💖💖บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💖💖
ขอแนะนำไฟล์ คู่มือประเมิน ITA Online
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ
ความเป็นมาการประเมิน ITA Online
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(สำนักงานป.ป.ช.) ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการทุจริต
และเป็นกลไกในการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม
โดยใช้ชื่อว่า“การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Integrity and Transparency Assessment: ITA)”
เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)
ซึ่งถือเป็นการยกระดับให้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
ให้เป็น “มาตรการป้องกัน
การทุจริตเชิงรุก” ที่หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศจะต้องดำเนินการ
โดยมุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐ
ที่เข้ารับการประเมิน ได้รับทราบผลการประเมินและแนวทางในการพัฒนาและยกระดับหน่วยงาน
ในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมและที่ผ่านมาพบว่า
หลายหน่วยงานนำการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐไปเป็นกรอบในการพัฒนาและยกระดับการบริหารการจัดการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลเกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการและการอำนวยความสะดวกต่อประชาชน
ให้เข้าถึงการบริการสาธารณะด้วยความเป็นธรรมผ่านการปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐาน
มีการประกาศขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการอย่างชัดเจน นอกจากนี้
ในด้านบริหารจัดการในหน่วยงาน
ก็ยังพบว่าหน่วยงานให้ความสำคัญกับการป้องกันในประเด็นที่อาจเป็นความเสี่ยงหรือเป็นช่องทางที่อาจจะก่อให้เกิดการทุจริต
การรับสินบนหรือก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
และสามารถยับยั้งการทุจริตหรือผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเท่าทันสถานการณ์
ซึ่งเมื่อหน่วยงานภาครัฐ
ทั่วประเทศมีการป้องกันการทุจริตเชิงรุกในลักษณะดังกล่าว
ก็จะทำให้การทุจริตในภาพรวม
ของประเทศลดลงได้ในที่สุด ตลอดจนยังผลักดันให้เกิดทิศทางการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานภายในหน่วยงานในภาพรวมของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
การดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Integrity
and Transparency Assessment: ITA) ที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสำเร็จ
เป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมเป็นอย่างดี
และได้รับเสียงสะท้อนว่าการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐนั้น
เป็นเครื่องมือ
ที่ช่วยให้หน่วยงานที่รับการประเมินได้มีการตรวจสอบและสอบทานตนเอง
มีการปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในส่วนที่ยังขาดตกบกพร่อง
มีการพัฒนาระบบงานให้เกิดความโปร่งใส
มีการปรับปรุงการบริหารงานและการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรมทั้งต่อบุคลากร
ในหน่วยงานและต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
ได้ถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(พ.ศ. 2561
– 2580) โดยในระยะแรก(พ.ศ. 2561 – 2565) กำหนดค่าเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐที่มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์
(85 คะแนนขึ้นไป)
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นอกจากจะเป็นหน่วยงานระดับกรม
ที่รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานจากสำนักงาน ป.ป.ช. แล้ว
ยังเป็นหน่วยงานที่นำเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Integrity
and Transparency Assessment: ITA)
ไปขยายผลเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานในสังกัด
โดยการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
จำนวน 225 เขต อย่างต่อเนื่อง และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้พัฒนานวัตกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในรูปแบบออนไลน์
โดยมีแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมการประเมินด้วยระบบ ITA Online เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล
รวดเร็วในการวิเคราะห์
และประมวลผล โปร่งใสตรวจสอบได้ด้วยระบบเวลาจริง
(Real-time
system) และการประเมิน
มีประสิทธิภาพ ลดภาระงานด้านเอกสาร (Paperless)
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่รับการประเมินโดยปรับปรุงระบบการเก็บข้อมูลให้เป็นแบบออนไลน์เต็มรูปแบบ
ในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562
สำนักงาน ป.ป.ช. ได้พัฒนาเกณฑ์การประเมินให้เกิดการสนับสนุนต่อการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม
โดยได้สังเคราะห์ผลการวิจัยเรื่องแนวทางการปรับปรุงและแนวการพัฒนาเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
เพื่อนำไปสู่การยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption
Perceptions Index: CPI)
ของประเทศไทยให้สูงขึ้น
และพัฒนาเกณฑ์การประเมินให้สามารถป้องกันการทุจริตเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งมีการบูรณาการเครื่องมือส่งเสริมด้านคุณธรรมและความโปร่งใสจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เป็นไป
ในทิศทางเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อนของการดำเนินการ และมุ่งเน้นการร่วมดำเนินการขับเคลื่อนด้านธรรมาภิบาลในภาพรวมของประเทศ ส่งผลให้หน่วยงานราชการที่ได้รับการประเมิน
ได้ประโยชน์
