💕💕บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💕💕
ขอแนะนำไฟล์ โครงงานคุณธรรม
จากคุณครูมัณฑนา บรรยงเป็นไฟล์ Word แก้ไขได้สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ
โครงงานคุณธรรม
1. ชื่อโครงงาน
สื่อประดิษฐ์จิตสาธารณะ
2. ความสำคัญของปัญหา
การที่มนุษย์ในสังคมจะแสดงออกซึ่งการมีจิตสาธารณะนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หากไม่ได้รับการเลี้ยงดูมาแบบส่งเสริมหรือเอื้อต่อการเกิดพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะ สังคมก็จะเป็นไปแบบเห็นแก่ตัว คือ ตัวใครตัวมัน ไม่สนใจสังคมรอบข้างคิดแต่ประโยชน์แห่งตนเท่านั้น ชุมชนอ่อนแอ ขาดการพัฒนา เพราะต่างคนต่างอยู่ สภาพชุมชนมีสภาพเช่นไรก็ยังคงเช่นนั้น ไม่เกิดการพัฒนา และยิ่งนานไปก็มีแต่เสื่อมทรุดลง อาชญากรรมในชุมชนอยู่ในระดับสูง ขาดศูนย์รวมจิตใจ ขาดผู้นำที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะคนในชุมชนมองปัญหาของตัวเองเป็นเรื่องใหญ่ ขาดคนอาสานำการพัฒนา เพราะกลัวเสียทรัพย์ กลัวเสียเวลา หรือกลัวเป็นที่ครหาจากบุคคลอื่น ดังนั้น การศึกษาแนวทางและความสำคัญของการมีจิตสาธารณะเพื่อให้เกิดในจิตสำนึกของเด็กและเยาวชนนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรกระทำ เพื่อสังคมที่น่าอยู่ต่อไป ทั้งนี้เพราะเด็กช่วงแรกเกิดจนถึงก่อน 10 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กมีความไวต่อการรับการปลูกฝัง และส่งเสริมจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กยังเป็น “ไม้อ่อนที่ดัดง่าย” ฉะนั้นการปฏิบัติต่อเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการด้านสังคมและด้านจิตใจของเด็กจะเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของสังคม จะส่งผลให้ การเมือง เศรษฐกิจ ศีลธรรมในสังคมนั้นดีขึ้น
ซึ่งการมีจิตสาธารณะนี้หากเราเริ่มปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก ก็จะทำให้เด็กสามารถเติบโตขึ้นมาเป็นคนดีของสังคมได้ดี โดยพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถฝึกให้เด็กเริ่มเรียนรู้จากการมีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อตนเอง เรียกว่าเริ่มกันตั้งแต่สิ่งเล็กน้อยใกล้ๆ ตัว ทำให้เด็กค่อยๆ รู้จักการเรียนรู้จากสิ่งที่เรียกว่ากฎของธรรมชาติการอยู่ร่วมกันที่ผ่านการสอนและฝึกฝนมาจากตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่สำคัญพ่อแม่ผู้ปกครองควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กด้วยก็จะทำให้เด็กเหล่านี้โตขึ้นมากลายเป็นผู้มีจิตสาธารณะของสังคมนั่นเอง
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกการมีจิตสาธารณะให้กับนักเรียน ให้นักเรียนมีจิตสาธารณะ
3.2 นักเรียนสามารถเป็นแบบอย่างสามารถชักชวนแนะนำให้ผู้อื่นให้มีจิตสาธารณะ
4. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสีแสด
เป้าหมายเชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสีแสดทุกคน(จำนวน16คน) มีจิตสาธารณะ
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสีแสดทุกคน เกิดพฤติกรรมเชิงบวก มีจิตสำนึกมีจิตสาธารณะ
5. แผนการดำเนินงาน
วางแผนการดำเนินกิจกรรม (Plan)
1. ประชุมระดมสมองวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ
2. ร่วมวางแผนการดำเนินการกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินการ (Do)
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมการมีจิตสาธารณะในทุกชั่วโมงที่จัดกิจกรรมสื่อประดิษฐ์จิตสาธารณะ
การตรวจสอบ (Check)
1. นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินกิจกรรม
2. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม โดยใช้แบบประเมินและแบบรายงานผลการประเมินกิจกรรม
การปรับปรุง (Act)
1. นำข้อมูลที่ได้จากการนิเทศ กำกับ ติดตาม ข้อมูลจากการประเมินผล รายงานผล มาปรับปรุง
พัฒนากิจกรรมในครั้งต่อไป
2. จัดทำรายงานและเผยแพร่
6. งบประมาณ
ค่าวัสดุ(กระดาษA4) 1,000 บาท
7. หลักธรรมที่นำไปใช้
จิตสาธารณะ (Public mind, Public consciousness) คือ ความรู้สึกของบุคคลที่มองเห็นถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม แล้วรู้สึกอยากเข้าไปมีส่วนในการช่วยเหลือสังคมในเรื่องต่างๆ ที่เป็นปัญหา หรือเกิดความเดือดร้อน โดยรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ในความรับผิดชอบ พร้อมลงมือปฏิบัติร่วมช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้แก่สังคมของเราร่วมกับผู้อื่น หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นน้ำใจของคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันในสังคมด้วยความเต็มใจโดยไม่หวังผลใดๆ ตอบแทนนั่นเอง
8. ความเชื่อมโยงสู่คุณธรรมอัตลักษณ์
(อัตลักษณ์ รร. 1. ความสุภาพ 2. ความมีระเบียบวินัย 3. ความพอเพียง)
