ตัวอย่าง Best Practice ประเภท ครูผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center

 




✅💯บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้✅💯

 

ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่าง Best Practice 



 จากคุณครูจิตติพรรณ์ จันทร์ขาว


โรงเรียนบ้านไร่พวยมิตรภาพที่ 18


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เลย เขต 2


เป็นไฟล์ PDF  สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ

รายงานผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

ประเภท ครูผู้ใช้สื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center

          นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center เป็น นวัตกรรมที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center ซึ่งสามารถแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีเป็นที่ น่าพอใจซึ่งการจัดทำรายงานนวัตกรรมเล่มนี้ รายงานตามรูปแบบของกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

          ขอขอบคุณ ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านไร่พวยมิตรภาพที่ 18 และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนนวัตกรรมจนประสบความสำเร็จหวังเป็นอย่างยิ่งว่านวัตกรรมการ จัดการเรียนการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center จะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนและ หน่วยงานหรือผู้ที่สนใจในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลต่อไป

แบบรายงานผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

ชื่อผลงาน                นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยีระบบ

                           OBEC Content Center

ผู้นำเสนอผลงาน         นางสาวจิตติพรรณ์ จันทร์ขาว

ตำแหน่ง                  ครูผู้ช่วย

สถานศึกษา               โรงเรียนบ้านไร่พวยมิตรภาพที่ 18

                            สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เลย เขต 2

         ความเป็นมาและความสำคัญ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดเป็นวงกว้าง ส่งผลให้ นักเรียนต้องหยุดการเรียนการสอนในโรงเรียน และมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเป็นการสอนทางไกล เรียนที่บ้าน มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย กับระบบการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากร ทางการศึกษา จึงได้จัดทำสื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center เพื่อให้นักเรียน ครู และโรงเรียน ได้นำสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดและยังสามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์ปกติเป็นอย่างดี

          การจัดการเรียนการสอนในยุค New normal นับว่าได้เปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ไปอย่างสิ้นเชิง ภายหลังที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ลดน้อยลง การจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์ปกติ จึงนับว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับช่วงสถานการณ์และต้องเตรียมพร้อมรับมือในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้จึง ทำให้มีการพัฒนานวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center นี้ขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนรู้ ในรูปแบบที่หลากหลาย และส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียน และเตรียมผู้เรียนให้พร้อมต่อการเป็นพลเมืองโลกต่อไป

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center

          2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในรายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center

          3. เพื่อส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center ในการจัดการศึกษาในรูปแบบ Active Learning

เป้าหมาย

           ๑. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไร่พวยมิตรภาพที่ 18 จำนวน 17 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาการคำนวณที่สูงขึ้น

          2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพร้อมในการเรียนรู้ มีพัฒนาการทางการเรียนรู้ที่ดีขึ้น และมีความตั้งใจในการเรียนเป็นอย่างดี

ขั้นตอนการดำเนินงาน

         กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้(รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es)

         ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ

                1. ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน

                2. ครูทบทวนความรู้เดิม เรื่อง การแก้ปัญหา โดยครูยกตัวอย่างการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใน ชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียนนอนดึกอยู่เสมอ ทำให้ตื่นสายและไปโรงเรียนไม่ทันเข้าแถวหน้าเสาธง ซึ่งกระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถอธิบายออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เรียกว่า อัลกอริทึม

              3. ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบว่า “สำหรับวันนี้ครูจะพานักเรียนทำความรู้จัก การแสดงขั้นตอนแก้ปัญหาด้วย flowchart”

          ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา

                 4. ครูนำภาพสัญลักษณ์ของผังงาน (Flowchart) (จากสื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center) ให้นักเรียนสังเกต พร้อมตั้งคำถามว่านักเรียนเคยเห็นสัญลักษณ์เหล่านี้หรือไม่

