว็บไซต์ สื่อวิดีโอ และใบกิจกรรมตามที่ได้ออกแบบไว้
5)
นำสื่อไปทดลองใช้และนำผลที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาสื่อการสอน ให้มีความน่าสนใจ
เข้าใจง่าย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
6) นำผลสะท้อนในการใช้สื่อการเรียนการสอนไปพัฒนาผลการเรียน
บันทึกข้อมูลคะแนน สารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้
นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนวัดนาขุนแสน (แกละประชานุกูล) ร้อยละ 60 ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์
มีทักษะการคูณและการหารตัวเลขให้ดีขึ้น และต่อยอดในการเรียนเนื้อหาในปัจจุบันได้
3.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนวัดนาขุนแสน (แกละประชานุกูล)
มีความสามารถในการคิดคำนวณในรายวิชาคณิตศาสตร์ และสามารถใช้เทคโนโลยี
เพื่อเข้าเรียนในเว็บไซต์ได้ทุกช่วงเวลาที่ต้องการ ตามความสะดวก
และความพร้อมของตนเอง สามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง และมีผลการเรียนที่ดีขึ้น ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
4. สรุปผลการดำเนินงาน
จากผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดนาขุนแสน (แกละประชานุกูล) จำนวน 7 คนขึ้นไป มีทักษะการคูณและการหารตัวเลขได้ดีขึ้น ต่อยอดในการเรียนเนื้อหาในปัจจุบันได้ และสามารถใช้เทคโนโลยี เพื่อเข้าเรียนในเว็บไซต์ได้ทุกช่วงเวลาที่ต้องการ ตามความสะดวก และความพร้อมของตนเอง สามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง และมีผลการเรียนที่ดีขึ้น กว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 70 โดยผลการพัฒนาที่ได้จริงคิดเป็นร้อยละ 89.11
✅บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้✅
สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ
✅บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้✅
ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ
https://drive.google.com/file/d/1NgCI4K7TOQdwwHdJBr5f8I9wewBLy4G4/view?usp=sharing