แผนปฏิบัติการโรงเรียน ประจำปีการศึกษา2565

 





 💕💕บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💕💕



โรงเรียนบ้านม่วงนาสีดา


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2


เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้   

สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ


 

นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

                     กระทรวงศึกษาธิการ  ได้กำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจหลัก  ประเด็นยุทธศาสตร์

และเป้าประสงค์  ดังนี้

          วิสัยทัศน์

                     กระทรวง ศึกษาธิการเป็นองค์กรหลักในการจัดการและส่งเสริมการศึกษาให้ประชาชนมีความ รู้ คู่คุณธรรม มีคุณภาพ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคมฐานความรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

          พันธกิจ

                     ๑.  สร้างเสริมโอกาสในการศึกษาให้แก่ประชาชนทุกคน

                     ๒.  สร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

                     ๓.  พัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ

ประเด็นยุทธศาสตร์

                     ๑.  การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                     ๒.  การอนุรักษ์สืบทอดประเพณี  วัฒนธรรมที่ดีงาม

                     ๓.  การบริการทางการแพทย์และความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ

                     ๔.  การขยายบริการทางการศึกษา  และเพิ่มคุณภาพสถานศึกษา

ในกรุงเทพมหานครให้ทัดเทียมกัน

          ๕.  การฝึกทักษะด้านอาชีพเพื่อแก้ปัญหาความยากจน

          ๖.  การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประชาชน

โดยใช้ความรู้เป็นฐาน

          ๗.  การผลิตและพัฒนาบุคลากร   เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์

          ๘.  การพัฒนากฎหมายด้านการศึกษา

          ๙.  การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของรัฐ

เป้าประสงค์

          ๑.  ประชาชนได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีมาตรฐาน  คุณภาพ

          ๒.  ประชาชนได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม

          ๓.  ศึกษาและวิจัยเพื่อการบริการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ

          ๔.  เด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานครได้รับการศึกษาในโรงเรียนดีใกล้บ้าน

          ๕.  ประชาชนได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือและสร้างรายได้ให้กับตนเองเพิ่มขึ้น

          ๖.  การเพิ่มกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ

ตามความต้องการของตลาด

          ๗.  การเพิ่มการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม  เพื่อตอบสนองทิศทางการพัฒนา

ประเทศและเพิ่มศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันการศึกษา

          ๘.  ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์

          ๙.  กฎหมายการศึกษาสามารถตอบสนองการปฏิรูปการศึกษา

          ๑๐.  ประชาชนในพื้นที่ชายแดน  และพื้นที่พิเศษอื่น ๆ ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ

 

นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

       วิสัยทัศน์

การศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย  มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล

บนพื้นฐานของความเป็นไทย

 

พันธกิจ

.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยเรียนทุกคน ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ

.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร

.  พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา

 

เป้าประสงค์

. นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษามีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย และได้สมดุล และนักเรียน

    ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามช่วงวัยและมีคุณภาพ

. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และเสมอภาค

. ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีทักษะที่เหมาะสม และมีวัฒนธรรม

    การทำงาน ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีประสิทธิภาพและเป็นกลไกขับเคลื่อนการศึกษา

    ขั้นพื้นฐานสู่คุณภาพระดับมาตรฐานสากล

. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานบูรณาการการทำงาน เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม

    กระจายอำนาจและความรับผิดชอบสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา

. พื้นที่พิเศษ ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ

ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่    พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกระดับทุกประเภท

เป้าประสงค์ที่ ๑ นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษามีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยและได้สมดุล

          และนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามช่วงวัยและ

          มีคุณภาพ                    

กลยุทธ์

1.       จัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของผู้เรียนทุกระดับทุกประเภท

                ให้มีประสิทธิภาพ

2.       ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ปกครอง

ชุมชน สังคม และสาธารณชน มุ่งพัฒนาผู้เรียนที่เหมาะสมกับวัย ทักษะและคุณลักษณะ

ที่จำเป็นของนักเรียนที่สถานประกอบการต้องการและที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในอนาคต

                เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย    

.  สนับสนุนการจัดสรรงบประมาณ ในรูปแบบที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

                ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ รวมถึงระดับและประเภทของผู้เรียน

4.       ส่งเสริมการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาหลักสูตร

     สถานศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคม ท้องถิ่น และผู้เรียน

.  ใช้สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริม

 การเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา              

.  จัดระบบนิเทศ ติดตามผล และรายงานผล ให้มีความเข้มแข็งและต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม

     และหลากหลายมิติ เน้นการนิเทศแบบกัลยาณมิตร

.  สนับสนุนให้มีการแนะแนวผู้เรียน ให้มีแรงจูงใจในการเรียนเพื่อการเรียนต่อ

     และการมีอาชีพสุจริต เพื่อความมั่นคงในชีวิต ด้วยผู้แนะแนว ที่หลากหลาย  เช่น ครู 

     ผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ ทั้งที่เป็นผู้ปกครอง ศิษย์เก่า  ผู้ที่ทำงานสถานประกอบการใน/

     นอกพื้นที่

.  ส่งเสริมสนับสนุนการนำการทดสอบ O-NET การประเมินของ PISAและระบบการทดสอบ

     กลางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียน

     การสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน

.  ส่งเสริมการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ให้มีความเข้มแข็งเพื่อรองรับ

     การประเมินภายนอก

๑๐. จัดระบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีการเรียนการสอนทั้งวิชาสามัญ

      และวิชาชีพ เพื่อรองรับการมีอาชีพตั้งแต่การเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๑๑. ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

      และภาษาอาเซียนอย่างน้อย ๑ ภาษา เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

      ในปี พ.. ๒๕๕๘ และสู่มาตรฐานสากล

๑๒. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

      เพื่อเรียนต่อ  ให้มีวิธีการคัดเลือกที่หลากหลาย สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                นอกเหนือจากการวัดความรู้ และความสามารถในการสอบแข่งขัน

 

 

ยุทธศาสตร์ที่     ขยายโอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียน

                        ให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และมีคุณภาพ

เป้าประสงค์ที่     ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง

             มีคุณภาพ และเสมอภาค

เป้าประสงค์ที่     พื้นที่พิเศษ ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ

กลยุทธ์

1.       พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ นักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

                ให้มีประสิทธิภาพ

2.       สนับสนุนการบริหารจัดการงบประมาณ ประเภทงบเงินอุดหนุนรายหัวให้ผู้เรียน

เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้แบบตามตัวผู้เรียน (Demandside Financing) มีการเชื่อมโยง

กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเน้นการบริหารงบประมาณ

     ที่มีประสิทธิภาพ

3.       ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกระดับ และทุกประเภท มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ เรียนจนจบหลักสูตร มีโอกาสเรียนต่อ มีอาชีพที่สุจริตและมั่นคงในชีวิต

4.       สนับสนุนโรงเรียนดีมีคุณภาพ ทั้งในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ให้เป็นโรงเรียนที่มีรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด อำเภอ ตำบล

5.       สนับสนุนให้โรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในพื้นที่พิเศษ มีโอกาสจัดการศึกษาด้านวิชาชีพ ทั้งที่จัดเอง และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เพื่อเป็นการสร้างอาชีพสุจริตให้กับผู้เรียน

6.       ส่งเสริมการจัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบปกติรูปแบบเพื่อความเป็นเลิศ

รูปแบบเพื่อเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส และรูปแบบการศึกษาทางเลือก จัดให้มีความเหมาะสม

และเต็มศักยภาพของผู้เรียนและยังคงระดับคุณภาพตามมาตรฐาน

.  ส่งเสริมสนับสนุนระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้มีความเข้มแข็งและต่อเนื่อง

.  ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแนวทางการดูแลช่วยเหลือและจัดการศึกษาที่เหมาะสม

     แก่เด็กด้อยโอกาสที่ไม่อยู่ในทะเบียนราษฎร์ เช่น  บุตรหลานของแรงงานต่างด้าว

     เด็กไร้สัญชาติ เด็กพลัดถิ่น เด็กต่างด้าวเด็กไทยที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ ๓   พัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา

