แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไม้บรรทัดหัดประสมคำพาเพลิน

 






💕💕บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💕💕




จากคุณครูฉัฐนันท์  ช้อยชด



เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ



แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไม้บรรทัดหัดประสมคำพาเพลิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย                    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑                                                         

แผนการจัดการเรียนรู้ ๑ เรื่อง ไม้บรรทัดหัดอ่านสระอาและปฐมนิเทศ      เวลา ๑ ชั่วโมง

ใช้สอนวันที่  ๑๘  เดือน พฤษภาคม   พ.ศ. ๒๕๖๕  ครูผู้สอน นางสาวฉัฐนันท์   ช้อยชด


๑.    มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

   สาระที่    การอ่าน

                มาตรฐาน  ท ๑.๑  ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน   

              สาระที่ ๒ การเขียน

                มาตรฐาน  ท ๒/๑  ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง มีประสิทธิภาพ

             สาระที่ ๔    หลักการใช้ภาษาไทย

               มาตรฐาน ท ๔/๑  เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

               ตัวชี้วัด        

           ท ๑.๑ ป.๑/๑ อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง  และข้อความสั้นๆ

           ท ๑.๑ ป.๑/๒ บอกความหมายของคำและข้อความที่อ่าน

           ท ๑. ป.๑/๗ บอกความหมายของเครื่องหมาย  หรือสัญลักษณ์สำคัญที่มักพบเห็นในชีวิตประจำวัน

           ท ๑.  ป.๑/๘  มีมารยาท ในการอ่าน

           ท ๒.๑ ป.๑/๑  คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด

           ท ๒.๑ ป.๑/๒  เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ

           ท ๒.๑ ป.๑/๓  มีมารยาทในการเขียน

               ท ๔. ป.๑/๒  เขียนสะกดคำและบอกความหมาย ของคำ

               ท ๔. ป.๑/๓  เรียบเรียงคำเป็นประโยคง่าย ๆ

 

๒. สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

                นวัตกรรมไม้บรรทัดอักษรคำหัดประสมคำเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนในหลักภาษาไทยนี้จัดทำขึ้น เพื่อประกอบการอ่านและการเขียนรูปสระในภาษาไทย  และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานพร้อมกับมีความสุขเพลิดเพลินในการเรียนสระในภาษาไทย และให้สามารถเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น พร้อมกับสามารถบอกตำแหน่งของสระแต่ละตัวได้ว่า สระตัวใดเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะไทย  สระตัวใดเขียนไว้ข้างหลังพยัญชนะไทย สระตัวใดเขียนไว้ข้างบนพยัญชนะไทย  และสระตัวใดเขียนพยัญชนะไทยไว้ตรงกลาง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่ยากได้ดูง่ายขึ้นด้วยเทคนิคการจดจำรูปสระผ่านไม้บรรทัดอักษรคำหัดอ่านประสมคำในภาษาไทย ในสระอา และเรียนรู้ว่าสระอาเขียนอย่างไร ออกเสียงอย่างไร และวางไว้ตรงไหนของพยัญชนะไทย

๓. จุดประสงค์การเรียนรู้

      ๑. เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านและเขียนรูปสระอา  ได้ถูกต้อง

      ๒. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกตำแหน่งการวางสระอา ได้ถูกต้อง

      ๓. เพื่อให้นักเรียนสามารถเขียนคำที่ประสมสระอา ได้ถูกต้อง

      ๔. เพื่อให้นักเรียนสามารถแต่งประโยคง่ายๆจากคำที่ประสมสระอา ได้ถูกต้อง

 

๔ สาระการเรียนรู้ 

     ความรู้ (K)

                - การจดจำสระ –า ผ่านไม้บรรทัดอักษรคำหัดอ่าน

                 - รู้จักรูปสระ –า

                 - การอ่าน และการเขียนคำแจกลูกสระ –า

                 - การอ่านและการเขียนสระ -า        

           ทักษะ/กระบวนการ (P)

