💕💕บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💕💕
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในการขอมีวิทยฐานะชำนาญการ สาขา กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานภาษาไทย
1. ข้อมูลผู้ขอรับการประเมิน
ชื่อ นางประพากร นามสกุล บุตรโคษา
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านนาขมิ้น ตำแหน่งเลขที่ .......................
สถานศึกษา/หน่วยงาน ......................................... อำเภอ/เขต ..........................
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา..........................................
ส่วนราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รับเงินเดือนอันดับ คศ. 1 ขั้น ............................................. บาท
2. ผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) มีดังนี้
1. ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เสนอ ขอรับการประเมินของปีปัจจุบัน
- ชื่อวิชาที่สอน ภาษาไทย
- คะแนนทีเฉลี่ย (Average T score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน = 43.11
- คะแนนทีเฉลี่ย (Average T score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน = 56.90
- ร้อยละของคะแนนทีเฉลี่ย (Average T score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน-ก่อน
เรียน ที่เพิ่มขึ้น = 13.791
1.1.2 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอน
- คะแนนทีเฉลี่ย (Average T score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียน/ปลายปี
การศึกษา 2561 = 48.09
- คะแนนทีเฉลี่ย (Average T score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียน/ปลายปี
การศึกษา 2562 = 51.48
- ร้อยละของคะแนนที่เฉลี่ย (Average T score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียน
ปี่การศึกษาปัจจุบัน - ปีการศึกษาที่แล้ว ที่เพิ่มขึ้น = 7.06
1.1.3 ผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่สอน
ในระดับเขต/ประเทศ ( NT ด้านภาษาไทย )
- คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่
สอนในระดับเขต/ประเทศ ปีการศึกษา 2561
- คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับเขต/ประเทศ ปีการศึกษา 2562
ค่าเฉลี่ยด้านภาษาไทย ปีปัจจุบันเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.26
1.2 ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่น ๆ
รายงานผลในรอบ 2 ปีที่ทำการสอนในวิชาที่เสนอขอรับการประเมิน ดังนี้
1.2.1 ผู้เรียนในสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เสนอขอ
- ปีการศึกษา 2561 จำนวน 17 คน
- ปีการศึกษา 2562 จำนวน 22 คน
1.2.2 ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านสุขภาพ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และ สังคม ตามหลักสูตร
- ผู้เรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร มีความสนใจใฝ่เรียนซึ่งมีพฤติกรรมย่อยเป็นตัวบ่งชี้ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน ดังนี้
1) ผู้เรียนมีพฤติกรรมชอบสังคมในด้านการช่วยเหลือ การชื่นชมยินดีในความดีงามของตนเองและผู้อื่นดีขึ้น และเป็นพื้นฐานที่จะช่วยปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี
2) ผู้เรียนมีความสนใจแสวงหาความรู้ จากแหล่งต่าง ๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ ได้ทั้งในและนอกสถานศึกษา มีพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ดีขึ้น
- ผู้เรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป มีวินัย มีความรับผิดชอบและปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาพุทธ ตามวิถีพุทธในท้องถิ่นที่ตนนับถือ ซึ่งมีพฤติกรรมย่อยเป็นตัวบ่งชี้ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน ดังนี้
1) ผู้เรียนปฏิบัติตนตามระเบียบของสถานศึกษา
2) ผู้เรียนรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายและช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
- ผู้เรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป มีทักษะและนิสัยรักการทำงาน มีคุณธรรมจริยธรรม ตาม
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา ซึ่งมีพฤติกรรมย่อยเป็นตัวบ่งชี้ให้สามารถตรวจสอบได้อย่าง
ชัดเจน ดังนี้
1) ผู้เรียนมีลักษณะนิสัยที่ดี แสดงออกอย่างเหมาะสมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความ
