รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนางานตามข้อตกลง PA1





💓💓บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💓💓



 

จากคุณครูศิรวิชญ์   ศรีเขียว  


โรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

  

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ



 รายงานผลการดำเนินงาน

การพัฒนางานตามข้อตกลง (Performance Agreement : PA)

ระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2565

ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน

ด้านที่ 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ 

1.1 การสร้างและพัฒนาหลักสูตร

- จัดทำหลักสูตรและโครงสร้างหลักสูตรรายวิชา อ23102เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง ฯ และเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านเภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
         
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดการเรียนรู้แบบไซน์โพสต์เพื่อพัฒนาทักษะอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ซึ่งเกิดจากครูผู้สอนปรับประยุกต์กระบวนการเรียนรู้ขึ้นมา

- ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการต่อยอดในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (CLT) ได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าได้ปรับประยุกต์ รายวิชา และหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามรูปแบบกิจกรรมการอ่านแบบไซน์โพสต์ ตามเอกสารหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศและโครงสร้างรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 รหัสวิชา อ23102

1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้

- ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการถามแบบไซน์ โพสต์และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2561) ในรายวิชาภาษาต่างประเทศ

- จัดการวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด นำไปใช้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการถามแบบไซน์ โพสต์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าปรับประยุกต์วิธีการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-center & Active Learning)ในรายวิชาอังกฤษพื้นฐาน รวมทั้งประยุกต์รูปแบบการจัดกิจกรรม Signpost Question (ศิรวิชญ์, 2564) ซึ่งเป็นวิธีการจัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้ ฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่ได้เรียนในแต่ละคาบ

1.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้

จัดกิจกรรมการถามแบบไซน์ โพสต์โดยใช้รูปแบบการสอนของ Williams และใช้กิจกรรมการอ่านของ Nuttall มาจัดกิจกรรมในชั้นเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และพัฒนาให้ผู้เรียนมี ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งการเป็นพลเมืองของสากลโลก

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าประยุกต์รูปแบบกิจกรรมการอ่านแบบไซน์ โพสต์ ให้เข้ากับรูปแบบการเรียนรู้แบบ onsite และ online โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมดังนี้

ขั้นที่ 1 : Pre-reading Stage : ขั้นกระตุ้นเร้าความสนใจของผู้เรียนผ่านคำถาม ถ่ายทอดความรู้คำศัพท์และไวยากรณ์ รวมทั้งทำความเข้าใจบทความโดยย่อจากกิจกรรม Skimming and Scanning แบบกลุ่มผ่านใบงานที่ 1 และการอภิปราย

ขั้นที่ 2 : While-reading Stage : ขั้นการอ่านของนักเรียนซึ่งเป็นการอ่านทีละย่อหน้า (Section-by-Section) และทำความเข้าใจแต่ละย่อหน้าผ่านใบงานที่ 2 และการอภิปราย

ขั้นที่ 3 : Post-reading Stage : ขั้นการทำความเข้าใจบทอ่านเป็นภาพรวมผ่านใบงานที่ 3 รวมทั้งสรุปความเข้าใจบทอ่านด้วยตนเองผ่านใบงานที่ 4 และแบบทดสอบความเข้าใจบทอ่าน

1.4 สร้างและหรือพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้

โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนพัฒนาขึ้นเองในแพลทฟอร์ม Canva, Padlet, Quizziz., Tiktok และอื่น ๆ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าได้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีความหลากหลายในการเรียนรู้ ทำกิจกรรมทำแบบทดสอบ และวัดและประเมินผลด้านต่าง ๆ อาทิ เช่น

- Quizziz, EF Set และ Google Form เพื่อใช้วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

- 16 Personalities เพื่อประเมินบุคลิกและความแตกต่างของผู้เรียน

- Canva เพื่อออกแบบสื่อการเรียนรู้ให้มีความน่าสนใจ และสอนให้ผู้เรียนออกแบบชิ้นงาน

- TikTok และ CapCut เพื่อทำงานนำเสนอแบบง่าย 

1.5 วัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ จากสภาพจริงของนักเรียนโดยใช้แบบประเมินทักษะการอ่าน (Reading Comprehension Ability Test) และวัดและประเมินการเรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การทำงานกลุ่ม การนำเสนอ การสื่อสารด้วยสัญลักษณ์และภาษาอังกฤษ การทดสอบและพิจารณาจากชิ้นงานของนักเรียน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าได้พัฒนารูปแบบการวัดและประเมินทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยแบบวัดทักษะ รวมทั้งประเมินชิ้นงานของนักเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อประเมินทักษะการอ่าน ผลสัมฤทธิ์ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