เป้าประสงค์ที่       ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นมีทักษะที่เหมาะสม

     และมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

เป้าประสงค์ที่       พื้นที่พิเศษ ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ

กลยุทธ์

1.       พัฒนาองค์ความรู้ และสมรรถนะของครู ผ่านการปฏิบัติจริงและการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

          .  เผยแพร่องค์ความรู้ และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม วิธีการจัดการเรียนการสอน

                 การพัฒนาการคิด และการวัดประเมินผล ให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียน

       ให้มีคุณภาพตามศักยภาพเป็นรายบุคคล

.  พัฒนาครูที่มีอยู่ให้สามารถจัดการเรียนรู้ในวิชาที่โรงเรียนต้องการได้ด้วยตนเอง

       หรือใช้สื่อเทคโนโลยี

.  ส่งเสริมระบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรโดยเขตพื้นที่การศึกษา และโดยเพื่อนครู

       ทั้งในโรงเรียนเดียวกัน หรือระหว่างโรงเรียน หรือภาคส่วนอื่น ๆตามความพร้อม

       ของโรงเรียน

.  ส่งเสริมให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครูในพื้นที่ ทั้งในโรงเรียน เดียวกัน

ระหว่างโรงเรียน หรืออื่น ๆ และในองค์กร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานทุกหน่วยงาน

.  ส่งเสริมให้ครูมีสมรรถนะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารและทักษะการใช้

       คอมพิวเตอร์เพื่อจัดการเรียนรู้ได้ในระดับดี

. พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเร่งด่วน

. เสริมสร้างระบบแรงจูงใจ เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา  มีขวัญกำลังใจในการทำงาน

    สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

.๑ ยกย่องเชิดชูเกียรติครูที่เป็นครูมืออาชีพ และบุคลากรทางการศึกษา

      ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ทั้งด้าน

) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้

) การดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ

) การมีจิตวิญญาณความเป็นครูมีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคม

.๒ ส่งเสริมความก้าวหน้าของครู ให้มีวิทยฐานะที่สูงขึ้นให้สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์

     ทางการเรียนของนักเรียนและรายได้ของครู

. ประสานและสนับสนุนให้กับองค์กรและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมและจัดสรรครู

    และผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน และสังคม

.๑ สร้างความตระหนักกับองค์กรที่มีบทบาทโดยตรงกับการบรรจุครูในพื้นที่

      ถึงความจำเป็นต้องจัดสรรครูให้ตรงวิชาที่โรงเรียนขาดแคลน

.๒ สร้างค่านิยมสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ให้รับผิดชอบต่อผลด้านคุณภาพ

      ของการจัดการศึกษา

.๓ ประสานสถาบันอุดมศึกษาผลิตครูที่มีวิชาเอกตรงกับความต้องการและสามารถ

      จัดการเรียนรู้ เพื่อผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้และสอดคล้องกับบริบท

      ของโรงเรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้

ยุทธศาสตร์ที่ ๔  พัฒนาระบบการบริหารจัดการ

เป้าประสงค์ที่ ๔  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีประสิทธิภาพ และเป็นกลไกขับเคลื่อน

                      การศึกษาขั้นพื้นฐานสู่คุณภาพระดับมาตรฐานสากล

เป้าประสงค์ที่ ๕  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานบูรณาการการทำงาน เน้นการบริหาร

                      แบบมีส่วนร่วม กระจายอำนาจและความรับผิดชอบสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

                      และสถานศึกษา

เป้าประสงค์ที่ ๖ พื้นที่พิเศษ ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ

กลยุทธ์

. กระจายอำนาจและความรับผิดชอบ

.๑ ส่งเสริมสนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีความสามารถ

 และมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.๒ บูรณาการการทำงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ  ในเพื่อส่งเสริมให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพ

      ตามบริบทได้เพิ่มขึ้น

.๓ พัฒนาระบบติดตามตรวจสอบ การบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

.๔ สร้างเครือข่าย/กลไกที่สามารถรับรู้ปัญหา และแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการ

