ตัวอย่างเอกสารข้อตกลงในการพัฒนางานPA1

 




💓💓บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💓💓


 

จากคุณครูรีรัตน์   บุญหล้า   


โรงเรียนโคกศรีวิทยายน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธ์ุ เขต2

  

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ


คำชี้แจงการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) 

ข้อตกลงในการพัฒนางาน” (Performance Agreement : PA) หมายความว่า ข้อตกลงที่ข้าราชการครู ได้เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อแสดงเจตจำนงว่าภายในรอบการประเมินจะพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะ ที่สำคัญตามหลักสูตร ให้สูงขึ้น โดยสะท้อนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐานะ ที่ดำรงอยู่ และสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาได้เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน 

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครูทุกคน ต้องจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณ เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยข้อตกลงในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังต่อไปนี้ 

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง 

1) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

2) ผลการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยต้องแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ การแก้ปัญหา ริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน หรือการสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ข้อตกลงในการพัฒนางานต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมาย และบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ 

การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ควรกำหนดการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรม ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินการตามข้อตกลงในการพัฒนางาน กรณีที่ข้าราชการครูย้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้รับมอบหมายให้ทำการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำข้อตกลงไว้เดิม ให้ดำเนินการดังนี้ 

1. กรณีที่ข้าราชการครูย้ายสถานศึกษาระหว่างปีงบประมาณให้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน กับผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใหม่ในสถานศึกษาที่ย้ายไปดำรงตำแหน่ง 

2. กรณีที่ข้าราชการครูได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานในตำแหน่งครูกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 

3. กรณีที่ข้าราชการครูได้รับมอบหมายให้ทำการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำข้อตกลงไว้เดิม ให้ข้าราชการครูจัดทำรายละเอียดข้อตกลงในการพัฒนางานในวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามที่ได้รับมอบหมายใหม่

 ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้  

  (√) ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน 

  (  ) ห้องเรียนปฐมวัย 

  (  ) ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ 

  (  ) ห้องเรียนสายวิชาชีพ 

  (  ) ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ / ตามอัธยาศัย 

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตำแหน่ง ครู   

ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้ 

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง 

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

        1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน  12  ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์ ดังนี้                  

          กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา ภาษาไทยพื้นฐาน  จำนวน  10  ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์ 

          กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

          รายวิชาลูกเสือ-เนตรนารี                            จำนวน  1  ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์ 

             1.2  งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้    จำนวน 2 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์ 

                -  การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)จำนวน 1 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

               -  นิเทศ/สังเกตการณ์สอน                              จำนวน 1 ชั่วโมง - นาที/สัปดาห์

               1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

                     -  งานสำนักงาน กลุ่มบริหารการเงิน                จำนวน  2 ชั่วโมง/สัปดาห์

                     - กลุ่มงานบริหารบุคคล                               จำนวน 2 ชั่วโมง /สัปดาห์

                     - งานอาหารกลางวัน                                  จำนวน  2 ชั่วโมง/สัปดาห์

               1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น         จำนวน 1 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์

                     -  กิจกรรมลดเวลาเรียน-เพิ่มเวลารู้     จำนวน 1 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู (ให้ระบุรายละเอียดของงานที่จะปฏิบัติในแต่ละด้านว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยอาจระบุระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการด้วยก็ได้)

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ตามมาตรฐานตำแหน่ง

งาน (Tasks)
ที่จะดำเนินการพัฒนา
ตามข้อตกลงใน 1 รอบ
การประเมิน
(โปรดระบุ)

ผลลัพธ์(Outcomes)
ของงานตามข้อตกลง
ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น
กับผู้เรียน
(โปรดระบุ)

ตัวชี้วัด (Indicators)
ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
ที่แสดงให้เห็นถึงการ
เปลี่ยนแปลงไปในทาง
ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น(โปรดระบุ)

