เผยแพร่รายงานการวิจัย 5 บท วิชาสังคมศึกษา

 




💓💓บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💓💓



 

จากคุณครูสุขณิชชา   ปินะถา  


โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์


เป็นไฟล์ PDF  สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ


ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ โดยใช้วิธีการสอน แบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์

ชื่อผู้วิจัย นางสุขณิชชา ปินะถา

ปีการศึกษา 2564

บทคัดย่อ

         การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ โดย ใช้วิธีการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียน นาดูนประชาสรรพ์มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์จำนวน 30 คน เครื่องมือ ที่ใช้ใน การวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ และแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ โดยมีการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าความสอดคล้อง ค่าความยากง่ายแบบทดสอบ ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น

         ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ11.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตร ฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.657 และค่าเฉลี่ยของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 20.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.948 เมื่อเปรียบเทียบ ด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples) พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์คะแนนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

         สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ว่ามนุษย์ดำรงชีวิตอย่างไร ทั้งในฐานะ ปัจเจกบุคคล และการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างจำกัด นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตาม เหตุปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความ แตกต่าง และมีคุณธรรม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคมโลก (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551: 132) ทั้งนี้เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตนเองกับ บริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่ เหมาะสมได้ จึงได้กำหนดสาระต่างๆไว้5 สาระ ดังนี้สาระที่ 1 พระพุทธศาสนา สาระที่ 2 หน้าที่ พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551: 132 - 133)

         การเรียนการสอนภูมิศาสตร์ เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกที่มีความสัมพันธ์กับ ที่ตั้ง ระบบธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เพื่อ นำไปสู่การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและการตัดสินใจ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ ยั่งยืนในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก (จักรกฤษณ์ ต่อพันธ์, 2560: 4) ดังนั้นการเรียนการสอน ภูมิศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญ แต่นักเรียนมักเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ขาดความกระตือรือร้น และไม่เห็น ความสำคัญที่จะเรียนวิชานี้ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากวิชาภูมิศาสตร์เป็นวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาก ซับซ้อน ต้องใช้การวิเคราะห์แต่ครูมักใช้วิธีการบรรยาย อีกทั้งครูเน้นการสอนตามหนังสือเพื่อให้รู้ว่า ประเทศนี้อยู่ที่ใดในแผนที่ แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านประเทศใดบ้าง การมีความรู้ในที่ตั้งของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นเพียงการทำความเข้าใจภูมิศาสตร์ทางกายภาพ แต่สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจต่อจากนั้นคือ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไร (สิรินยา หอศิลาชัย, 2552: 10) ผลที่ตามมาคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ค่อนข้างต่ำ เพราะครูยังขาดวิธีการสอนที่ทันสมัย โดยเฉพาะวิธีการสอนที่เน้นให้นักเรียนท่องจำเพื่อนำไปสอบ ทำให้ในชีวิตจริงนั้นไม่สามารถนำความรู้ ที่เรียนมาต่อยอดหรือประยุกต์ใช้ในแต่ละสถานการณ์ได้        

         ครูผู้สอนนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือ นักเรียน ในการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าการนำกระบวนการทางภูมิศาสตร์เป็น แนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนมีผลการเรียนสูงขึ้น การจัดการเรียนการสอนด้วย กระบวนการทางภูมิศาสตร์เป็นการส่งเสริมให้เกิดพัฒนาทักษะการสังเกต ทักษะการแปลความข้อมูล ทางภูมิศาสตร์ การใช้เทคโนโลยีและการสถิติพื้นฐาน เพื่อนำมาสู่ข้อสรุปที่เป็นองค์ความรู้ที่เป็นการ เรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียน โดยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การตั้งคำถามเชิงภูมิศาสตร์ การรวบรวมข้อมูล การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์และแปรผลข้อมูลและ การสรุปเพื่อตอบคำถาม (สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษา 2 ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, 2560: 5) ถ้าหากได้ทำตามการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวแล้วจะ สามารถทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้นได้

         จากสภาพปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคม ศึกษา สาระภูมิศาสตร์เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ โดยใช้วิธีการสอนแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ เพื่อเป็นแนวทางในการในการ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ให้กับผู้เรียน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

         เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการทาง ภูมิศาสตร์

สมมติฐานของการวิจัย

         นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา สังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ขอบเขตของการวิจัย

         1. ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 จำนวน 30 คน โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ

         2. ขอบเขตด้านตัวแปร

           2.1 ตัวแปรต้น คือ การสอนโดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์

           2.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้

         3. ขอบเขตด้านเนื้อหา

             เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย คือ วิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ จำนวน 1 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่

             หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ทวีปอเมริกาใต้ประกอบด้วย 5 เรื่อง ได้แก่

             เรื่องที่ 1 ที่ตั้ง ขนาด อาณาเขต และลักษณะทางกายภาพ

             เรื่องที่ 2 ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ

             เรื่องที่ 3 ลักษณะประชากรทวีปอเมริกาใต้

              เรื่องที่ 4 ทรัพยากรธรรมชาติในทวีปอเมริกาใต้

              เรื่องที่ 5 ลักษณะทางเศรษฐกิจทวีปอเมริกาใต้

         4. ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ในการดำเนินการวิจัย คือ โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษามหาสารคาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ  

         5. ขอบเขตด้านระยะเวลา

            ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ ธันวาคม 2564– มีนาคม 2565โดยระยะเวลาที่ใช้ ในการดำเนินการทดลอง คือ ปีการศึกษา 2/2564




 

จากคุณครูสุขณิชชา   ปินะถา  


โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์


เป็นไฟล์ PDF  สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ















 



 

จากคุณครูสุขณิชชา   ปินะถา  


โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์


เป็นไฟล์ PDF  

 

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ


https://drive.google.com/file/d/1XZBEbxtmMYdYRHy6o2UEfH2sRL3ZSivb/view?usp=sharing 



ใหม่กว่า เก่ากว่า