การจัดทำโครงงานคุณธรรมเรื่องสื่อประดิษฐ์จิตสาธารณะ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจิตสาธารณะในวิชาชุมนุมทุกวันพุธ ชื่อชุมนุมสื่อประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ โดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมการมีจิตสาธารณะ อีกทั้งเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกการมีจิตสาธารณะให้กับนักเรียน รวมถึงชักชวน แนะนำแนะนำให้ผู้อื่นให้มีจิตสาธารณะ ทั้งนี้สอดคล้องกับคุณธรรมอัตลักษณ์ความพอเพียง ดังนี้
ครู
ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
1.ออกแบบการจัดกิจกรรม ตรงตามตัวชี้วัด
2. เลือกสื่อ แหล่งเรียนรู้เหมาะสม
3. วัดผลประเมินผลตรงตามเนื้อหา
1.ออกแบบการเรียนรู้ส่งเสริมกระบวนการคิด
2.ใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
1. ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้า
2. จัดเตรียมการวัดผลประเมินผล และแบบสังเกตพฤติกรมนักเรียน
เงื่อนไขความรู้
เงื่อนไขคุณธรรม
1. รู้จักเทคนิคการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิด และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข
2. มีความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ ในเรื่องการมีจิตสาธารณะ
3. มีความรู้ความเข้าใจ และเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีจิตสาธารณะ
1. มีความขยัน เสียสละ และมุ่งมั่นในการจัดหาสื่อมาพัฒนานักเรียนให้บรรลุตามจุดประสงค์
2. มีความอดทนเพื่อพัฒนานักเรียนโดยใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย
นักเรียน
ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
1. การใช้เวลาในการทำกิจกรรม/ภาระงานได้อย่างเหมาะสม ทันเวลา
2. เลือกสมาชิกกลุ่มได้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เรียนและศักยภาพของตน
1. ฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม
2. ฝึกกระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ และมีเหตุผล
1. วางแผนการศึกษาใบงาน/ใบกิจกรรม
2. นำความรู้เรื่องการมีจิตสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
3.ตระหนักถึงการมีจิตสาธารณะ รวมถึงชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของการมีจิตสาธารณะ
เงื่อนไขความรู้
เงื่อนไขคุณธรรม
1. มีความรู้เรื่องการมีจิตสาธารณะเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต และสามารถสร้างจัดทำชิ้นงาน ผลงานและใบงานได้ตามวัตถุประสงค์
1. มีจิตสำนึกรักความเป็นไทย และตระหนักถึงความเป็นไทย
2. มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม
3. มีสติ มีสมาธิช่วยเหลือกันในการทำงานร่วมกัน
ส่งผลต่อการพัฒนา 4 มิติให้ยั่งยืนยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์
วัตถุ
สังคม
สิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรม
ความรู้ (K)
นำความรู้เรื่องการมีจิตสาธารณะไปใช้ในการดำเนินชีวิต ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มีความรู้และเข้าใจกระบวนการทำงานกลุ่ม
มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมและสิ่งต่างๆรอบตัว
มีความรู้และเข้าใจการช่วยเหลือ แบ่งบัน
ทักษะ (P)
สามารถสร้างชิ้นงาน ผลงาน ใบงาน สื่อประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ได้
ทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย ด้วยกระบวนการกลุ่ม
ใช้แหล่งเรียนรู้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ช่วยเหลือ แบ่งบัน ซึ่งกัน และกัน
ค่านิยม (A)
เห็นประโยชน์ของการมีจิตสาธารณะ
เห็นคุณค่า และภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกันได้สำเร็จ และชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของการมีจิตสาธารณะ
เห็นคุณค่าของการใช้แหล่งเรียนรู้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ปลูกฝังนิสัยการช่วยเหลือแบ่งบัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและกระบวนการทำงานกลุ่ม มีจิตสำนึกการมีจิตสาธารณะ
9. วิธีการวัดและประเมินผล
ตัวชี้วัด นักเรียนกลุ่มสีแสดสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เกิดพฤติกรรมเชิงบวก ดังนี้
-นักเรียนมีจิตสำนึกในการมีจิตสาธารณะ
-นักเรียนสามารถเป็นแบบอย่างสามารถชักชวนแนะนำให้ผู้อื่นให้มีจิตสาธารณะ
1) วิธีการวัดผล ได้แก่ การสังเกตพฤติกรรมเชิงบวก และผลการจัดกิจกรรมชุมนุม
2) เครื่องมือการวัดผล ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมเชิงบวก และอนุทินการเรียนรู้
10. ผู้รับผิดชอบโครงการและที่ปรึกษาโครงงาน
นางสาวมัณฑนา บรรยง
ขอแนะนำไฟล์ โครงงานคุณธรรม
จากคุณครูมัณฑนา บรรยงเป็นไฟล์ Word แก้ไขได้สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ
fullWidth