1. ด้านการจัดการเรียนรู้
ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
การจัดการเรียนรู้การศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนและการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดี
ของผู้เรียน

1. วิเคราะห์หลักสูตรและจัดทำหน่วยการเรียนรู้จากมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดนำไปจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
2. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายตรงกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. จัดทำสื่อการสอน/นวัตกรรมที่มาจากปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ตรงกับความต้องการ
ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลที่สอดคล้องกับการวัดผล
ประเมินผลและวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
4. จัดบรรยากาศห้องเรียนให้มีความน่าสนใจและมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
5. ฝึกฝนระเบียบวินัย/อบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้เรียน

1. ผู้เรียนเกิดการพัฒนา
ทักษะด้านการแต่งประโยค
2. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วย
ตนเองได้ลงมือปฏิบัติจริง
ผ่านการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย
กระบวนการ Active learning

3.ผู้เรียนเกิดทักษะด้านการ
แต่งประโยค ตามแนวทางของแบบฝึกทักษะตลอดจนได้รับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการแต่งประโยคของนักเรียน
4. ผู้เรียนเกิดความ พึงพอใจ
ต่อการเรียนวิชาภาษาไทย
และบรรยากาศภายในห้องเรียน ของตนเองมาก ยิ่งขึ้น
5.ผู้เรียนมีระเบียบวินัย/
อบรมคุณธรรมจริยธรรมทั้ง
ในระดับห้องเรียนและระดับ
โรงเรียนดีขึ้น

1. ผู้เรียนร้อยละ80
มีทักษะการแต่งประโยค
2.ผู้เรียนร้อยละ80 เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. ผู้เรียนร้อยละ80
เกิดทักษะด้านการแต่ง
ประโยคด้วยแบบฝึกทักษะ
4. ผู้เรียนร้อยละ80
มีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทยและบรรยากาศภายให้องเรียนของตนเอง
5. นักเรียนร้อยละ70 มีผลการประเมิน
คุณลักษณะอันพึง
ประสงค์รายวิชา
ภาษาไทยอยู่ในระดับดี

 

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ตามมาตรฐานตำแหน่ง

งาน (Tasks)
ที่จะดำเนินการพัฒนา
ตามข้อตกลงใน 1 รอบ
การประเมิน
(โปรดระบุ)

ผลลัพธ์(Outcomes)
ของงานตามข้อตกลง
ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น
กับผู้เรียน
(โปรดระบุ)

ตัวชี้วัด (Indicators)
ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
ที่แสดงให้เห็นถึงการ
เปลี่ยนแปลงไปในทาง
ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น(โปรดระบุ)

 2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน
การจัดการเรียนรู้
ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียน
และรายวิชา การดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนการปฏิบัติงานวิชาการและงานอื่นๆ ของสถานศึกษา
และการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายและหรือสถานประกอบการ

1.จัดทำรายงานข้อมูลระบบ
สารสนเทศของผู้เรียนและ
ข้อมูลผลการเรียนรายวิชา
ภาษาไทยและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการสอน
2. รายงานผลการเยี่ยมบ้านคัดกรองนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือ และติดตามอย่างต่อเนื่อง
3.ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยรอง
ผู้อำนวยการกลุ่มบริหาร
วิชาการและงานอื่นๆ ที่
ได้รับมอบหมายติดต่อประสานงานกับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ

1.ผู้เรียนมีแหล่งข้อมูล
สารสนเทศที่ถูกต้องสามารถ
นำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2. ผู้เรียนได้รับความ
ช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดปัญหา
3. นักเรียนได้รับข้อมูล
ข่าวสารด้านวิชาการและได้รับ
การแนะนำตลอดจนความ
ช่วยเหลือ โดยครูที่ปรึกษา/ครู
ประจำชั้นใช้ข้อมูลสารสนเทศ
ในการนำส่งรายงานต่างๆ
เพื่อประโยชน์ของผู้เรียนได้
ตามกำหนด

