แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(ก.ค.ศ.3) หลักเกณฑ์ ว 17





 💢💢บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💢💢


 




เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ

 

แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน

ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์


1. ข้อมูลผู้ขอรับการประเมิน

            ชื่อ   นางสุพัตรา         นามสกุล   ศิริบัติ

อายุ  …… ปี              อายุราชการ  ……  ปี  

คุณวุฒิทางการศึกษา  วุฒิปริญญาตรี  วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท..วิชาเอก  ชีววิทยา    

จากสถาบันการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

จังหวัดมหาสารคาม

ประกาศนียบัตรบัณฑิต  สาขา วิชาชีพครู  จากสถาบันการศึกษา 

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  จังหวัดมหาสารคาม

                            วุฒิปริญญาโท  วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท..)  วิชาเอก  ชีววิทยาสำหรับครู  จากสถาบันการศึกษา  มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

                            จังหวัดขอนแก่น

ตำแหน่ง  ครู            ตำแหน่งเลขที่  …….

สถานศึกษา              โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์  อำเภอเมือง  จังหวัดกาฬสินธุ์

                              สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 25  

ส่วนราชการ             สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน      

                          กระทรวงศึกษาธิการ

รับเงินเดือน             อันดับ  คศ. 1   ขั้น ………………. บาท

 

(รายละเอียดดังเอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ก  หน้า  9 - 17)

 

2. ผลการปฏิบัติงาน  (ด้านที่ 3)  มีดังนี้

            ส่วนที่  1  ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

                1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                    1.1  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระ/วิชาที่เสนอขอรับการประเมิน
ปีการศึกษา  2560

                    ชื่อวิชาที่สอน  วิชาชีววิทยาเพิ่มเติม  รหัส  ว 32243  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5

                        -   คะแนนทีเฉลี่ย  (Average T score)  ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 
ก่อนเรียน  =  40.40

                        -   คะแนนทีเฉลี่ย  (Average T score)  ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 
หลังเรียน  =  59.60

ดังนั้น  คะแนนทีเฉลี่ยเพิ่มขึ้น  เท่ากับ  59.60    40.40  =   19.20   คิดเป็นร้อยละ  47.54

 

ปีการศึกษา  2561

                    ชื่อวิชาที่สอน  วิชาชีววิทยาเพิ่มเติม  รหัส  ว 32243  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5

                        -   คะแนนทีเฉลี่ย  (Average T score)  ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 
ก่อนเรียน  =  40.40

                        -   คะแนนทีเฉลี่ย  (Average T score)  ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 
หลังเรียน  =  59.59

ดังนั้น  คะแนนทีเฉลี่ยเพิ่มขึ้น  เท่ากับ  59.59    40.40   =   19.19   คิดเป็นร้อยละ  47.49

(รายละเอียดดังเอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ข  หน้า 18-23)

                   

                1.2  ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระ/วิชาที่สอน

                    ชื่อวิชาที่สอน  วิชาชีววิทยาเพิ่มเติม  รหัส  ว 32243  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5

                         -   คะแนนทีเฉลี่ย  (Average T score)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียน 

ปีการศึกษา  2560  =   45.62

              -   คะแนนทีเฉลี่ย  (Average T score)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียน 

ปีการศึกษา  2561   =   54.77

ดังนั้น  คะแนนทีเฉลี่ยเพิ่มขึ้น  เท่ากับ   54.77  –  45.62  =   9.15   คิดเป็นร้อยละ  20.05

(รายละเอียดดังเอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ค และ ง หน้า  24 – 34)

              

                    1.3  ผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับเขต/ประเทศ
                
   -  คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET)

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ปีการศึกษาปัจจุบัน

(ปีการศึกษา 2560) ระดับโรงเรียน มีค่าเท่ากับ 30.37  (S.D. = 11.88)       

                   

               -  คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET)

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ปีการศึกษาที่ผ่านมา

(ปีการศึกษา 2561) ระดับโรงเรียน มีค่าเท่ากับ 32.83  (S.D. = 11.76)

 (รายละเอียดดังเอกสารอ้างอิง ภาคผนวก จ  หน้า  35 - 38 )

         

1.4 การดำเนินการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

              ในปีการศึกษา  2559 2562  ได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด  นำมาประกอบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน

ในความรับผิดชอบ  ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด  นักเรียนในความรับผิดชอบส่วนมากเป็นคนดี  มีปัญญา  และมีความสุขตามศักยภาพแห่งตน