                - ฝึกปฏิบัติการใช้ไม้บรรทัดอักษรคำหัดอ่านสระ –า

                 - ฝึกอ่าน และเขียนสระ –า

                 - ฝึกการสังเกต และเปรียบเทียบตำแหน่งพยัญชนะสระ –า ว่าเขียนไว้ตำแหน่งใดของพยัญชนะ

           เจตคติ/คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)

                 - ปลูกฝังการเรียนภาษาไทยให้เป็นเรื่องสนุกสนานในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติของตนเอง

                 - สนใจเรียนภาษาไทย

๕. สมรรถนะสำคัญ

                  -  มีความสามารถในการสื่อสาร

                  -  มีความสามารถในการคิด

                  -  มีความสามารถในการแก้ปัญหา

๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                  -  มีวินัย

                  - ใฝ่เรียนรู้

                  - มุ่งมั่นในการทำงาน

๗. กิจกรรมการเรียนรู้

            ชั่วโมงที่ ๑

   ขั้นที่ ๑   สร้างความสนใจ/นำเข้าสู่บทเรียน (Warm-up)

๑.    ครูนำนักเรียนร้องเพลง สระ -า  ว่า ลามะลิลา ขึ้นต้นอะไรก็ได้ ขอให้ลงท้าย ด้วยสระ 

สระ –า วันนี้ฉันไปเที่ยวป่า ในป่า มี ม้า มีลา  จากนั้นครูเตรียมภาพ สัตว์ สิ่งของ ที่มี สระ -าเป็นส่วนประกอบ เช่น ม้า ลา ขา เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คำ

   ขั้นที่ ๒  ขั้นนำเสนอความรู้ใหม่ ( New Present)

๑.    ครูเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียนพร้อมโชว์บัตรคำสระ –า พร้อมกับนำนักเรียนใช้ไม้บรรทัดหัดอ่านสระ คือ สระ -า แล้วให้นักเรียนปฏิบัติตาม

วิธีใช้ไม้บรรทัดอักษรคำหัดอ่านสระอา -า 

      คือ  นำไม้บรรทัดอักษรคำหัดอ่านในส่วนตัวสระอา และในส่วนตัวพยัญชนะไทยในอักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ มาประสมกับตัวรูดสระอา แล้วหัดอ่านคำ ดังภาพ




๑.    ครูนำนักเรียนร้องเพลง สระอะสระอา แล้วร่วมกันแสดงท่าทางประกอบเพลงสระ สระอะ และอา พร้อมอธิบายวิธีการประสมคำ โดยนำพยัญชนะไทยมาประสมกับ สระ –า  เช่น ครูอ่าน  ก – อา  อ่านว่า กา   ข – อา  อ่านว่า ขา โดยออกเสียงพยัญชนะไทย กับ สระ อา ให้นักเรียนฟัง หลังจากนั้นครูและนักเรียนอ่านพร้อมกัน 

๒.    ครูอ่านเทียบพยัญชนะไทย ๔๔ ตัว กับสระ อา พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามอีกครั้ง

           ชั่วโมงที่ ๒

ขั้นที่ ๓ ขั้นวิเคราะห์ และสรุปเนื้อหาสร้างความคิดใหม่ ( New Analyze : Present )

๑.    ครูโชว์ไม้บรรทัดอักษรสามหมู่หัดอ่านคำ สระอา พร้อมกับนำนักเรียนรูดไม้บรรทัดหัดอ่านสระอา

วิธีใช้ไม้บรรทัดอักษรคำหัดอ่านสระอา -า 



 

๑.    ครูเขียนแผนภาพ การประสมพยัญชนะและสระอา พร้อมอ่านออกเสียงดังๆให้นักเรียนฟัง จากนั้นนักเรียนฝึกอ่านไปพร้อมกัน

   ขั้นที่ ๔ ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ( Learn-Practice)

๑.    ครูนำนักเรียนใช้ไม้บรรทัดอักษรคำหัดอ่านสระ -า แล้วให้นักเรียนฝึกปฏิบัติตามบรรทัดหัดอ่านสระอา ประกอบบัตรคำ สระ -า

๒.    ครูให้นักเรียนเขียนแผนภาพการประสมคำ พยัญชนะไทย กับ สระ -าแล้วให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อน ฝึกอ่านประสมคำ พยัญชนะไทย กับ สระ -า