      งบประมาณที่ไม่เหมาะสม/ถูกต้อง ตามหลักธรรมาภิบาลได้อย่างรวดเร็ว

. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

.๑ เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้บริหารสถานศึกษา  ถึงความจำเป็น และประโยชน์

      ของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการพัฒนาการศึกษา

.๒ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมสนับสนุนทรัพยากร

..๑ ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนทราบถึงความต้องการได้รับการช่วยเหลือ

ของโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนที่ขาดแคลน อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร

..๒ ประสานทุกภาคส่วนให้เข้ามาช่วยเหลือโรงเรียนที่มีความมุ่งมั่นพัฒนา

คุณภาพการศึกษา แต่มีความขาดแคลนมาก

.๓ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบหน่วยงานในสังกัดโดประชาชนทุกภาคส่วน     

..๑ สร้างช่องทางรับฟังความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/เรื่องร้องเรียน ทีเกี่ยวข้องกับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

..๒ ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการทำงานของโรงเรียนในท้องถิ่น และหน่วยงานในสังกัดมากขึ้น

. ส่งเสริมให้สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และองค์คณะบุคคล มีความรับผิดชอบ

   ต่อผลการดำเนินงาน

.๑ ส่งเสริมให้มีการเชิดชูเกียรติสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ

 องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่นักเรียนในพื้นที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น/อัตราการออกกลางคันลดลง/มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง

.๒ สร้างช่องทางรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับองค์กร/

องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง และติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

 

ผลผลิต

) ผู้จบการศึกษาก่อนประถมศึกษา

) ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ

) ผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย

) เด็กพิการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาสมรรถภาพ

) เด็กด้อยโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

) ผู้ที่มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาศักยภาพ

จุดเน้น สพฐ. ปี ๒๕๖๔

ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีงบประมาณ  ๒๕๖๕

ส่วนที่ ๑   จุดเน้นด้านผู้เรียน

๑.๑ นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญ สู่มาตรฐานสากล ดังต่อไปนี้

๑.๑.๑ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีความสามารถด้านภาษา ด้านคำนวณ

         และด้านการใช้เหตุผลที่เหมาะสม

๑.๑.๒ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เป็นต้นไปได้รับการส่งเสริมให้มีแรงจูงใจสู่อาชีพ

         ด้วยการแนะแนว ทั้งโดยครูและผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ (ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า

         สถานประกอบการใน/นอกพื้นที่) และได้รับการพัฒนาความรู้ทักษะที่เหมาะสม

         กับการประกอบอาชีพสุจริตในอนาคต

๑.๑.๓ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

         มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระหลัก

         เพิ่มขึ้น เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓        

๑.๒ นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

      ภูมิใจในความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด มีคุณลักษณะและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม

๑.๒.๑ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑  - ๓ ใฝ่ดี

๑.๒.๒ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ ใฝ่เรียนรู้

๑.๒.๓ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่อย่างพอเพียง

๑.๒.๔ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความมุ่งมั่นในการศึกษา และการทำงาน

๑.๓ นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการส่งเสริม และพัฒนาเต็มศักยภาพ

๑.๓.๑ เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย

๑.๓.๒ เด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้

        ของหลักสูตร และอัตลักษณ์แห่งตน

๑.๓.๓ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมให้มีเป็นเลิศ ด้านวิทยาศาสตร์

         เทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์คณิตศาสตร์ ภาษา กีฬา ดนตรี และศิลปะ

๑.๓.๔ นักเรียนที่เรียนภายใต้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวสถานประกอบการ บุคคล

         องค์กรวิชาชีพ องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน และองค์กรสังคมอื่น และการศึกษา

         ทางเลือก ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน

๑.๓.๕ เด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ได้รับการคุ้มครอง

         และช่วยเหลือเยียวยา ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย

ส่วนที่ ๒   จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา

๒.๑ ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และสมรรถนะ ผ่านการปฏิบัติจริงและการช่วยเหลือ

      อย่างต่อเนื่อง

๒.๑.๑ ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการคิด การวัดประเมินผลของครู