1. ผู้เรียนร้อยละ100
ได้รับประโยชน์จากการ
นำสารสนเทศไปใช้เป็น
ข้อมูลในการรายงานต่างๆ สามารถตรวจสอบผลการเรียนและนำแจ้งผู้ปกครอง
2. นักเรียนร้อยละ100
ได้รับความช่วยเหลือ
คำแนะนำหรือคำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ
3. นักเรียนร้อยละ100
ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านวิชาการด้วยการ
ประชาสัมพันธ์ผ่าน
เว็บไซต์ไลน์ห้องเรียน
หรือช่องทางสื่อสารอื่นๆ ตามความเหมาะสม

กษณะงานที่ปฏิบัติ
ตามมาตรฐานตำแหน่ง

งาน (Tasks)ที่จะดำเนินการพัฒนาตามข้อตกลงใน 1 รอบการประเมิน(โปรดระบุ)

ผลลัพธ์(Outcomes)
ของงานตามข้อตกลงที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน(โปรดระบุ)

ตัวชี้วัด (Indicators)
ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
ที่แสดงให้เห็นถึงการ
เปลี่ยนแปลงไปในทาง
ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น(โปรดระบุ)

3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและ
ต่อเนื่องการมีส่วนร่วมในการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และการนความรู้ความ สามารถทักษะที่ได้จากการ
พัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียนและการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

1. เข้าร่วมการอบรม/สัมมนา
โครงการ ในรูปแบบต่างๆ
เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2.การทwกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน

1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากเทคนิค
วิธีการสอนแบบต่างๆ ที่ครูได้
น าความรู้ที่ได้รับจากการ
อบรมมาออกแบบเพื่อจัด
กิจกรรมการเรียนการสอน
ให้แก่ผู้เรียน
2. ปัญหาของผู้เรียนได้รับการ
แก้ไขอย่างทันท่วงที

1. ผู้เรียนร้อย80 มี
ความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย
2. ผู้เรียนร้อยละ80
มีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนวิชาภาษาไทย
เพิ่มขึ้น

 

หมายเหตุ
1. รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนา ตามแบบ PA 1 ให้เป็นไปตามบริบท และสภาพการจัดการเรียนรู้
ของแต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษา และข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง
2. งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางานต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ที่ส่งผล
โดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และให้นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน โดยเสนอในภาพรวม ของรายวิชาหลักที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา สามารถเลือกรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง และคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางาน ตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA 2
3. การพัฒนางานตามข้อตกลง ตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ ของผู้เรียน
(Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรม และการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริง สภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของ แต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางาน ตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
ครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาการแต่งประโยค
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
จากสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนรายวิชาภาษาไทย พบว่า ยังมี
นักเรียนที่ขาดทักษะใน
การแต่งประโยคที่ถูกต้อง
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
2.1 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active learning โดยใช้หลักการพัฒนาทักษะ
การแต่งประโยค มาออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน
2.2 จัดการเรียนการสอนตามทักษะ
การแต่งประโยค
2.3 ประเมินผลการแต่งประโยค
2.4 นำปัญหาที่พบมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกศรีวิทยายน ได้รับการพัฒนาทักษะด้วยแบบฝึกทักษะการ
แต่งประโยค
3.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกศรีวิทยายน ร้อยละ 80 มีการส่งงาน อยู่ในระดับ ดี

 

 

จากคุณครูรีรัตน์   บุญหล้า   


โรงเรียนโคกศรีวิทยายน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธ์ุ เขต2

  

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ

 












 

จากคุณครูรีรัตน์   บุญหล้า   


โรงเรียนโคกศรีวิทยายน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธ์ุ เขต2

  

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ


https://docs.google.com/document/d/1z0Q0y476oP4QOgzciXGKKdxbT9SSxugC/edit?usp=sharing&ouid=106872878421040230671&rtpof=true&sd=true  

 


ใหม่กว่า เก่ากว่า