โครงงานคุณธรรม หนูน้อยรักออม

 





💗💗บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💗💗



จากครูพีรพัฒน์  โกวิทยากร  โรงเรียนบ้านช้าง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

พระนครศรีอยุธยา เขต 1


เป็นไฟล์ PDF  สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ


          ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ ประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับของภาครัฐให้ ดำเนินไปในทางสายกลางเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งภายในสภาวการณ์ ปัจจุบัน นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้เงินอย่างไม่เห็นคุณค่า ไม่มีเหตุผล ฟุ่มเฟื่อย ลุ่มหลงในค่านิยมทางวัตถุ และเทคโนโลยีทั้งที่ยังไม่สามารถหารายได้ด้วยตนเอง จึงส่งผลให้พ่อแม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูมากขึ้น นอกจากนั้นนักเรียนขาด การเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต จึงทำให้เมื่อถึงเวลาจำเป็นที่ จะต้องใช้เงินก็ไม่สามารถหาเงินได้ ทำให้พ่อแม่ต้องเดือดร้อน

         โรงเรียนบ้านช้างได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้น้อมนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มาเป็น แนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการบูรณาการกับหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และจัดกิจกรรมโครงงาน “หนูน้อยรักออม” โดย มีทักษะและเป้าหมายที่ชัดเจนในการออม เห็นคุณค่าของการออม รู้จักคุณค่าของเงิน สิ่งของ มีวิธีคิดที่จะพิจารณาในการใช้เงิน รู้จักการออม รู้จักกระบวนการออมเงิน สามารถนำกระบวนการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง เหมาะสมกับวัย รู้จักการใช้เงินให้เป็นประโยชน์มากที่สุด อันจะส่งผลให้การดำเนินชีวิต ในอนาคตเป็นคนที่มีคุณภาพ

ปัญหา

นักเรียนได้เงินมาโรงเรียนแล้วนำไปซื้อขนมจนหมดไม่รู้จักการออมเงิน

สาเหตุของปัญหา

นักเรียนไม่รู้จักคุณค่าของเงินใช้จ้ายฟุ่มเฟื่อย

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ และทักษะพื้นฐานด้านการออมเงิน

๒. เพื่อให้นักเรียนรู้จักคุณค่าของเงิน

๓. เพื่อฝึกให้นักเรียนมีนิสัยรักการออมรักการประหยัด

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการประหยัดและอดออม

๒. นักเรียนสามารถนำความรู้ทักษะเกี่ยวกับการออมไปใช้ในชีวิตประจำวัน

เป้าหมาย

เป้าหมายเชิงปริมาณ

         นักเรียนชั้นอนุบาล ๓ จำนวน ๓๓ คน

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

         นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ มีการออมเงิน

        - เป้าหมายระยะสั้น (ระยะ ๔ เดือนแรก)

          นักเรียนร้อยละ ๓๐ มีการออมเงิน

       - เป้าหมายระยะยาว (ระยะ ๘ เดือน)

         นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ มีการออมเงิน

วิธีการแก้ปัญหา

๑. ชี้แจงระเบียบต่าง ๆ ในกิจกรรมให้ผู้ปกครองนักเรียนได้ทราบ

๒. ประกาศเชิญชวนนักเรียนเข้าร่วมโครงงาน “หนูน้อยรักออม”

๓.จัดทำการเปิดสมุดบัญชีออมทรัพย์ระหว่างนักเรียนและผู้ปกครอง

๔. คืนเงินออมให้นักเรียนเมื่อสุดภาคการศึกษา

๕. ประเมินผลและติดตามการดำเนินงาน

หลักธรรมที่นำมาใช้

อิทธิบาท ๔ ธรรมแห่งความสำเร็จในการทำงาน

ฉันทะ ได้แก่ ความพึงพอใจในสิ่งที่ทำอยู่บุคคลควรรักงาน รักเพื่อนร่วมงาน รักหมู่ คณะ และสถาบัน

วิริยะ ได้แก่ ความเพียรพยายามการมีความขยัน อดทนมีมานะ บากบั่นจนประสบ ผลสำเร็จ

จิตตะ ได้แก่ ความตั้งใจ การฝักใฝ่อย่างจริงจัง มีความตั้งใจว่าจะทำทุกอย่างให้ดี ทำให้ ได้ มีเจตนาแน่วแน่

วิมังสา ได้แก่ ความสุขุม รอบคอบพินิจพิจารณาสิ่งที่ทำด้วยปัญญา มีการตรวจตราอยู่ เสมอ ให้รอบคอบ

วิธีการวัดและประเมินผล

ตัวชี้วัด : นักเรียนทุกคนมีวินัยในการออมเงิน

วิธีการประเมิน

- การสังเกต เครื่องมือที่ใช้ประเมิน

- แบบสังเกต

แบบบันทึกการออมเงิน

ช่วงเวลาในการประเมิน

กรกฎาคม - พฤศจิกายน ๒๕๖๓



จากครูพีรพัฒน์  โกวิทยากร  โรงเรียนบ้านช้าง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

พระนครศรีอยุธยา เขต 1


เป็นไฟล์ PDF  สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ
















จากครูพีรพัฒน์  โกวิทยากร  โรงเรียนบ้านช้าง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

พระนครศรีอยุธยา เขต 1


เป็นไฟล์ PDF  

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ




fullWidth
ใหม่กว่า เก่ากว่า