จากการประเมิน และนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
และได้รับประโยชน์ในมุมของการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร โดยเฉพาะการแสดงให้สังคม
และสาธารณชนรับรู้ว่าหน่วยงานให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลและการป้องกันการทุจริต
ในหน่วยงานอย่างไร และการดำเนินการดังกล่าว
ไม่เป็นต้นทุนหรือภาระของหน่วยงานมากเกินไป
รวมทั้งต้องไม่เป็นภาระกับบุคคลที่เข้าร่วมกระบวนการประเมินด้วย
ทางการประเมินเช่นเดียวกับปีงบประมาณที่ผ่านมา
เพื่อให้สถานศึกษาที่เข้ารับการประเมิน ได้ทราบผลการประเมินตลอดจนข้อเสนอแนะที่จะนำไปสู่
การปรับปรุงพัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานอย่างเชื่อมโยงและต่อเนื่อง
โดยมีการเก็บข้อมูลจาก 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การเก็บข้อมูลจากบุคลากรในสถานศึกษา
(Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT) โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับที่ปฏิบัติงานมาได้มีโอกาสสะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อคุณธรรมและความโปร่งใสของสถานศึกษาตนเอง
โดยสอบถามการรับรู้และความคิดเห็นใน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่
ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่
ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ
ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ
ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ
ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต
ส่วนที่
2 การเก็บข้อมูลจากผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อสถานศึกษา
(External Integrity and Transparency Assessment : EIT) โดยเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อสถานศึกษา
ได้มีโอกาสสะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา
โดยสอบถามการรับรู้และความคิดเห็นใน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่
ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน
ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร
ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน
ส่วนที่ 3 การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ของสถานศึกษา
(Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT) เป็นการตรวจสอบระดับการเปิดเผยข้อมูล
ของสถานศึกษา ที่เผยแพร่ไว้ทางหน้าเว็บไซต์หลักของสถานศึกษา โดยมีคณะที่ปรึกษาการประเมินเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลและให้คะแนน
พร้อมข้อเสนอแนะตามหลักเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
แบ่งออกเป็น 2 ตัวชี้วัด
ได้แก่
ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงาน
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.3 การบริหารเงินงบประมาณ
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใส
ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต
ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.1 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.2 มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
แต่เนื่องจากด้วยมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และทุกจังหวัดทั่วประเทศ
เป็นผลให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 รวมทั้งการปรับลดเวลาและวันทำงานของบุคลากรในสังกัด
เพื่อป้องกัน ควบคุมและจำกัดการแพร่ระบาด
ตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(โควิด-19) โดยให้บุคลากรและหน่วยงานในสังกัดจัดบุคลากรหมุนเวียนมาปฏิบัติงาน
ณ สถานที่ทำงานมอบหมายงานให้บุคลากรในสังกัดปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย เลื่อนการจัดประชุม การฝึกอบรม
หรือการสัมมนาต่าง ๆ ออกไป
งดการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมใดๆ ที่ต้องมีการรวมกลุ่ม
และปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) อย่างเคร่งครัด การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์
จึงต้องมีการปรับแผนการดำเนินกิจกรรมให้สอดรับการสถานการณ์
เพื่อสนองตอบมาตรการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวข้างต้น
โดยปรับรูปแบบจากการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์ (ITA Online) เปลี่ยนไป
-
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมิน ITA ให้กับสถานศึกษาเพื่อเตรียมรับการประเมิน ITA Online
- การส่งเสริมและสนับสนุน
ให้สถานศึกษามีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
บนเว็บไซต์ของสถานศึกษาเพื่อเปิดเผยข้อมูลและการดำเนินการต่างๆ
ของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับแบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data
Integrity and Transparency Assessment : OIT)
ให้สาธารณชนได้รับทราบ
- การปรับปรุงและพัฒนาระบบการประเมิน ITA Online ระดับสถานศึกษา
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลต่อ
การกำหนดกลไกและกระบวนการในการขับเคลื่อนแนวทางการประเมิน ITA
Online ในปีนี้
โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้ออกแบบระบบเพื่อให้สามารถรองรับ
การประเมินสถานศึกษา
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการนำผลที่ได้จากการประเมิน ITA Online มาใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาหน่วยงานในอนาคต
ขอแนะนำไฟล์ คู่มือประเมิน ITA Online
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ
ดาวน์โหลดไฟล์ คู่มือประเมิน ITA Online
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