💗💗บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💗💗
บูรชัย ศิริมหาสาคร กล่าวว่า Best Practice คือ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จซึ่งเป็นผล มาจากการนำความรู้ไปปฏิบัติจริง
แล้วสรุปความรู้และประสบการณ์นั้น เป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของตนเองซึ่งสามารถ เกิดขึ้นได้ในทุกหน่วยงานจากหลายช่องทางทั้งตัวผู้นำผู้ร่วมงานส่วนได้ส่วนเสียหรือภาวะปัญหาและการริเริ่มสร้าง
สรรค์พัฒนาที่มีขั้นตอนเมื่อมีวิธีการทำงานที่ดีต้องทำผ่านการเล่าเรื่องที่เป็นการทำงานของตนเองมาแลก
เปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนข้ามสายงานข้ามหน่วยงานโดยเกิดขึ้นในระดับบุคคลระดับกลุ่ม
และระดับหน่วยงานย่อย Best Practice ที่ได้ควรมีการบันทึกเขียนรายงาน
เพื่อการศึกษา พัฒนาและเผยแพร่ได้ ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง
เอกสารรายงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best
Practice) ซึ่งทางสถานศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทั้งด้านการบริหารจัดการด้านการจัดการเรียนการสอนและ
ด้านผู้เรียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารรวบรวมผลงานฉบับนี้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ให้กับสถานศึกษาอื่นต่อไป
๑) ความสำคัญและความเป็นมา
การจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ
เขต ๑ จากรายงานผลการนิเทศพบว่า กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนมีความแตกต่างกัน
มีทั้งปัจจัยที่เอื้อและปัจจัย ที่เป็นอุปสรรคต่อการนิเทศ
การนิเทศยังขาดความต่อเนื่องและความเป็นเอกภาพที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคประเทศไทย
๔.๐ และการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐาน ของพลเมืองไทย
มีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑
นอกจากนั้นโรงเรียนยังมีความต้องการให้มี การพัฒนาระบบนิเทศภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็งและต่อเนื่อง
และจากผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ของสำนักงานทดสอบทางการศึกษาองค์การ มหาชน ในภาพรวมมีคะแนนไม่ถึง ร้อยละ
๕๐ ในทุกกลุ่มสาระและทุกชั้น ยกเว้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีคะแนนสูงกว่าร้อยละ ๕๐
และผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่
๓ พบว่า มีคะแนนสูงขึ้นทุกด้าน แต่มีคะแนนไม่ถึง ร้อยละ ๕๐ ยกเว้นความสามารถด้านภาษา
และรายงานผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (Reading Test) ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ของสำนักทดสอบทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๑
จำนวนโรงเรียนที่เข้าสอบ ๓๐,๕๕๑ โรงเรียน
จำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ ๗๖๐,๒๓๒ คน (ปกติ
๗๒๕,๔๒๔ คน พิเศษ ๓๔,๒๖๘ คน) พบว่า
ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๖๘.๖๙
จากเหตุผลดังกล่าว กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๑
จึงต้องการพัฒนาระบบการนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อสร้าง ความเข้มแข็ง
ของการนิเทศภายในโรงเรียนให้โรงเรียนสามารถพัฒนาและใช้หลักสูตรสถานศึกษา มีการ จัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active
Learning) โรงเรียนขนาดเล็กจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีทางไกล
(DLTV/DLIT) แก้ไขปัญหาการอ่านออกเขียนได้
ดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และ ผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงได้จัดทำเอกสารแนวทางการนิเทศภายใน โรงเรียนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้นต่อไป
โรงเรียนบ้านบกขี้ยาง จึงมีแนวคิดที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น
จึงได้ศึกษา วิเคราะห์สังเคราะห์หารูปแบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม
ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง โดยได้ ออกแบบแนวคิดการนิเทศภายใน แบบ 3H
มาเป็นหลักคิด ในการทำงาน ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
๒) แนวคิดและหลักการ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
กระบวนการนิเทศเป็นกระบวนการหนึ่งที่ส่งผลต่อการ พัฒนาคุณภาพการศึกษา
(หน่วยศึกษานิเทศก์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,
๒๕๖๒ : ๖)
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จะสำเร็จได้ตามเป้าหมาย จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ สำคัญในการพัฒนา
คือ กระบวนการบริหาร กระบวนการจัดการเรียนรู้และกระบวนการนิเทศ ที่ต้องรวมกัน สนับสนุนส่งเสริมไปด้วยกันใน
ลักษณะของ “เกลียวเชือก” กระบวนการนิเทศการศึกษา (supervision) เป็น กระบวนการที่ทำให้เกิดการพัฒนาและ ปรับปรุง
กระบวนการเรียนการสอนของครูโดยมุ่งให้เกิดการจัดการ เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพส่งผลถึงคุณภาพของผู้เรียน
