ตัวอย่างเอกสารตามตัวชี้วัดที่ 1.1 สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร วPA

 




💢💢บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💢💢




 

จากคุณครูสง่า   ทองสวัสดิ์ 


โรงเรียนบ้านดอนใหญ่


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6

  

เป็นไฟล์ PDF  สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ

เอกสารประกอบหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 

         เอกสารประกอบหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๕ ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โรงเรียนบ้านดอนใหญ่ นี้มี รายละเอียดและเนื้อหาสาระสำคัญเพียงพอที่สามารถจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่หลักสูตรที่กำหนดไว้

         โรงเรียนบ้านดอนใหญ่ ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำในการใช้หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและการมีส่วนร่วมใน การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงได้จัดทำเอกสารประกอบหลักสูตรกลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อใช้ประกอบหลักสูตรโรงเรียนบ้านดอนใหญ่ ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ในการ ดำเนินการจัดการศึกษาให้มีเอกภาพและมาตรฐานตามหลักสูตร สอดคล้องกับหลักการที่ประกาศไว้ใน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนา หลักสูตรการเรียนการสอน การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน การวัดตัดสินผลการเรียนตามเกณฑ์ที่ กำหนด และแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร

     กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ให้เป็น หลักสูตรแกนกลางของประเทศ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎคม ๒๕๕๑ เริ่มใช้ในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรและ โรงเรียนที่มีความพร้อม ในปีการศึกษา ๒๕๕๒ และเริ่มใช้ในโรงเรียนทั่วไปในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ มีคำสั่งที่ สพฐ.๑๒๓๙/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการ เรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ และสพฐ. ๓๐/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เรื่อง ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้มีประกาศ เรื่อง การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คำสั่ง สพฐ. ที่ ๙๒๑/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานการเรียนและตัวชี้วัดสาระที่ ๒ การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ ๓ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และเปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ และคำสั่ง สพฐ. ที่ ๙๒๒/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เรื่อง เปลี่ยนโครงสร้างเวลาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ นอกจากนี้การศึกษาข้อมูลทิศทางและกรอบยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศและสถานการณ์ โลก ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยจัดทำบนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี(พ.ศ. ๒๕๖๑๒๕๘๐) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ รวมทั้งการปรับ โครงสร้างประเทศไปสู่ประเทศไทย ๔.๐ ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาในระยะ ๒๐ ปี ต่อจากนี้ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (๒) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้าง ความสามารถในการแข่งขัน (๓) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน (๔) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้าง โอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม (๕) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม และ (๖) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อมุ่งสู่ วิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ “ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

         ประเด็นที่สำคัญเพื่อแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างแท้จริงตามยุทธศาสตร์การ พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน คือ การเตรียมพร้อมด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากร ในทุกช่วงวัย มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศ โดยพัฒนาคนให้เหมาะสมตามช่วงวัย เพื่อให้ เติบโตอย่างมีคุณภาพ การพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการในตลาดแรงงานและทักษะที่จำเป็นต่อการ ดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ของคนในแต่ละช่วงวัยตามความเหมาะสม การเตรียมความพร้อมของกำลังคนด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคต ตลอดจนการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

         ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเตรียมความพร้อมคนให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดเป็นนโยบายสำคัญและเร่งด่วน ให้มีการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รวมทั้งเทคโนโลยีในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยมอบหมายให้สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ดำเนินการปรับปรุง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และสาระเกี่ยวกับเทคโนโลยีในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีและมอบหมาย ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการปรับปรุงสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ทั้งนี้การดำเนินงานประกาศใช้หลักสูตรยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

         การปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ยังคงหลักการและโครงสร้างเดิมของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คือ ประกอบด้วย ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ได้แก่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและ เทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศ แต่มุ่งเน้นการปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ คำนึงถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียน มีทักษะที่จำเป็นสาหรับการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ ๒๑ เป็นสำคัญ เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พร้อมที่จะประกอบอาชีพ เมื่อจบ การศึกษา หรือสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น สามารถแข่งขันและอยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้

         กรอบในการปรับปรุง คือ ให้มีองค์ความรู้ที่เป็นสากลเทียบเท่านานาชาติปรับมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชี้วัดให้มีความชัดเจน ลดความซ้ำซ้อน สอดคล้องและเชื่อมโยงกันภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้และระหว่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ตลอดจนเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน จัด เรียงลำดับความยากง่ายของเนื้อหาในแต่ละระดับชั้นตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย ให้มีความเชื่อมโยงความรู้และ กระบวนการเรียนรู้โดยให้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาความคิด

         สาระสำคัญของการปรับปรุงหลักสูตร มีดังนี้

         ๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

        ๑.๑ จัดกลุ่มความรู้ใหม่และนำทักษะกระบวนการไปบูรณาการกับตัวชี้วัด เน้นให้ผู้เรียนเกิดการคิด วิเคราะห์คิดแก้ปัญหา และมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑

          ๑.๒ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสำหรับ ผู้เรียนทุกคน ที่เป็นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น

          ๒. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้เพิ่มสาระเทคโนโลยีซึ่งประกอบด้วยการออกแบบและ เทคโนโลยีและวิทยาการคำนวณ ทั้งนี้เพื่อเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการสาระทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับกระบวนการเชิงวิศวกรรม ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา

          ๓. สาระภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นสาระหนึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ยังคง มาตรฐานการเรียนรู้เดิม แต่ปรับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับพัฒนาการตาม ช่วงวัย มีองค์ความรู้ที่เป็นสากล เพิ่มความสามารถ ทักษะ และกระบวนการทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจนขึ้น

         ดังนั้น ทางโรงเรียนจึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในเอกสารนี้ ช่วยทำให้ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ทุกระดับชั้น เห็นผลคาดหวังที่ต้องการ ในการ พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจนตลอดแนวอีกทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจนเรื่องการวัดและประเมินผลการ เรียนรู้ หลักสูตรโรงเรียนบ้านดอนใหญ่ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ นี้ จัดทำขึ้น สำหรับสถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการ จัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้ในเอกสารนี้จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยสอดคล้องกับกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นและจุดเน้นของ สถานศึกษา




 

จากคุณครูสง่า   ทองสวัสดิ์ 


โรงเรียนบ้านดอนใหญ่


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6

  

เป็นไฟล์ PDF  สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ










 




 

จากคุณครูสง่า   ทองสวัสดิ์ 


โรงเรียนบ้านดอนใหญ่


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6

  

เป็นไฟล์ PDF  

 

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ


 https://drive.google.com/file/d/1I-44vr29Tg9C9vDrsoB_cjilut7Zmrwf/view?usp=sharing


ใหม่กว่า เก่ากว่า