เอกสารประเมินวิทยฐานะหลักเกณฑ์ว17

 






💖💖บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💖💖


 

จากคุณครูสุทธิพงษ์   บรรยงค์ 


โรงเรียนมัธยมยางสีสุราช


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 26

  

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ



ก.ค.ศ. 3/1

 

แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน

ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

ชำนาญการพิเศษ  (สายงานการสอน)

 

1. ข้อมูลผู้ขอรับการประเมิน

          ชื่อ  นายสุทธิพงษ์   นามสกุล  บรรยงค์   

          ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ  ชำนาญการ  ตำแหน่งเลขที่  113818

          สถานศึกษา  โรงเรียนมัธยมยางสีสุราช  อำเภอ/เขต  ยางสีสุราช  จังหวัด มหาสารคาม

          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 26  

          ส่วนราชการ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ

          รับเงินเดือนในอันดับ  คศ.2  ขั้น  23,940  บาท

          ขอมีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ

          (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก  ก)

 

2. ผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) มีดังนี้  

          รายงานข้อมูลตามหัวข้อ และแนบเอกสารหลักฐานอ้างอิงแต่ละข้อ เพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้          ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน   

                    1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    

                     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาขา/ สาขาวิชา / กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เสนอขอรับ

                          การประเมินของปีปัจจุบัน   

                                - ชื่อวิชาที่สอน วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201

                                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560   

                               - คะแนนทีเฉลี่ย* (Average T-score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน  

                                 = 40.77

                              - คะแนนทีเฉลี่ย* (Average T-score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน  

                                 = 59.23

                        เพิ่มขึ้น  18.46  คิดเป็นร้อยละ  45.26

                     (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก ข)

                     1.2 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสาขา/สาขาวิชา/ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอน

                               - คะแนนทีเฉลี่ย* (Average T-score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                                 ปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้ว (ปีการศึกษา  2559) มีค่าเท่ากับ 47.46 

                              - คะแนนทีเฉลี่ย* (Average T-score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                                 ปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบัน (ปีการศึกษา  2560) มีค่าเท่ากับ 52.54

                    เพิ่มขึ้น 5.08 คิดเป็นร้อยละ 10.72

                     (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก ข)

 

              1.3 ผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/ สาขาวิชา/ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอน

                   ในระดับเขต/ประเทศ      

                               - คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/

                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับโรงเรียน/ประเทศ  ปีการศึกษาที่ผ่านมา

                                 (ปีการศึกษา  2558) = 21.94/24.98

                               - คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/

                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับโรงเรียน/ประเทศ  ปีการศึกษาที่ผ่านมา

                                 (ปีการศึกษา  2559) = 22.50/27.76    

                                 (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก ข)

 

              2. ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่น ๆ  

                    ให้รายงานในรอบ 2 ปีที่ทำการสอนในวิชาที่เสนอขอรับการประเมิน ดังนี้

                               2.1 ผู้เรียนในสาขา/ สาขาวิชา/ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เสนอขอ   

                                         - ปีการศึกษา 2559 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม จำนวน 84 คน     

                                         - ปีการศึกษา 2560 ที่ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม จำนวน 84 คน   

                                           รวมทั้งหมด จำนวน 168 คน

                                            (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก ข)

                               2.2 ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านสุขภาพ ร่างกาย อารมณ์ และสังคมตามหลักสูตร/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดี  

                                         - ปีการศึกษา 2559 จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 100

                                         - ปีการศึกษา 2560 จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 100

                                           (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก ข)

                               2.3 ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดี   

                                         - ปีการศึกษา 2559 จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 100

                                         - ปีการศึกษา 2560 จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 100

                                           (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก ข)

 

              3. ปริมาณและสภาพของงาน (ณ วันที่ยื่นคำขอรับการประเมิน)
                     3.1 ปริมาณงาน

                        - จำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์ 22 คาบ/สัปดาห์

                        - จำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์/สาขาวิชาและระดับชั้นที่สอน

                               1) ปฏิบัติหน้าที่สอนรายวิชา ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (ฟัง-พูด) 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

                               2) ปฏิบัติหน้าที่สอนรายวิชา ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) 2

                                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

                               3) ปฏิบัติหน้าที่สอนรายวิชา ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

                               4) ปฏิบัติหน้าที่สอนกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

                               5) ปฏิบัติหน้าที่สอนกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

                               6) ปฏิบัติหน้าที่สอนกิจกรรมชุมนุม ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