        1.5 การจัดทำนวัตกรรม/การวิจัย/การแก้ปัญหาในชั้นเรียน

              เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
และบรรลุผลตามแนวปฏิรูปการศึกษา  ผู้รายงานได้มีการพัฒนาตนเอง  โดยการศึกษาเอกสารเข้ารับการพัฒนาโดยการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  ในปีการศึกษา  2559 2562  ได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด  นำมาประกอบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในความรับผิดชอบ  ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด  นักเรียนในความรับผิดชอบส่วนมากเป็นคนดี  มีปัญญา  และมีความสุขตามศักยภาพแห่งตน

                        ผู้รายงานได้นำความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในการเรียน
การสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นระบบ  คือ  ก่อนดำเนินการในการวิจัยการแก้ไขปัญหาในชั้นเรียนได้ทำการศึกษาหลักสูตรในเรื่องสาระการเรียนรู้  จัดทำนวัตกรรม  แบบฝึกทักษะกับแผนการจัดการเรียนรู้  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  ที่มีปัญหา  เช่น  เนื้อหายาก  ซึ่งนักเรียนส่วนมากไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ และมีพฤติกรรมตามหลักสูตรที่กำหนด ได้ศึกษาข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคลในเรื่องต่าง ๆ  เช่น ข้อมูลทางด้านครอบครัว  ข้อมูลด้านการเรียน  วิธีการเรียนที่เด็กชอบ  ปัญหาที่เด็กประสบในการเรียน  เป็นต้น  แล้วนำข้อมูลทุกด้านมาประมวลผล  และวางแผนให้ความช่วยเหลือที่เกี่ยวกับปัญหาที่ประสบอยู่  ซึ่งได้ดำเนินการมาโดยตลอด  การวิจัยการแก้ปัญหาในชั้นเรียนที่ดำเนินการมา ในรอบ  2  ปี  ที่ผ่านมา  มีดังนี้
                   
ในปีการศึกษา  2561  ได้จัดทำการแก้ปัญหาในชั้นเรียน  1  เรื่อง คือ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโครงร้างและหน้าที่ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดฝึกปฏิบัติการชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/13  โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์

                    1.6 การวัดผล ประเมินผล และการรายงานผลการเรียนรู้

                        จากการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  นอกจากจะออกแบบการสอนอย่างเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนแล้ว  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติการสอน  ผู้รายงานได้วัดผลและประเมินผลกลุ่มนักเรียนอย่างครอบคลุม  โดยทำการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  ประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน  ซึ่งในการประเมินได้ใช้วิธีการประเมินอย่างหลากหลาย  คือ  การสังเกต  การสัมภาษณ์  การทดสอบ  การตรวจผลงานโดยเน้นการประเมินสภาพจริงและได้ใช้เครื่องมือประเมินที่มีคุณภาพ  อย่างหลากหลาย  เช่น  แบบทดสอบ  แบบสังเกตพฤติกรรม  แบบสัมภาษณ์  แบบบันทึกการตรวจผลงาน  ฯลฯ  สามารถวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด  ได้นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง  มีการรายงานผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทุกปี  โดยจัดทำเป็นเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานประจำทุกปี  และได้จัดทำสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  รายงานให้ผู้บริหาร  นักเรียน  คณะกรรมการสถานศึกษา  และผู้ปกครองนักเรียนทราบทุกปี 

 

                        1)  ในปีการศึกษา  2560  สื่อ  นวัตกรรม  ที่ผลิตขึ้นมีดังนี้

                  -  แผนการจัดการเรียนรู้  วิชาชีววิทยาเพิ่มเติม  ว32243  เรื่อง  โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  จำนวน 4 แผน

                  -  ใบงานและใบกิจกรรมวิชาวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม  ว32243  เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  จำนวน  4  ชุด

            2)  ในปีการศึกษา  2561  สื่อ  นวัตกรรม  ที่ผลิตขึ้นมีดังนี้

                  -  แผนการจัดการเรียนรู้  วิชาชีววิทยาเพิ่มเติม  ว32243  เรื่อง  การคายน้ำ การลำเลียงน้ำ  การลำเลียงอาหาร  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  จำนวน  4  แผน

                  -  ใบงานและใบกิจกรรมวิชาวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม  ว32243  การคายน้ำ การลำเลียงน้ำ  การลำเลียงอาหาร  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  จำนวน  4  ชุด

(รายละเอียดดังเอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ฉ และ ช หน้า  41 - 51)

                   

                1.7 การพัฒนาและการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

                        เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้ได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่น  อันจะนำไป
สู่การปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณค่า  รักหวงแหน  และภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน  ได้ร่วมกับคณะครู
ในโรงเรียนจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น  ประสานขอความร่วมมือในการใช้แหล่งเรียนรู้  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชุมชนอย่างดียิ่ง

                        ผลจากการดำเนินช่วยให้นักเรียนมีแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลายมีครูภูมิปัญญา
มาช่วยจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้  และประสบการณ์ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตที่มีคุณค่า  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นสุข  การดำเนินการดังกล่าว