                5. คุณครูอธิบายสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน จากนั้นครูยกตัวอย่างการเขียนผังงานจาก สถานการณ์ในชีวิตประจำวันโดยให้นักเรียนช่วยกันเขียนเป็น รหัสลำลองก่อน เช่น การต้มมาม่า (ควรใช้ ขั้นตอนที่กระชับเพื่อให้ นักเรียนเข้าใจได้ง่าย) ดังตัวอย่าง

                     1. เริ่มต้น

                     2. ต้มน้ำร้อน

                     3. ฉีกซองมาม่า

                     4. ใส่เครื่องปรุง

                     5. ใส่น้ำร้อน

                     6. ปิดชามรอ 3 นาที

                     7. รับประทาน

                     8. จบ

         ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป

                6. ครูทบทวนเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนผังงาน

                7. ครูเปิดวีดิโอ เรื่อง “การอ่านผังงาน (Flowchart)” ให้นักเรียนทำความเข้าใจมากขึ้น

                8. ครูแจกใบงาน เรื่อง “อัลกอริทึมกิจวัตรประจำวัน” ให้นักเรียนเขียนผังงานโดยเทียบเคียงจาก ขั้นตอนรหัสลำลอง และครูช่วยแนะนำโดยตั้งคำถาม เช่น - การเริ่มต้น ควรใช้สัญลักษณ์ใด - การแสดงให้เห็นถึงลำดับของการทำงานควรใช้สัญลักษณ์ใด - เมื่อจบขั้นตอนการทำงานใช้สัญลักษณ์ใด

         ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้

                9. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน คละกันตามความสามารถ พร้อมให้ตัวแทนกลุ่ม ออกมาจับสลากหัวข้อสถานการณ์เพื่อนำไปเขียนผังงาน

            10. ครูแจกแบบบันทึกการร่วมกิจกรรมกลุ่ม เรื่อง “ผังงาน (Flowchart)” จากนั้นให้นักเรียนแต่ ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ลำดับการแสดงขั้นตอนการเขียนผังงาน โดยครูคอยให้คำแนะนำเพิ่มเติม ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล

               11. ครูตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน โดยเล่นเกม “Flowchart Game” ในสื่อแอปพลิเคชัน (จากสื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center) เพื่อทบทวนความรู้ที่ได้รับ

                    12. ครูให้ตัวแทนนักเรียนนำเสนอผลการวิเคราะห์ผังงานหน้าชั้นเรียน

                   13. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับอัลกอริทึมว่าเป็นสัญลักษณ์ที่เป็น มาตรฐานเดียวกัน ใช้เพื่อแสดงขั้นตอนในการแก้ปัญหาสามารถทำได้โดยเขียนรหัสลำลอง หรือเขียนผังงาน (flowchart) ใช้ออกแบบหรือวางแผนขั้นตอนการทำงาน ช่วยให้เข้าใจขั้นตอนและเห็นภาพการทำงานที่ชัดเจนขึ้น และสามารถตรวจสอบ ย้อนกลับเมื่อพบข้อผิดพลาดในการทำงานได้ ผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน จาก การใช้สื่อเทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center ผู้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไร่พวยมิตรภาพที่ 18 เกิดความรู้ความเข้าใจในประเด็นเนื้อหาของการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ อีกทั้งยังมีความสนใจในการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning จากการใช้สื่อ เทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center ในการจัดกิจกรรม เกิดคุณลักษณะที่เหมาะสมในการเรียนรู้ มีทักษะในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน สามารถนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลดีต่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน และก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อวงการการศึกษาต่อไป


ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่าง Best Practice 



 จากคุณครูจิตติพรรณ์ จันทร์ขาว


โรงเรียนบ้านไร่พวยมิตรภาพที่ 18


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เลย เขต 2


เป็นไฟล์ PDF  สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพได้ดังนี้ ครับ

















ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่าง Best Practice 



 จากคุณครูจิตติพรรณ์ จันทร์ขาว


โรงเรียนบ้านไร่พวยมิตรภาพที่ 18


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เลย เขต 2


เป็นไฟล์ PDF  

 

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ


https://drive.google.com/file/d/1PsnoQC6PzO7gkWOjZFSMFVbhG8J8lU3U/view?usp=sharing 


ใหม่กว่า เก่ากว่า