                               7) ปฏิบัติหน้าที่สอนกิจกรรมบูรณาการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

                               8) ปฏิบัติหน้าที่สอนกิจกรรมอมรมคุณธรรม จริยธรรม

                               (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก ค)

                        - จำนวนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)....-....ฉบับ

                           (สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ)  

                        - จำนวนผู้เรียนที่สอน  384  คน  

                        - จำนวนครั้งที่ผู้สอนใช้แหล่งเรียนรู้ประกอบการจัดกิจกรรมประจำวันต่อปี......-....ครั้ง             (สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ)

                        - ปฏิบัติงานอื่น  (ถ้ามี)  โปรดระบุ

                               1) ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานงานส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน        

                                         - ดูแลงานสภานักเรียน  

                               2) ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานเศรษฐกิจพอเพียง

                                         - ดูแลและจัดกิจกรรมบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงกับทุกกลุ่มสาระ

                                           การเรียนรู้

                               3) ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

                                         - ดูแลการประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร เสียงตามสายในโรงเรียน

                                          - ฝึกซ้อมนักเรียนในการเป็นพิธีกรกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน

                               4) ปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

                                         - อบรมนักเรียนในชั่วโมงโฮมรูม

                                         - ติดตามการขาด ลา มาสายของนักเรียนและดำเนินการแก้ไขพฤติกรรม                                           ดังกล่าว

                                         - ให้คำปรึกษาและชี้แนะแนวทางนักเรียน

                                         - จัดทำเอกสารประจำชั้น สมุดบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง  

                                           บันทึกการเรียนการสอน การคัดกรองนักเรียน ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล     

                                         - ออกเยี่ยมบ้านนักเรียน

                                         - การประสานติดต่อกับผู้ปกครอง

                              5) การปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

                                         - กำหนดแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับครูภายในกลุ่มสาระโดยจัดทำเป็นปฏิทินปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา

                                          - สำรวจหนังสือแบบเรียน ปรับปรุงอุปกรณ์การเรียนการสอน วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สำคัญสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

                                         - ตรวจสอบ รายงาน การนำส่ง ปพ.5 ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ   

                               6) การปฏิบัติหน้าที่ครูเวรประจำวันจันทร์

                                         - มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เวรกลางวัน ประจำวันจันทร์

                                         - ดำเนินการกิจกรรมหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนและก่อนกลับบ้าน

                                         - ดูแลความเรียบร้อยตามบริเวณรอบโรงเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย 

                                         - การลงบันทึกการมาโรงเรียนของนักเรียนที่มาสายในตอนเช้า  

                                         - และดูแลนักเรียนกลับบ้านตอนเลิกเรียน

                                         - บันทึกเวรเพื่อรายงานผู้บริหาร

                             7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย

                                         - เป็นคณะกรรมการดำเนินงานภายในโรงเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย

                                           (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก  ค)

              3.2 สภาพของงาน  

                               (    )  รับผิดชอบนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ  

                               (    )  รับผิดชอบนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษหลายประเภทความพิการ  

                                       และลักษณะอาการรุนแรง  

                               ()  รับผิดชอบนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ/วัฒนธรรม     

                               ()  สถานศึกษาตั้งอยู่บนพื้นที่ปกติ

                               (    )  สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาหรือเกาะหรือติดกับรอยตะเข็บชายแดน

                               (    )  สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ  เช่น  กันดาร  เสี่ยงภัย

                                       ตามประกาศของทางราชการ  เป็นต้น

 

          ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการที่เสนอเพื่อขอรับการประเมิน

                    1. เสนอขอผลงานทางวิชาการ จำนวน 1 เรื่อง ดังนี้

                               1) ชื่อผลงาน (งานวิจัย/งานวิจัยและพัฒนา) การพัฒนาการแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

                               2) ชื่อผลงานทางวิชาการอื่น …...-…

                               (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก ง)

 

                        2. ลักษณะการจัดทำ

                               ( ) จัดทำแต่ผู้เดียว จำนวน 3 รายการ ได้แก่

                                         1) การพัฒนาการแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 5

                                         2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน)

รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

                                         3) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

                                         (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก ง)

                               (     ) จัดทำร่วมกับผู้อื่นในรูปคณะทำงานหรือกลุ่ม จำนวน .......-...... รายการ 

                                       ได้แก่..............................................-..........................................................