1.6 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้

ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ข้อมูลที่ได้รับการบันทึกหลังการสอน และทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลการเรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเป็นรายบุคคล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าได้นำบันทึกการจัดการเรียนรู้มาออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียน อีกทั้งยังได้นำผลการประเมิน 16 Personalities มาใช้ในการออกแบบบรรยากาศในชั้นเรียนให้มีความหลากหลาย

1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

มีการจัดบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้และปรับหน้าที่จากครูผู้สอนเป็นผู้จัดการเรียนรู้ (Facilitator) โดยลดช่องว่างระหว่างครูและผู้เรียน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ กิจกรรม และการวัดและประเมินผล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าได้จัดให้มีบรรยากาศในการเรียนเรียนการสอนที่มีผลการต่อการใช้ภาษาอังกฤษแบบ Suggestopedia ซึ่งอำนวยให้ผู้เรียนใช้ภาษาโดยการชี้แนะ และสร้างบรรยากาศแบบ free-mistakes ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความผ่อนคลายในการเรียนรู้

1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

สอดแทรกคุณธรรม ระเบียบวินัย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในกิจกรรมการเรียนการสอน ผ่านบทเรียนและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าได้ปรับประยุกต์รูปแบบการวิธีการสอนให้นักเรียนคุ้นชินกับ native accent ในภาษาอังกฤษ รวมทั้งสอดแทรกเนื้อหาที่มีความเป็นพลเมืองโลกลงในขั้นตอนการเรียนรู้ของผู้เรียน

          ร่องรอยเอกสารประกอบตัวชี้วัดที่กล่าวไว้ในข้อตกลงด้านที่ 1

- ผู้เรียนร้อยละ 60 มีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจผ่านเกณฑ์การประเมิน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ผู้เรียนร้อยละ 96.78 มีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยผ่านเกณฑ์การ

ประเมินร้อยละ 70 ซึ่งทดสอบโดยใช้แบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

ด้านที่ 2) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน การจัดการเรียนรู้

2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา

จัดทำข้อมูลสารสนเทศของรายวิชาภาษาอังกฤษ โดยคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อนำไปออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศที่ผู้เรียนเข้าถึงได้

          ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน จากนั้นทำการบันทึกและประเมินผลการเรียนรู้ โดยแยกออกตามตัวชี้วัดของรายวิชา จากนั้นนำผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นไปสะท้อนผลให้ผู้เรียนทราบซึ่งผู้เรียนสามารถทรายได้ทางระบบ SGS และ Report ต่าง ๆ ผ่านช่องทางติดต่อ พร้อมทั้งนำไปออกแบบ/ปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ใน Cycle ถัดไปตามกระบวนการ PAOR

2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โดยบันทึกข้อมูลส่วนตัวผ่านระบบออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อบันทึกศึกษาความแตกต่างของผู้เรียนในห้องเรียน

          ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าทำการศึกษาตัวตนของผู้เรียน และพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านระบบ 16 Personalities รวมทั้งดำเนินการช่วยเหลือผู้เรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ด้วยการลงพื้นที่แจกเอกสารให้กับผู้เรียน รวมทั้งศึกษาและจัดทำข้อมูลของผู้เรียนลงในระบบเยี่ยมบ้าน และการประเมิน SDQ 

2.3 ปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา

- ปฏิบัติหน้าที่ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และร่วมกับคุณครูจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนโดยใช้สื่อ ที่ครูสร้างขึ้น ร่วมกับเทคโนโลยีทางการศึกษา ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของสถานศึกษา

- ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่งานวัดและประเมินผล และงานสารสนเทศฯ กลุ่มบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเพื่อออกแบบรูปแบบการวัดผล และระบบสารสนเทศให้เหมาะสมกับสถานการณ์รวมทั้งบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของสถานศึกษา

          ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าและคณะครูกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศได้ดำเนินการกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันคริสต์มาส วันตรุษจีนและเทศกาลอาหารนานาชาติให้กับนักเรียนทุกคนในโรงเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นการให้ความรู้และสร้างความสนุกสนานให้กับผู้เรียน ซึ่งเกิดกระบวนการ PLC ภายในกลุ่มสาระฯ อีกทั้งได้ปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายบริหารงานวิชาการในตำแหน่ง “เจ้าหน้างานวัดและประเมินผล” และ “เจ้าหน้าที่งานสารสนเทศการศึกษา” เพื่อพัฒนาระบบวัดและประเมินให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยใช้ระบบ Google Suite for Education มาใช้ในการรับส่งเอกสารและทำข้อสอบแบบออนไลน์ อีกทั้งพัฒนาระบบการจัดทำ ปพ. 5 แบบออนไลน์เพื่อลดภาระการใช้เอกสารในโรงเรียน

2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และ/หรือสถานประกอบการ เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียน

ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โดยบันทึกข้อมูลส่วนตัวผ่านระบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Form รวมทั้งระบบการประเมิน 16 Personalities รวมทั้งสร้างช่องสื่อสารให้ผู้เรียนและผู้ปกครองสามารถติดต่อครูผู้สอนได้ตลอดเวลา

          ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าติดต่อประสานงานกับผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมและทราบปัญหาความต้องการต่าง ๆ อีกทั้งแนะแนวทางการศึกษาต่อ การพัฒนาทักษะโดยใช้ extensive tasks เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตนเองให้ดีขึ้น

ร่องรอยเอกสารประกอบตัวชี้วัดที่กล่าวไว้ในข้อตกลงด้านที่ 2

- นักเรียนร้อยละ 70 ได้รับพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ผู้เรียนร้อยละ 96.78 มีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจผ่าน โดยผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 70 เกณฑ์ ซึ่งทดสอบโดยใช้แบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

- นักเรียนร้อยละ 100 ได้เข้าร่วมกิจกรรมการถามแบบไซน์โพสต์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ผู้เรียนร้อยละ 100.00 ของชั้น ม. 3/1 ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการถามแบบไซน์โพสต์ในปีการศึกษา 2564  

- นักเรียนร้อยละ 70 ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้จัดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ผู้เรียนร้อยละ 100.00 ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้จัดขึ้นตามแบบรายงานโครงการต่าง ๆ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศในปีการศึกษา 2564

- นักเรียนร้อยละ 80 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครูอยู่ในระดับมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ผู้เรียนมีเจตคติต่อวิธีการสอนและครูอยู่สอนอยู่ในระดับ 4.52 หรือดีมาก

ด้าน 3 )ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องฯ

พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยการอบรมกับหน่วยงานที่จัดการอบรมเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษ และเทคนิคการสอนต่าง ๆ ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการที่หน่วยงานภายในและภายนอกจัดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าได้เข้าศึกษาต่อและสำเร็จการศึกษาในระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่น (TESOL) เพื่อนำความรู้มาพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นตามมาตรฐาน CEFR และตามหลัก CLT อีกทั้ง ได้เป็นเข้าร่วมและเป็นวิทยากรในการอบรมต่าง ๆ ในด้านการสอนภาษาอังกฤษ และการเป็นพลเมืองโลก เช่น การเป็นวิทยาการอบรม Active Learning ในจังหวัดร้อยเอ็ดผ่านระบบออนไลน์, การเป็นวิทยากรการอบรมของกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศของครูกลุ่มสาระต่างประเทศ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา, การเป็นคณะทำงานของ สพฐ. ในโครงการ Native Speaker, และการเป็นคุณครูแกนนำในการอบรมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ OBEC Young Leaders for SDGs 

3.2 มีส่วนร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

มีส่วนในการเป็นเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ระดับสายชั้นและกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ และผ่านกิจกรรมนิเทศ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าได้เข้าแลกความคิดผ่านทางชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพระดับกลุ่มสาระฯ กลุ่มงานของโรงเรียน และเขตพื้นที่การศึกษาอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้อื่นมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศของชั้นเรียน และสภาพปัญหาต่าง ๆ ทีเกิดขึ้นกับผู้เรียนในช่วงการระบาดและหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 

3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการ จัดการเรียนรู้

นำผลจากกิจกรรม PLC มาสร้างเป็นสื่อ นวัตกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งแก้ไขนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ข้าพเจ้านำความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาพัฒนาระบบต่าง ๆ ที่ดูแลในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น อีกทั้งร่วมออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ของเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อมาแก้ไขพัฒนาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนต่าง ๆ ของ สพม. เลย หนองบัวลำภู