กระบวนการนิเทศการศึกษาช่วยทำให้เกิดการพัฒนาคน พัฒนางาน
สร้างการประสานสัมพันธ์และขวัญกำลังใจ ซึ่งต้อง ดำเนินงานให้ประสานสัมพันธ์กับกระบวนการ
อื่นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมาย ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนถาวร
ดังที่สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ๒๕๔๙ : ๕๒)
กล่าวว่า “การจัดการที่ดีเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรการนิเทศที่ดีนำไปสู่การจัดการที่ดี
Maslow
เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของ
บุคคลในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา
และได้รับสิ่งที่มี ความหมายต่อ ตนเอง เป็นความจริงที่จะกล่าวว่ากระบวนการของแรงจูงใจเป็นหัวใจของทฤษฎีบุคลิกภาพของ
Maslow โดยเขา เชื่อว่ามนุษย์เป็น “สัตว์ที่มีความต้องการ” (wanting
animal) และเป็นการยากที่มนุษย์จะ ไปถึงขั้นของความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ในทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ
Maslow เมื่อบุคคลปรารถนาที่ จะได้รับความพึงพอใจ
และเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่ง อื่นๆ
ต่อไป ซึ่งถือเป็น คุณลักษณะของมนุษย์
ซึ่งเป็นผู้ที่มีความต้องการจะได้รับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ Maslow กล่าวว่าความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิดและความปรารถนาเหล่านี้จะเรียงลำดับขั้นของความ
ปรารถนา ตั้งแต่ขั้นแรกไปสู่ความปรารถนาขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับ
ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ( The Need –Hierarchy Conception of Human
Motivation ) Maslow เรียงลำดับความต้องการของมนุษย์ จากขั้นต้นไปสู่ความต้องการขั้นต่อไปไว้เป็นลำดับดังนี้๑.
ความต้องการทางด้านร่างกาย ( Physiological needs ) ๒.
ความต้องการความปลอดภัย ( Safety needs ) ๓.
ความต้องการความรักและความเป็น เจ้าของ ( Belongingness and love needs ) ๔. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Esteem needs ) ๕. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualization
needs ) ลำดับขั้นความต้องการของ มาสโลว์มีการเรียงลำดับขั้นความต้องการที่อยู่ในขั้นต่ำสุดจะต้องได้รับความพึงพอใจเสียก่อนบุคคลจึงจะ
สามารถผ่านพ้นไปสู่ความต้องการที่อยู่ในขั้นสูงขึ้นตามลำดับ
ปัญญา ๓ ฐาน คือ ความสามารถในการทำงานของมนุษย์ ซึ่งสามารถอธิบายได้ โดยสมองในส่วนต่างๆ
ได้แก่ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้(cognitive domain), อารมณ์และความรู้สึก (affective domain) และทักษะ (psychomotor
domain) โดยอาจเรียก 3 ส่วนนี้ว่า Head
Heart Hand
รูปแบบการนิเทศ แบบ 3H
Heart (ใจ) Head (หัว) Hand (กาย) หมายถึง กระบวนการนิเทศการศึกษา ที่นำหลักคิดทางพฤติกรรม ความคิด
และการทำงานของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน มา ปรับประยุกต์ร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจ
ของมาสโลว์ ๕ ขั้น และหลักของการบริหารในการพัฒนาสถานศึกษาให้มี ความยั่งยืน
โดยมีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพของผู้เรียน มีรายละเอียด ดังนี้
๑. Heart (ใจ)
คือ ความเข้าใจบริบท ข้อมูลพื้นฐานทุกมิติของโรงเรียนและชุมชนค้นหารากฐานของ ปัญหา
มี๒ ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ ๑ เข้าใจปัญหา รู้ข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
นโยบาย เป้าหมาย ขององค์กรโรงเรียน และชุมชน
ขั้นที่ ๒ เข้าใจบริบท ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล โรงเรียน ชุมชน
เพื่อค้นหารากฐานของ ปัญหาที่แท้จริง การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเพื่อแก้ไขปัญหา
๒. Head (หัว) คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับต่างๆ โดยมุ่งสร้างความมั่นใจ ในกระบวนการพัฒนามากที่สุด มี๒ ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ ๓ ศึกษาวิธีการ กำหนดเป้าหมาย
เลือกประเด็น แนวทางในการพัฒนา ด้วยการมีส่วนร่วม
ขั้นที่ ๔ วางแผน ออกแบบ
วางแผน ออกแบบกระบวนการพัฒนา ด้วยการมีส่วนร่วม
๓. Hand (กาย)
คือ การสร้างทีมงาน การศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติของโรงเรียน และชุมชน
การให้คำแนะนำนิเทศ กำกับ ติดตาม และสนับสนุนมี๓ ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ ๕ ปฏิบัติ
นำกระบวนการที่ได้วางแผน ออกแบบ ลงสู่การปฏิบัติด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม การให้คำแนะนำ
นิเทศ กำกับ ติดตาม และสนับสนุน
ขั้นที่ ๖ นำสะท้อนผล
การเรียนรู้การทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับปรุงการทำงาน ให้ดีขึ้น
PLC BAR AAR
ขั้นที่
๗ การพัฒนาให้ยั่งยืน การเสริมสร้างขวัญ กำลังใจ
ให้มีจิตสำนึกในการพัฒนาสู่ความยั่งยืน