                     3. การนำผลงานทางวิชาการไปใช้

                        ผู้ขอรับการประเมินได้จัดทำรายงานการพัฒนาการแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน)      รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน)      รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน)     รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 26 คน ซึ่งเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนมัธยมยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ 0.33 - 0.77 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.42-0.81 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.86  และ 4) แบบวัดความ  พึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษา   ปีที่ 5 ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.31 - 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (∝) เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent Samples t-test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

ผลการศึกษาพบว่า

          1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบKWL-Plus       วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.52/82.88 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

          2) ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6745 โดยที่นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 67.45

          3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษา   ปีที่ 5 มีคะแนนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม

(อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

          โดยสรุป การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบKWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน  และใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสำหรับครูต่อไป

 

              การนำไปใช้ประโยชน์

                     1. ได้นำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมยางสีสุราช    ปีการศึกษา 2560

                     2. ใช้เป็นเอกสารทางวิชาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

                     3. ใช้เป็นเอกสารรายงานการปฏิบัติหน้าที่ 

                     (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก ง)

 

                     4. การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

                                ผู้ขอรับการประเมินได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน  ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน)     รหัสวิชา อ32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พร้อมบทคัดย่อ การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ    เพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ่าน-เขียน) รหัสวิชา อ32201  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เผยแพร่ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ  ทั้งในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับการตอบรับผลงานทางวิชาการ จำนวน 13 โรงเรียน ดังนี้

                        1. โรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสาคาม สพม. เขต 26

                        2. โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสาคาม สพม. เขต 26

                        3. โรงเรียนบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสาคาม สพม. เขต 26

                        4. โรงเรียนบรบือวิทยาคาร อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสาคาม สพม. เขต 26

                        5. โรงเรียนวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสาคาม สพม. เขต 26

                        6. โรงเรียนนาเชือกพิทยาคม อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสาคาม สพม. เขต 26

                        7. โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสาคาม สพม. เขต 26

                        8. โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสาคาม สพม. เขต 26

                        9. โรงเรียนนาภูพิทยาคม อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสาคาม สพม. เขต 26         

                       10. โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ สพม. เขต 32

                         11. โรงเรียนอุดมอักษรพิทยาคม อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ สพม. เขต 32

                        12. โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสาคาม สังกัดองค์การบริหาร            ส่วนจังหวัดมหาสารคาม

                        13. โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสาคาม สังกัดองค์การบริหาร      ส่วนจังหวัดมหาสารคาม       

 

                        และเผยแพร่ผลงานผ่านเว็บไซต์ www. kroobannok.com 

                         (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก จ)

 

3. ผลงานทางวิชาการที่เคยได้รับอนุมัติ เพื่อกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น หรือให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะที่สูงขึ้น

                    (     )  มี                    ( )  ไม่มี

4. งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ ที่เคยเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อขอรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรหรือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม

                    ( )  มี                     (     )  ไม่มี

                             วิทยานิพนธ์ เรื่อง ผลการใช้การสอนแบบอรรถลักษณะเพื่อพัฒนาความสามารถ

และความคงทนในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 (Effects of Genre-based Approach to Improve Grade 11 Students’ Writing Ability and Retention)

                             (เอกสารอ้างอิงในภาคผนวก ฉ)

 

          ขอรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวข้างต้น  ถูกต้อง  และเป็นความจริง         

 

                                                   (ลงชื่อ)..................................................ผู้ขอรับการประเมิน

                                                             (นายสุทธิพงษ์  บรรยงค์)

                                                       ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

                                                         วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2561


การตรวจสอบและรับรองของผู้บังคับบัญชา

                     ได้ตรวจสอบแล้วรับรองว่าข้อมูลถูกต้อง  และเป็นความจริง

 

                                                   (ลงชื่อ) .....................................................ผู้บังคับบัญชาขั้นต้น

                                                                 (นายศักดา สวัสดิ์สละ)

                                                   ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมยางสีสุราช

                                                 วันที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2561 



 

จากคุณครูสุทธิพงษ์   บรรยงค์ 


โรงเรียนมัธยมยางสีสุราช


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 26

  

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้ 


สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ       











  

 

 

                                                                                                    

 


 

จากคุณครูสุทธิพงษ์   บรรยงค์ 


โรงเรียนมัธยมยางสีสุราช


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 26

  

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้ 


สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ  



https://drive.google.com/file/d/1k0jFbbqlmNYKXIx4EM6zadD5atFaYraT/view?usp=sharing


 

fullWidth
ใหม่กว่า เก่ากว่า