         ให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียนเป็นรายบุคคล

๒.๑.๒ ครูสามารถจัดการเรียนรู้ในวิชาที่โรงเรียนต้องการได้ด้วยตนเองหรือใช้สื่อเทคโนโลยี

๒.๑.๓ ครูได้รับการนิเทศแบบกัลยาณมิตร โดยเขตพื้นที่การศึกษา และโดยเพื่อนครู

         ทั้งในโรงเรียนเดียวกัน หรือระหว่างโรงเรียนหรือภาคส่วนอื่น ๆ ตามความพร้อม

         ของโรงเรียน

๒.๑.๔ ครูได้รับการช่วยเหลือให้จัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้

         ของครูในพื้นที่ ทั้งในโรงเรียนเดียวกันระหว่างโรงเรียน หรืออื่น ๆ

         ตามความเหมาะสม

๒.๑.๕ ส่งเสริมให้ครูมีสมรรถนะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์

         เพื่อจัดการเรียนรู้ได้ในระดับดี

๒.๒ พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเร่งด่วน

๒.๓ ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นมืออาชีพ มีผลงานเชิงประจักษ์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

      อย่างเหมาะสม

๒.๔ องค์กรและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมและจัดสรรครู ตระหนัก และดำเนินการ

      ในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ครูและผู้บริหารสถานศึกษาบรรจุใหม่/ย้ายไปบรรจุ มีความสามารถ

      สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน ชุมชนและสังคม

ส่วนที่ ๓   จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ

๓.๑ สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์

      เน้นการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน

      (Participation and Accountability)    

๓.๑.๑ โรงเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอกและที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

         ของนักเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ได้รับการแก้ไขแทรกแซง ช่วยเหลือ

         นิเทศ ติดตาม และประเมินผล โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริม

         สนับสนุน และเป็นผู้ประสานงานหลักให้โรงเรียนทำแผนพัฒนาเป็นรายโรง

         ร่วมกับผู้ปกครองชุมชน และองค์กรอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง

๓.๑.๒ สถานศึกษาบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ เน้นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

         และการมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน

๓.๑.๓ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม

         และความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานมีระบบการนิเทศ เร่งรัด ติดตาม

         ประเมินผลสถานศึกษาและครูที่เข้มแข็ง

๓.๑.๔ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชิดชูเกียรติโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

         สูงขึ้น/อัตราการออกกลางคันลดลง/มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง

๓.๑.๕ องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเร่งรัดและติดตามการดำเนินการ

        ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็งเป็นกัลยาณมิตร

๓.๒ สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน

๓.๒.๑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

๓.๒.๒ สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายใน ได้ระดับมาตรฐาน

         สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และหรือผ่านการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน

         และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม  เขต ๒

วิสัยทัศน์
           สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต ๒  เป็นหน่วยงานที่เข้มแข็ง  บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลสามารถขับเคลื่อนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึง  มีคุณภาพได้มาตรฐาน  พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 

พันธกิจ

. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพเน้นหลักธรรมาภิบาล

. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม มีความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

. พัฒนาและส่งเสริมการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
เป้าประสงค์

.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา  มีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการตามหลักหลักธรรมาภิบาล  สามารถขับเคลื่อนการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่มาตรฐาน

.  ผู้เรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

.  ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

. ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์

.  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตร  และส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

.  ปลูกฝังคุณธรรม  ความสำนึกในความเป็นชาติไทย  และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

.  พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา ตามแนวทางการกระจายอำนาจ หลักธรรมาภิบาล และเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

จุดเน้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม  เขต ๒

.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๕ กลุ่มสาระวิชาหลักเพิ่มขึ้นอย่างน้อย  ร้อยละ 

.  การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญาตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ

.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ทุกคนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น  และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖ ทุกคนอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง และมีทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน

.  นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความรักชาติไทย

.  เพิ่มศักยภาพนักเรียนด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์  และด้านเทคโนโลยี

