✅💯🎯บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้✅💯🎯
ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่างรายงานผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
จากคุณครูสุทธิพงษ์ บรรยงค์
โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
เป็นไฟล์ PDF สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ
รายงานผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
(Best
Practice)
ชื่อผลงาน การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
เพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 (The Development of Electronic Book (E-book) for Improving Reading
Comprehension through KWL-Plus for Mattayomsuksa 5 Students)
ผู้เสนอผลงาน นายสุทธิพงษ์ บรรยงค์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
ความเป็นมาและความสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในลักษณะใหม่ๆ
ที่แตกต่างไปจากวิธีการสอนแบบเดิม ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น
โดยครูผู้สอนจะต้องเรียนรู้ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน
ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจถึงจุดหมาย หาวิธีการ เทคนิคเข้ามา ช่วยในการสอน
โดยเฉพาะสื่อการสอนจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
มาก ยิ่งขึ้น สื่อการสอนที่ครูสร้างขึ้นจะต้องได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
ทันกับเหตุการณ์สิ่งแวดล้อมทางสังคม และ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 59) ซึ่งการศึกษาในยุคสังคม แห่งการเรียนรู้
(Knowledge Society) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วต่อการจัดการศึกษาให้ทันยุคสมัยมีการนำความรู้มาพัฒนาควบคู่นวัตกรรม
(Innovation) พัฒนาสู่เทคโนโลยีการศึกษาที่มีการนำ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
(Electronics) เข้ามาใช้อย่างมากมาย
ซึ่งช่วยในการส่งเสริมให้เกิดความรู้ การ พัฒนาคุณภาพการศึกษาและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา
การเรียนรู้ว่าต้องเปลี่ยนจากการเรียนรู้จากโรงเรียน เป็นหลักไปเป็นการเรียนรู้จากแหล่ง
อื่น ๆ ประกอบด้วยตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปรับปรุง สังคมไทยให้กลายเป็นสังคม
แห่งการเรียนรู้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เรียน
จากเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในวงการศึกษา
เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่จะนำสื่อเข้าไป บรรจุในรูปแบบ ดิจิตัล (Digital)
ทั้งนี้เพื่อลดข้อจำกัดจากการอ่านหนังสือปกติทั่วไป
บทบาทของผู้สอนที่มีการ เปลี่ยนแปลงไป เน้นหนักทางด้านการใฝ่หาความรู้ความเข้าใจและความสามารถวิธีสอนที่หลากหลายตาม สภาพ เศรษฐกิจและสังคมได้อย่างกว้างขวาง
(เสาวลักษณ์, 2545 : 32)
ปัจจุบันแนวทางการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา
มีแนวโน้มในการพัฒนาคุณภาพของ ผู้เรียน
โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งด้านเนื้อหาสาระ ความรู้ ความเข้าใจ
การเรียนการสอนภาษา ต่างประเทศ นักเรียนต้องพัฒนาทักษะการอ่าน
เพราะการอ่านไม่ใช่เป็นเพียงอ่านตัวอักษรออกเท่านั้น แต่ต้อง มีความเข้าใจ
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (Lasen- Freeman 2005 :
137-138) มาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2551 มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมุ่งฝึกให้ผู้เรียนมีความสามารถทั้ง
4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
การอ่านเป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อผู้เรียนในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน
เนื่องจากนักเรียนต้องใช้ทักษะการอ่านเพื่อทำข้อสอบและแสวงหาความรู้ในชีวิตประจำวันทั้ง
ในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำไปสู่ความรู้ทั้งปวง ทำให้ได้รับรู้ข่าวสาร เสริมสร้างความคิดประสบการณ์
เกิดความเพลิดเพลิน ผู้เรียนสามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองได้ ตลอดเวลา
การพัฒนาทักษะการอ่านต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นอย่างดี
จึงนับได้ว่าการอ่านเป็นทักษะที่ติดทนกับ ผู้เรียนได้นานที่สุดแต่อย่างไรก็ตาม
การเรียนการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษในประเทศไทยที่ผ่านมา พบว่า
นักเรียนขาดทักษะในการอ่านและมีความสามารถในการอ่านอยู่ในระดับต่ำ
ไม่สามารถเรียงลำดับ เหตุการณ์ คาดการณ์ล่วงหน้า
และจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ (สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. 2542
: 7- 8) ความสามารถของผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับการอ่านยังไม่น่าพอใจ
โดยผู้เรียนยังขาดความสามารถในอ่านเพื่อ ความเข้าใจ
อาจมีสาเหตุมาจากผู้เรียนขาดวิธีการหรือเทคนิคการอ่านที่เหมาะสม
ส่งผลให้ขาดความเข้าใจใน เรื่องที่อ่าน (ผจงกาญน์ ภู่วิภาดาวรรธน์. 2540 :
30) แม้ว่าทักษะการอ่านจะมีความสำคัญ แต่ก็ยังมีปัญหาจึง สมควรที่จะได้รับการพัฒนามากกว่าทักษะอื่น
นักวิชาการและนักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นทักษะการอ่านได้มีการ
ทดลองใช้เทคนิคและวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เช่น วิธีสอนทักษะการอ่านแบบ SQ3R วิธีสอนทักษะการอ่าน แบบ SQ4R วิธีสอนทักษะการอ่านแบบ
MIA วิธีสอนทักษะการอ่านแบบ STAD วิธีสอนทักษะการอ่านแบบ
DR-TA ซึ่งแต่ละเทคนิคจะมีขั้นตอนและวิธีการการสอนการอ่านที่แตกต่างกันออกไป
วิธีสอนทักษะการอ่าน แบบ KWL-Plus ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
วิธีสอนแบบ KWL-Plus เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการอ่านเพื่อความเข้าใจ
เน้นกิจกรรม ที่ให้นักเรียนใช้กระบวนการคิดในขณะที่อ่าน
ซึ่งสอดคล้องกับการฝึกทักษะกระบวนการคิด คือ ทฤษฎีอภิ ปัญญา (Meta
-Cognition) โดย K ย่อมาจาก What I
Know เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบหัวข้อเรื่องว่า ตนเองมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องมากน้อยเพียงใด
W ย่อมาจาก What I Want to Know เป็นขั้นตอนที่
นักเรียนจะต้องถามตนเองว่าต้องการรู้อะไรในเนื้อเรื่องที่จะอ่านบ้าง
โดยเป็นการตั้งเป้าหมายในการอ่าน L ย่อมาจาก What I
Have Learned เป็นขั้นตอนที่นักเรียนสำรวจว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่านและ
จดบันทึกสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ และ Plus หมายถึง
เป็นการสร้างผังมโนทัศน์ ทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจเรื่องที่ อ่านได้ด้วยการพูดสรุปความในตอนท้ายหลังจากการเขียนผังมโนทัศน์ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถบรรลุ
จุดมุ่งหมายของการอ่านได้ (สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. 2544 : 75-76)
จากความเป็นมาและปัญหาดังกล่าว ผู้สอนได้ศึกษาทบทวนเอกสารวรรณกรรม
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บริบทของโรงเรียน ปัญหาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
การขาดความพึงพอใจในการเรียน ภาษาอังกฤษของนักเรียน
และข้อดีของการใช้วิธีการสอนการอ่านแบบ KWL-Plus ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนจึงมี
ความประสงค์ที่จะใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เพื่อพัฒนาการอ่านภาษา
อังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ วิธีการสอนแบบ KWL-Plus เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
และหลังจาก ได้รับการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
ด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นตลอดจนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(E-book) ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในครั้งนี้
ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่างรายงานผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
จากคุณครูสุทธิพงษ์ บรรยงค์
โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
เป็นไฟล์ PDF สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ
ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างรายงานผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
จากคุณครูสุทธิพงษ์ บรรยงค์
โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
เป็นไฟล์ PDF ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ
https://drive.google.com/file/d/1YRd77rO6nmeqxczpJ9Y7uXOsz_ySyiFA/view?usp=sharing