ตัวอย่างเอกสารตามตัวชี้วัดที่ 1.6 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ฯ วPA





✅💯บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้✅💯





เป็นไฟล์ Word  แก้ไขได้

 

สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ


รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง  การอ่าน

สภาพปัญหา

            การอ่านภาษาไทยเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของผู้เรียน  ผู้เรียนจะมีสัมฤทธิผลทางการเรียนได้ก็ต่อเมื่อได้พัฒนาทักษะทั้ง 4 ควบคู่ไปด้วยกัน  จากการสังเกตเหตุผลที่นักเรียนไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาไทย  เนื่องจากผู้เรียนละเลย  ไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการอ่านครูผู้สอนจึงควรหากลวิธีทำให้เด็กหันกลับมาสนใจทักษะการอ่านเพิ่มมากขึ้นดังนั้น  ผู้วิจัยจึงเห็นควรนำเรื่องการอ่านมาทำวิจัย

จุดประสงค์การวิจัย

            ให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญ เล็งเห็นถึงประโยชน์และมีเจตคติที่ดีต่อการอ่าน  สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและสอดแทรกนิสัยรักการอ่านในกิจกรรมที่จัดขึ้น

ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรต้น    คือ    ชุดฝึกทักษะการอ่าน

2. ตัวแปรตาม  คือ    จำนวนคำที่อ่านได้

ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย

            จากการทำวิจัย เรื่องการอ่านในครั้งนี้ สามารถฝึกให้นักเรียนจำนวนหนึ่งที่มีปัญหาด้านการอ่านสะกดคำภาษาไทยได้พัฒนาการอ่านและรู้จักตัวสระ  พยัญชนะได้ดียิ่งขึ้น  ซึ่งส่งผลให้นักเรียนกลุ่มที่ได้วิจัยมีพัฒนาการในการเรียนวิชาภาษาไทยและวิชาอื่นๆ ได้ดีขึ้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

            นักเรียนสามารถพัฒนาด้านการอ่านสะกดคำ รู้จักสระและตัวพยัญชนะได้ดีขึ้น และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

ขอบเขตของการวิจัย

            ใช้นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่  2/4 จำนวน 1 คน  นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 2/จำนวน 1 คน  ใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านสะกดคำ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. จัดเตรียมเอกสารแบบฝึกทักษะการอ่าน

2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยขอความร่วมมือจากห้องสมุดโรงเรียน

3. ทดสอบทักษะการอ่าน

4. ตรวจสอบความก้าวหน้าและพัฒนาการทักษะการอ่านจากแบบฝึกทักษะการอ่าน

5. รวบรวมและสรุปผลการวิจัยเพื่อนำเสนอ

ทางเลือกที่คาดว่าจะแก้ปัญหา

1. แบบฝึกทักษะการอ่าน

        2. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านของห้องสมุด

 

แบบทดสอบชุดที่  1  

        อ่านพยัญชนะ ครั้งที่ 1  นักเรียนอ่านได้ดังนี้  จาก  44  ตัว  อ่านได้  40  ตัว  ตัวที่อ่านไม่ได้ส่วนมากจะเป็น  , , ,   แบบทดสอบชุดที่  1  ทำการทดสอบถึง  8  ครั้ง  ครั้งที่  8  นักเรียนจึงอ่านได้ถูกต้องหมดทุกตัว  นักเรียนยังอ่านได้ไม่คล่องเท่าที่ควร

แบบทดสอบชุดที่  2  

         การอ่านสระจากการทดสอบทั้งหมด  12  ครั้ง  ครั้งแรก  จะอ่านได้  แต่  อะ, อา, อิ, อี, อุ, อู  เท่านี้  สระที่เหลือนักเรียนยังอ่านไม่ได้  จึงทำการอ่านรูปสระอยู่โดยใช้เวลาฝึกทั้งหมด  12  ครั้งด้วยกัน  แต่นักเรียนก็อ่านได้ยังไม่คล่องเท่าที่ควร  ครูจึงทำการฝึกอ่านสระและพยัญชนะให้ได้แม่นยำก่อนจึงจะฝึกให้อ่านเป็นคำ  แต่นักเรียนก็ยังไม่สามารถอ่านได้หมด

แบบทดสอบชุดที่  3  

         ลองฝึกให้อ่านเป็นคำทั้งหมดมี  56  คำ  ต่อการทำวิจัยใน  3  เดือน  นักเรียนสามารถอ่านได้เฉพาะคำที่ไม่มีตัวสะกดและง่ายๆ  ส่วนตัวที่มีตัวสะกดจะอ่านได้เฉพาะคำที่สะกดในมาตรา แม่ กง , แม่ กม , แม่ กบ , แม่ กด  และเป็นตัวสะกดที่ตรงมาตรามีทั้งหมด  20  คำ  และอ่านแบบสะกดคำก่อนทุกครั้งที่เหลือจะเริ่มฝึกอ่านอีกครั้งในเทอม 2

 สรุปผลการวิจัย

            จากการสังเกตพฤติกรรรมของนักเรียนปรากฏว่า นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการอ่านและมีความพยายามที่จะฝึกอ่านด้วยตนเองมากขึ้น  และในขณะที่เรียนนักเรียนสามารถอ่านได้บ้างตามศักยภาพของตนเอง





เป็นไฟล์ Word  แก้ไขได้

 

สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ


 














 

 



เป็นไฟล์ Word  แก้ไขได้

 

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ


https://docs.google.com/document/d/1MWSWfTSONjBqh3zaqP4v-VEdZ14nTXpq/edit?usp=sharing&ouid=106872878421040230671&rtpof=true&sd=true 


ใหม่กว่า เก่ากว่า