.  สร้างทางเลือกในการเรียนรู้ที่เน้นให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลดอัตราการออกกลางคัน  ศึกษาต่อและประกอบอาชีพ

.  ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

.  นักเรียน  ครู  ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและสังคมพหุวัฒนธรรม

.  สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งและได้รับรองจากการประเมินคุณภาพภายนอก  ตลอดจนการพัฒนาสถานศึกษาในพื้นที่ชนบท  โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  และโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล

๑๐.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

๑๑. นักเรียนมีทักษะชีวิต  สร้างภูมิคุ้มกันปลอดจากสิ่งเสพติด  และสามารถรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ได้

นโยบายสู่การปฏิบัติของโรงเรียนบ้านม่วงนาสีดา

โรงเรียนบ้านม่วงนาสีดา  ได้พิจารณาจากโยบาย ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการ กลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต ๒ จุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ และจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก/ภายในองค์กร ได้กำหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ของโรงเรียน ดังต่อไปนี้

 

 

.๑ วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านม่วงนาสีดา  มุ่งพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เป็นคนดีมีคุณธรรม  เป็นคนเก่งและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ก้าวนำด้านเทคโนโลยี  มีความรู้สู่อาเซียน ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีชุมชนร่วมพัฒนาการศึกษา

.๒ อัตลักษณ์

โรงเรียนสวยสะอาด  มารยาทนักเรียนงาม

.๓ พันธกิจ

๑.   จัดการเรียนการสอนสำหรับประชากรวัยเรียนทุกคนทั้งปกติ พิการ และด้อยโอกาส ได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๘ ปี ตามสิทธิอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

๒.   จัดการเรียนรู้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามตามแบบอย่างวัฒนธรรมไทย  และยึดลักเศรษฐกิจพอเพียง

๓.   จัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๔.   นำภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา  รวมทั้งส่งเสริมให้วิทยากรในท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆมาร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

      ๕.   จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ และให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

      . จัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมสถานศึกษาให้พร้อมเข้าสู่อาเซียน

.๔ เป้าหมายภาพรวมตามภารกิจหลัก

.  มีหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น พัฒนาตามการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ และสอดคล้องกับการศึกษาของชาติ

.  ผู้เรียนระดับประถมศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการ เรียนรู้ ฯ อยู่ในระดับ ๓-

.  ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.  ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารเตรียมภาษารู้สู่อาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.  ผู้เรียนมีทักษะและความสามารถในการทำงานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

. โรงเรียนมีการบริหารจัดการตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษามีระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ

.  เด็กในระดับปฐมวัยได้พัฒนาในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาเต็มศักยภาพ

.  ผู้เรียนประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมคุณลักษณะที่พึงประสงค์และค่านิยมที่ดีงาม

ผู้เรียนเห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๑๐. ผู้เรียนสามารถนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

๑๑. ผู้เรียนเห็นคุณค่าและร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติพลังงานและสิ่งแวดล้อม

๑๒. ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ

๑๓. ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต มีสุขภาพ และบุคลิกภาพที่ดี มีสุนทรียภาพ

สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

๑๔. บุคลากรมีความรู้ความสามารถตามาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม มีจรรยาบรรณ และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ

๑๕. บุคลากรมีขวัญกำลังใจและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

๑๖. โรงเรียนมีการบริหารจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพและสามารถตรวจสอบได้

๑๗. โรงเรียนมีอาคารสถานที่แหล่งเรียนรู้และทรัพยากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

๑๘.  โรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีและมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน

๑๙คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง ชุมชนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

๑.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์

. ซื่อสัตย์สุจริต

.  มีวินัย

๔.  ใฝ่เรียนรู้

๕. อยู่อย่างพอเพียง

.  มุ่งมั่นในการทำงาน

๗.  รักความเป็นไทย

. มีจิตสาธารณะ


 


 


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2


เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้   


ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ


https://docs.google.com/document/d/1KIF58z13mGWcHiSgwl7vPeVNpzFwo5tV/edit?usp=sharing&ouid=106872878421040230671&rtpof=true&sd=true 



fullWidth
ใหม่กว่า เก่ากว่า