   ขั้นที่ ๕ ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้/ขยายความรู้ (Apply)

๑.    Brain Gym กิจกรรมการร้องเพลง สระอะสระอา

๒.    ครูให้นักเรียนร้องเพลง สระอะสระอาทบทวนการใช้ไม้บรรทัดอักษรสามหมู่หัดอ่านสระ สระอา

   ขั้นที่ ๖ ขั้นการประเมินผล (Summary)

๑.    ครูสรุปความรู้ด้วยการร้องเพลง สระอะสระอาแล้วให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการการรูดไม้บรรทัดหัดอ่านสระอา  แล้วสนทนากับนักเรียนว่า สระ -าเขียนไว้ข้างหลังของพยัญชนะ

๒.    ครูสุ่มนักเรียน เพื่อทดสอบความเข้าใจ โดยให้นักเรียนอ่านคำประสมด้วย สระ -าจากแผนภาพ สระ -า 

๓.    ครูสุ่มนักเรียนมาร้อยละ ๖๐ ของห้องเรียนเพื่อทดสอบปากเปล่า ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการรูดไม้บรรทัดหัดอ่านคำที่ประสมด้วยสระ -า จากแบบประเมินย่อยที่เตรียมไว้ จากนั้นประเมินว่า นักเรียนอ่านได้ ๘๐%ของในแบบทดสอบถือว่าผ่านเกณฑ์

            ๘. สื่อ/แหล่งเรียนรู้

๑.    ไม้บรรทัดหัดอ่านสระ -า

๒.    เพลง สระอะสระอา

๓.    บัตรคำพยัญชนะ และบัตรสระ

๔.    แผนภูมิภาพการประสมสระ -า

๕.    ใบความรู้สระ -า

๖.    แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมชุดที่ ๑ เรื่องสระ –า

๗.    แบบทดสอบย่อยชนิดเขียนตามคำบอก จำนวน ๑๐ คำ

๘.    สีไม้,สีเทียน

 

๙. การวัดและการประเมินผล

จุดประสงค์

เครื่องมือ

วิธีการ

เกณฑ์

๑). ผู้เรียนสามารถออกเสียง  

     สระ -า ได้

 

๑. แบบทดสอบการอ่าน

    ออกเสียง

    สระ -า

-  ทำข้อสอบการอ่าน 

   ออกเสียง

   สระ -า 

- มีผลคะแนนการอ่าน

  ออกเสียงไม่น้อยกว่า ๕

  คำ ของจำนวนคำ

  ทั้งหมด ( ๑๐ คำ )

๒). ผู้เรียนสามารถใช้ไม้

     บรรทัดหัดอ่าน

     สระ -า ได้

๒. แบบสังเกตการใช้ไม้

    บรรทัดหัด

    อ่านสระ –า

 

-  สังเกตพฤติกรรม

   การใช้ไม้บรรทัด

   อักษรคำหัดอ่าน

   สระ–า

 - สังเกตการใช้ไม้

   บรรทัดหัดอ่าน

   ได้ อย่างถูกต้อง

๓). ผู้เรียนสามารถเขียน

     สระ -า ได้

 

๓. แบบทดสอบการ

    เขียน สระ –ะ

    สระ -า

-  ทำข้อสอบการเขียน

   สระ –ะ สระ -า

 

- มีผลคะแนนการเขียนไม่

  น้อยกว่า ๕ คำ ของ

  จำนวนคำทั้งหมด

   ( ๑๐ คำ )

๔). ผู้เรียนสามารถเขียนคำ

     ที่ประสมสระ -า ได้

 

๔. แบบทดสอบการ

    เขียนตามคำตามคำ

    บอกสระ -า

- ทำข้อสอบการเขียน 

  ตามคำบอก

- มีผลคะแนนการเขียนคำ

  ไม่น้อยกว่า ๕ คำ ของ

  จำนวนคำทั้งหมด

   ( ๑๐ คำ )

 




จากคุณครูฉัฐนันท์  ช้อยชด



เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

ดาวน์โหลดจากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ




fullWidth
ใหม่กว่า เก่ากว่า