ร่องรอยเอกสารประกอบตัวชี้วัดที่กล่าวไว้ในข้อตกลงด้านที่ 3

- นักเรียนร้อยละ 100 ได้เข้าร่วมกิจกรรมการถามแบบไซน์โพสต์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ผู้เรียนร้อยละ 100.00 ของชั้น ม. 3/1 ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการถามแบบไซน์โพสต์ในปีการศึกษา 2564  

- นักเรียนร้อยละ 75 ได้รับพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ผู้เรียนร้อยละ 96.78 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา อ23102 (นักเรียนชั้น ม. 3/1 ปีการศึกษา 2564) เป็นไปตามค่าเป้าหมายของโรงเรียน (ผลการเรียน 2.0ขึ้นไป) ดังเอกสารแนบท้าย

- แบบบันทึกการเยี่ยมชั้นเรียนผ่าน S-MORE Model

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แบบบันทึกการเยี่ยมชั้นเรียนในระบบ S-MORE (อำนาจ โสภากุล, 2565)

 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กิจกรรมการถามแบบไซน์ โพสต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

ข้าพเจ้าได้มีวิธีการดำเนินการให้บรรลุผลตามประเด็นท้าทายดังต่อไปนี้

2.1 ขั้นวางแผน (Plan)

                              - วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) หลักสูตรสถานศึกษา และเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องของกิจกรรมการถามแบบไซน์ โพสต์และการจัดทำสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา

                             - ทำการศึกษาบริบทของสถานศึกษา ปัญหาที่พบในชั้นเรียน และความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำมาประกอบในการร่างแผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมที่จะใช้ในชั้นเรียน

                              - ทำการวางแผนการใช้งบประมาณและทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ อ23102

2.2 ขั้นลงมือปฏิบัติ (Act)

                              - จัดทำโครงร่างของเนื้อหาเอกสารหลักสูตร โครงสร้างรายวิชา กำหนดการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับรายวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ออกมาให้รูปแบบ 12 แผนการจัดการเรียนรู้ (3 วงจร) ข้อสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จำนวน 40 ข้อ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ

                             - คณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ในเนื้อหา การเฉลยของตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไขผ่านกระบวนการ PLC ภายในกลุ่มสาระฯ

                           - นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ทั้งในรูปแบบ flipped classroom โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 12 คาบ 6 สัปดาห์

2.3 ขั้นสังเกตและบันทึกผล (Observe)

                            - สำรวจความเห็นและให้นักเรียนสะท้อนผลการเรียนรู้ และนำประเด็นที่นักเรียนต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมมาพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

                          - ดำเนินการสอบวัดทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ในเวลา 1 ชั่วโมง

                           - ดำเนินการวัดเจคคติของนักเรียนในชั้นเรียน

2.4 ขั้นสะท้อนผลและปรับปรุง (Reflect)

                       - บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ

- นักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนและ

การสอนซ่อมเสริม สำหรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา และทำการทดสอบใหม่ให้นักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดพร้อมนำข้อมูลที่ได้ไปรับไปออกแบบกิจกรรมในลูปต่อไป

                     - นำผลการเรียนรู้และความคิดเห็นของผู้เรียนมาสะท้อนผลในกระบวนการ PLC ของสถานศึกษา และนำผลลัพธ์ที่ได้ไปปรับปรุงและออกแบบในกระบวนการในขั้นต่อไป

ผลลัพธ์ของการพัฒนาตามประเด็นท้าทาย

3.1 เชิงปริมาณ

                     นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 31 คน ได้รับการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยมีคะแนนทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากขึ้นไป (ค่าเฉลี่ย 3.50)

3.2 เชิงคุณภาพ

                     นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้ร่วมออกแบบกระบวนการเรียนรู้กับครูผู้สอน ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งมีความเป็นพลเมืองโลกซึ่งเกิดจากเนื้อหาของรายวิชาที่นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการออกแบบบทเรียนกับครูผู้สอน





 

จากคุณครูศิรวิชญ์   ศรีเขียว  


โรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

  

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ












 



ดาวน์โหลดไฟล์ รายงานผลการดำเนินงาน


 

จากคุณครูศิรวิชญ์   ศรีเขียว  


โรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

  

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ


https://docs.google.com/document/d/1u2LxVsTU3vKhLYk-z_UoJNQDfPNvnasX/edit?usp=sharing&ouid=106872878421040230671&rtpof=true&sd=true 


 


ใหม่กว่า เก่ากว่า