ยังช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  ชุมชนได้เข้าร่วมพัฒนาการศึกษาและสนับสนุนทั้งวัสดุอุปกรณ์และเงินทุนเป็นจำนวนมากส่งผลให้เกิดการจัดการศึกษา

และพัฒนาโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

        1.8 ผลที่เกิดกับนักเรียน

                        จากการพัฒนานักเรียนโดยใช้ขบวนการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนสามารถพัฒนานักเรียนในความรับผิดชอบ  ได้รับการพัฒนาทุกด้าน 

คือ  ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์  จิตใจ  สังคม  และด้านสติปัญญา  คือ

                            1)  นักเรียนส่วนมากมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดมีสุขภาพจิตดี  และมีสุขนิสัยดี

                            2)  นักเรียน (ร้อยละ  100)  มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด

(รายละเอียดดังเอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ซ  หน้า  52-59)

                            3)  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  และเฉลี่ยรวมสูงถึงเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 

          จากการปฏิบัติการสอน  และงานอื่น ๆ ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยใช้เหตุผลได้เป็นอย่างดี  อยู่อย่างมีความสุข  และพัฒนาสังคมตามบทบาทหน้าที่ของตนโดยยอมรับการใช้เหตุและผล  มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้  ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้มีการพัฒนาไปในทางที่ดี  ซึ่งนับว่าเป็นที่น่าพอใจ                                                                          

          นอกจากนี้ยังได้อบรมดูแลด้านความประพฤติของนักเรียน ให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย            ความรับผิดชอบ  ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น  รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม  รู้จักเสียสละ  ช่วยเหลือเพื่อน  ตลอดจนให้คำปรึกษาแก่นักเรียนในทุกๆ ด้าน จนมีผลให้นักเรียนมีความประพฤติและมีวินัยดีขึ้น ดังนี้

              -  ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน  เช่น  งานลอยกระทง  วันเข้าพรรษา 
วันมาฆบูชา  วันวิสาขบูชาและวันสำคัญต่าง  ๆ

              -  ผู้เรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น การออกกำลังกาย  การเล่นกีฬาในช่วงพักกลางวัน  และหลังเลิกเรียน  ได้แสดงออกอย่างเต็มที่  ทำให้ไม่หันไปพึ่งยาเสพติด

              -  ผู้เรียนมีความสนใจเรียน  แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  มีความกระตือรือร้นมาเรียนสม่ำเสมอ  เรียนและร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน  มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข  รักษาความสะอาดของร่างกาย   สิ่งของ  เครื่องใช้อย่างสม่ำเสมอ  สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี เป็นที่ยอมรับของเพื่อนและครู
                2. ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่น ๆ
                   
ให้รายงานในรอบ  2  ปีที่ทำการสอนในรายวิชาที่เสนอขอรับการประเมิน  ดังนี้                    2.1  ผู้เรียนในสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เสนอขอ จำนวน  69 คน                              
2.2  ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านสุขภาพ  ร่างกาย  สติปัญญา  อารมณ์  และสังคมตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดี  จำนวน  69  คน  คิดเป็นร้อยละ  93.51

       2.3  ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดีเยี่ยม  จำนวน  69  คน  คิดเป็นร้อยละ  100

(รายละเอียดดังเอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ฌ  หน้า  60-66)

      นอกจากนี้ในปีการศึกษา  2559 2562  มีนักเรียนที่รับผิดชอบเข้าร่วมแข่งขันในกิจกรรมต่าง ๆ  ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 25  และหน่วยงานอื่น ๆ จัดขึ้นซึ่งนักเรียนที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ  ดังนี้
                    1.  ได้รับรางวัลการนำเสนอโครงงาน ระดับเหรียญทอง  ในงานการประชุมวิชาการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 8 วันที่  4-6  สิงหาคม  2559 ณ  โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย 1. นางสาวธัญลักษณ์  สุขอินทร์ 

2.  นางสาวณัฐพร ธัญฐะพิพิงค์ 3. นางสาวรัชดา  เนาวะเศษ

                    2.  ผ่านการสอบคัดเลือกโอลิมปิกวิชาการ สาขาชีววิทยา ค่าย 1 ปีการศึกษา 2561

1. นางสาวภณิดา สันติชัยรัตน์  2. นางสาวอาทิตยา  สุดชาดา  3. นางสาวมุกลดา  อิ่มเขจร  

(รายละเอียดดังเอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ญ และ ฎ  หน้า  67 - 236)


 




เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ


https://docs.google.com/document/d/1WYsk2ezHvjYgWsJ41OyamDbVLS_-oJpd/edit?usp=sharing&ouid=106872878421040230671&rtpof=true&sd=true 

 


ใหม่กว่า เก่ากว่า