สุข มีนิสัยรักการทำงาน รู้จักระมัดระวังความปลอดภัยของตนเอง และผู้อื่น
2) ผู้เรียนมีความเพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงานมีความเป็น
ผู้นำผู้ตามรู้จักการสับเปลี่ยนรอคอยวางแผน และมีความสามารถในการคิด และการแก้ปัญหาได้อย่าง
เหมาะสมกับวัย
- ผู้เรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม รักธรรมชาติ ไม่ทิ้งขยะ รดน้ำต้นไม้ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งมีพฤติกรรมย่อยเป็นตัวบ่งชี้ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจนดังนี้
1) ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมรักธรรมชาติ และความเป็นไทยตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ทั้งในและนอกโรงเรียน
2) ผู้เรียนเข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม โครงการอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและนอกโรงเรียนเช่นการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญการรณรงค์ต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น
- ผู้เรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป มีการแสดงออกด้วยความเต็มใจ ร่าเริงแจ่มใส มีความกระตือรือร้นมาเรียนสม่ำเสมอ ซึ่งมีพฤติกรรมบ่งชี้ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน ดังนี้
1) ผู้เรียนมีสุขนิสัยในการดูแล สุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2) ผู้เรียนมีสุขภาพกายดี โดยมีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
- ผู้เรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป มีความสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี เป็นที่ยอมรับของเพื่อนและครู ซึ่งมีพฤติกรรมย่อยเป็นตัวบ่งชี้ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน
ดังนี้
1) ผู้เรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
2) ผู้เรียนชื่นชมร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์
3) ผู้เรียนชื่นชมร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬาและนันทนาการ
1.2.3 ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดีเยี่ยม
- ปีการศึกษา 2561 จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 82.35
- ปีการศึกษา 2562 จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 86.36
1.2.4 ผลงานของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย,คณิตศาสตร์ ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา
มีดังต่อไปนี้
ปีการศึกษา 2561
1. เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษาครั้งที่ 68
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 กิจกรรมการแข่งขันพินิจวรรณคดีระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3
2. เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายจำนวน 3
กิจกรรม
1. ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ กิจกรรมการแข่งขันพินิจวรรณคดีระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3
2. ได้รับรองรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 กิจกรรมแข่งขันอัจฉริยะภาพทางคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1–3
3. ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมแข่งขันท่องอาขยานทำนองเสนาะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
ปีการศึกษา 2562
1. เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 69
- ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันเวทคณิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3
- ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง กิจกรรมการแข่งขันอัจฉริยภาพชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3
2. เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายจำนวน 5
กิจกรรม
- ได้รับรางวัลชนะเลิศ กิจกรรมการแข่งขันเวทคณิตระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3
- ได้รับรางวัลชนะเลิศ กิจกรรมแข่งขันอัจฉริยะภาพทางคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1–3
- ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 กิจกรรมแข่งขันท่องเขียนเรื่องจากภาพระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่1-3
- ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมแข่งขันคัดลายมือ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
- ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมแข่งขันท่องอาขยานทำนองเสนาะ ระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1-3
2. รายงานการสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ตามหัวข้อดังนี้
2.1 ปัญหาและขอบเขตของปัญหา
ปัญหา
นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มักจะส่งงาน/การบ้านไม่ตรง
เวลาที่ครูผู้สอนกำหนดหรือบางคนก็ไม่ส่งงาน/หรือการบ้านเลย ซึ่งทำให้ครูผู้สอนไม่สามารถวัดความรู้
หรือติดตามความก้าวหน้าของนักเรียนได้ ซึ่งในบางรายวิชาอาจมีผลต่อคะแนนเก็บของนักเรียนด้วย
ดังนั้นในฐานะที่เป็นทั้งครูที่ปรึกษาและครูประจำวิชาเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ทำการ
วิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาของ
นักเรียนในเรื่องการไม่ส่งงาน/การบ้านต่อไป
จากที่ข้าพเจ้าได้ทำการสอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปัญหาที่พบของนักเรียนส่วนมากเกิดจาก สาเหตุ
ดังนี้
- นักเรียนขาดทักษะการเขียนคำให้ถูกต้อง
- นักเรียนขาดความกระตือรือร้นและความรับผิดชอบ
- นักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน
- นักเรียนไม่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารกับเพื่อนส่วนมากใช้ภาษาถิ่นทำให้การออกเสียงไม่
ชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษาไทย
2.2 รูปแบบ เทคนิค วิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนา
จากการศึกษาและวิเคราะห์แบบสอบถามเพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในเรื่อง
การไม่ส่งงาน/การบ้าน แสดงให้เห็นว่า สาเหตุของการไม่ส่งงาน/การบ้าน ลำดับที่ 1 คือ ลืมทำ โดย
คิดจากนักเรียน 22 คน ที่เลือกเป็นสาเหตุอันดับที่ 1 จำนวน 7 คน คิดเป็น ร้อยละ 31.82
ข้าพเจ้าได้รวบรวมรูปแบบและวิธีการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจากบทความ ข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ
การพูดคุยกับครูผู้สอน สรุปวิธีการแก้ปัญหานักเรียนไม่ส่งงาน/การบ้าน ดังนี้
1. ให้การบ้านที่ง่าย และท้าทายความสามารถของนักเรียน
2. ติดต่อกับผู้ปกตรอง ให้ผู้ปกครองช่วยควบคุมดูแลการทำงาน/การบ้านของนักเรียน
3. ให้นักเรียนไปทำในห้องพักครู ให้ทำให้เสร็จในโรงเรียนหลังเลิกเรียนแล้ว ก่อนกลับบ้าน
4. การเสริมแรง ดังนี้
1) เด็กทำได้-อยากทำ = เสริมแรง สนับสนุนให้ทำ
2) เด็กทำไม่ได้-อยากทำ=ฝึกให้ทำให้ได้และให้การเสริมแรง
3) เด็กทำได้-ไม่อยากทำ=ลงโทษ เมื่อทำแล้วให้การเสริมแรง และ
4) เด็กทำไม่ได้-ไม่อยากทำ=ลงโทษ ฝึกให้การเสริมแรง
5. ให้ 1 คะแนนเมื่อส่งการบ้าน และให้ 1 ดาวถ้าทำถูกทุกข้อ หรืออยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อสิ้นสุดภาคเรียน
ปลายเทอมให้นำมาคิดเป็นคะแนนพิเศษจากคะแนนปกติ
6. กำหนดให้การบ้านเป็นกิจกรรมก่อนสอบที่มีคะแนนด้วย เช่น ร้อยละ 10-20 ของคะแนนสอบ เพื่อ
ให้เด็กตื่นตัว กำหนดให้ทำการบ้านเป็นกลุ่มสลับ กับงานเดี่ยว ด้วยวิธีการจับฉลาก ไม่ให้นักเรียนเลือก
กลุ่มกันเอง ทำให้ครูประหยัดเวลาตรวจ และ นักเรียนมีโอกาสทำการบ้าน เพราะเกรงใจเพื่อน แต่หากใคร
ที่ไม่เอาเรื่องจริงๆ สักวันต้องเริ่มละอายบ้าง แล้วจะต้องช่วยเพื่อนๆ ทำงานที่ครูสั่ง
7.จัดซ่อมเสริมหลังเลิกเรียนในด้านการอ่านและการเขียนในเด็กที่พบปัญหา
8.ส่งเสริมให้ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารทั้งที่โรงเรียนที่บ้านเพื่อให้คุ้นชินมากขึ้น
2.3 การนำรูปแบบเทคนิควิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนาไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาและผลที่เกิด
ขึ้นจากวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมการไม่ส่งงาน/การบ้าน ในรายวิชาที่
ข้าพเจ้ารับผิดชอบ ในปีการศึกษา ๒๕62 อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ส่งผลให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในด้าน
ต่างๆ ดังนี้
1. ด้านสติปัญญา เป็นผู้มีปัญญา สามารถเรียนรู้และทำงานสำเร็จลุ่ล่วงตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ด้านอารมณ์ เป็นผู้มีความสามารถในการเรียนรู้ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความสุข
กับการเรียน สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี
3. ด้านสังคม เป็นผู้ที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ และสามารถเรียนรู้การทำงาน
ร่วมกับผู้อื่น การทำกิจกรรมกรรมกลุ่ม การทำงานเป็นทีม จนประสบความสำเร็จ
4. ด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้คุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
5.ด้านการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
- ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด
- เสริมสร้างนิสัยรักการทำงานและทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ส่งเสริมการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี
- ส่งเสริมการศึกษาใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา
- ส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงาม ปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนา วัฒนธรรม
ประเพณีอันดีงามตามวัฒนธรรม
2.4 ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาและพัฒนาในอนาคต
1. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง เพื่อ
นักเรียนจะได้ใช้ความคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตามความสามารถของแต่ละคน โดยผู้สอนควรคำนึง
ความรู้พื้นฐาน ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนเป็นหลัก
2. ไม่ควรสอนเนื้อหาเต็มเวลา ควรจะแบ่งเวลาส่วนหนึ่งสำหรับให้นักเรียนได้ทำแบบฝึก
ทักษะกระบวนการ เพราะเมื่อผู้เรียนมีปัญหา ไม่เข้าใจเนื้อหาในชั่วโมงนั้นแล้ว จะได้ซักถาม อภิปราย
ปัญหาดังกล่าวกับผู้สอนได้ทันที
3. ควรใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เพราะจะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่าย และมีความสุขที่จะเรียน
6. ควรจะมีการวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ นวัตกรรมของผู้สอน เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและผู้สอนไปพร้อมกัน
3. ข้อมูลอื่นๆ ได้แก่ ปริมาณงาน คุณภาพงาน และสภาพของงานที่ผู้ขอรับการประเมิน
3.1 ปริมาณงาน
3.1.1 จำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์ 25 ชั่วโมง
3.1.2 จำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์/สาขาวิชา และระดับชั้นที่สอนปฏิบัติการ
สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ภาษาไทย สังคมศึกษาและวัฒนธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา การป้องกันการทุจริต
3.1.3 จำนวนผู้เรียนที่สอน 22 คน
3.1.4 ปฏิบัติงานอื่น (ถ้ามี) โปรดระบุ......
- ครูที่ปรึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียน 22 คน
- ครูเวรประจำวันพุธ
- งานอนามัยโรงเรียน
- คำสั่งเวรยามโรงเรียน
- คณะทำงานการเตรียมสอบ NT และ O-net
- คณะทำงานหนึ่งโรงเรียนหนึ่งกิจกรรมเด่น
- คณะทำงานการระดมทรัพยากร
- งานรักษาความปลอดภัย
- คณะทำงานส่งเสริมสุขภาพ
- คณะทำงานงานอาหารเสริม(นม)
- โครงการวันไหว้ครู
- คณะทำงานงานควบคุมภายใน
3.2 คุณภาพงานและสภาพของงาน
สภาพของงาน
☐ รับผิดชอบนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
☐ รับผิดชอบนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษหลายประเภทความพิการ
และมีลักษณะอาการรุนแรง
☑ รับผิดชอบนักเรียนที่มีความหลากหลายทางทางเศรษฐกิจ/วัฒนธรรม
☑ สถานศึกษาตั้งอยู่บนพื้นที่ปกติ
☐ สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขา หรือเกาะหรือติดกับรอยตะเข็บชายแดน
☐ สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่มีลักษณะพิเศษ เช่น กันดาร เสี่ยงภัย ตามประกาศของ
ทางราชการ เป็นต้น
ขอรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวข้างต้นถูกต้อง และเป็นความจริง
(ลงชื่อ).....................................................ผู้ขอรับการประเมิน
( นางประพากร บุตรโคษา )
ตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านนาขมิ้น
วันที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2563
การตรวจสอบและรับรองของผู้บังคับบัญชา
ได้ตรวจสอบแล้วรับรองว่าข้อมูลถูกต้อง และเป็นความจริง
(ลงชื่อ)......................................................ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
( นายสุเทพ วิลาจันทร์ )
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาขมิ้น
วันที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างเอกสารประเมิน