🎯🎯บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้🎯🎯
ขอแนะนำไฟล์ แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(ก.ค.ศ.3)
จากคุณครูปริยากร ครูทำนา
โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ
แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการขอมีวิทยฐานะชำนาญการ
สายงานการสอน
สาขาคณิตศาสตร์
1. ข้อมูลผู้ขอรับการประเมิน
ชื่อ นางสาวปริยากร นามสกุล ครูทำนา
ตำแหน่ง
ครู ตำแหน่งเลขที่ ………..
อายุ …….
ปี …… เดือน อายุราชการ 8 ปี
สถานศึกษา/หน่วยงาน
โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม อำเภอ/เขต
เทพสถิต
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 30
ส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ. 1 ขั้น 25,240 บาท
2.
ผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3)
รายงานข้อมูลตามหัวข้อที่กำหนด
และแนบเอกสารหลักฐานอ้างอิงแต่ละข้อ เพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้
ส่วนที่ 1
ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.1.1 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
- คะแนนทีเฉลี่ย (Average T score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
= 52.72
- คะแนนทีเฉลี่ย (Average T score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
= 60.46
-
คะแนนทีเฉลี่ย เพิ่มขึ้น เท่ากับ 7.74 คิดเป็นร้อยละ 14.68
1.1.2
คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2558 และ
ปีการศึกษา
2559
-
คะแนนทีเฉลี่ย (Average T-score)
ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
= 47.68
-
คะแนนทีเฉลี่ย (Average T-score)
ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
= 51.39
-
คะแนนทีเฉลี่ย เพิ่มขึ้น เท่ากับ 3.71 คิดเป็นร้อยละ 7.77
1.1.3
ผลการประเมินและ/หรือการทดสอบของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ในระดับเขต/ประเทศ ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559
-
คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชา คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 เท่ากับ 27.95
-
คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชา คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 เท่ากับ 28.81
-
คะแนนเฉลี่ย เพิ่มขึ้น เท่ากับ 0.86
คิดเป็นร้อยละ 3.08
2.
ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่นๆ
ในรอบ 2
ปีที่ทำการสอนในวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีดังนี้
2.1 นักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน
รหัสวิชา ค23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 จำนวน 83 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 139 คน รวมทั้งสิ้น
222 คน
2.2 นักเรียนมีการพัฒนาด้านสุขภาพ
ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมตามหลักสูตร และตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดี จำนวน 222
คน คิดเป็นร้อยละ 100
2.3 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดีเยี่ยม
จำนวน 120 คน
คิดเป็นร้อยละ 54.05 และระดับดี จำนวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ
45.95
ส่วนที่ 2
รายงานการสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ตามหัวข้อดังนี้
2.1 ปัญหาและขอบเขตของปัญหา
ในปัจจุบันการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีปัญหาหลาย ๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคิด วิเคราะห์ การแก้โจทย์ปัญหา หรือวัฒนธรรมของวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน
สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป และนักเรียนแต่ละคนก็มาจากครอบครัวที่ต่างกัน
ความคิดความอ่านและความเอาใจใส่ในการเรียนก็แตกต่างกันด้วย
นักเรียนบางคนขาดความรับผิดชอบในการทำงานหรือทำงานไม่เรียบร้อย ไม่ตั้งใจเรียนและไม่ชอบในรายวิชาเนื่องจากวิชาคณิตศาสตร์
เป็นวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการคำนวณมากและเป็นการศึกษาหาความรู้กับสิ่งที่ไกลตัวจับต้องไม่ได้
นักเรียนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ค้นคว้าและไม่เห็นประโยชน์ จึงไม่ชอบและไม่สนใจเรียน
มักจะพูดคุยเล่นกันในเวลาเรียนหนังสือ ไม่ชอบทำการบ้านเอง ลอกเพื่อนบ้าง
อาจจะมาจากนักเรียนไม่มีเวลาทำการบ้าน หรือไม่ทำการบ้านเลย เพราะเกียจคร้านหรือเพราะต้องช่วยงานผู้ปกครอง
เป็นต้น
จากปัญหาต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
ทำให้ผลการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเฉพาะในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน
ไม่ดีเท่าที่ควร
ซึ่งปัญหานี้ควรจะทำการศึกษาและหาทางแก้ไขอย่างยิ่ง เนื่องจากวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญหลัก
เพราะทำให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุขและเข้าใจปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
มีความรู้ความสามารถเท่าเทียมกับเยาวชน มีความเชื่อมั่นในตนเอง
อันจะช่วยให้นักเรียนใช้ในการศึกษาหาความรู้ และทำงานในอนาคตของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมต่อไป
ด้วยเหตุนี้ผู้ขอรับการประเมินจึงต้องการศึกษา ค้นคว้า
ทดลอง
หาแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นต่อไป โดยใช้ระบบการวัดผลและประเมินผลอิงมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ที่ประกอบด้วย
1.
สื่อประกอบการเรียนการสอนรายชั่วโมง
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอน
3. แผนการสอนที่สามารถใช้ปฏิบัติการสอนได้ตามเวลาที่กำหนด
4.
ระบบการวัดผลประเมินผลที่มีลักษณะดังนี้
4.1 สามารถวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงจากสมรรถภาพของผู้เรียน
หรือวัดผลและประเมินผลอิงมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ตามแนวทางของคู่มือวัดผลประเมินผลของสถานศึกษา
4.2
สามารถนำรายละเอียดจากผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยผู้เรียนได้ ตลอดจนช่วยกำกับ
ติดตามผู้เรียนในการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนอย่างทันท่วงที
4.3
สามารถส่งข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของผู้เรียนได้อย่างถูกต้องสะดวกรวดเร็ว
4.4
สามารถตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้สอนและผู้เรียนได้พร้อมกัน
2.2
รูปแบบ เทคนิค วิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนา
ผู้ขอรับการประเมินได้ดำเนินการสร้างระบบการวัดผลและประเมินผลอิงมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนประกอบด้วย
1. แบบเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ประกอบด้วย
1.1 แบบเรียนของ สสวท.
1.2 ใบความรู้เพิ่มเติม
1.3 ใบงาน
2.
การสร้างแผนการสอน (รายชั่วโมง) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนำเนื้อหาสาระมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆเช่นในหนังสือแบบเรียน แบบฝึกหัดเพิ่มเติม อินเตอร์เน็ต และสื่อต่างๆ และสอดแทรกข้อมูลในชุมชนเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาจากสภาพจริง
3.
การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4. การสร้างกำหนดการสอน
5. สร้างเกณฑ์การประเมินผลตามสภาพจริงจากสมรรถภาพของผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ร่วมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
6. ส่งเสริมให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
7. สร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนการสอนโดยส่งเสริมให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
2.3 การนำรูปแบบเทคนิคการแก้ปัญหาไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาและผลที่เกิดขึ้น
เมื่อทราบถึงข้อบกพร่องของนักเรียน
ครูผู้สอนจะสามารถพัฒนาการสอนคณิตศาสตร์ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
และสามารถวางแผนจัดการการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพความบกพร่องของนักเรียนแต่ละคนได้ ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างเต็มศักยภาพ
สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้น ปรากฏว่านักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีความกระตือรือร้นในการเรียนและการทำกิจกรรมกลุ่ม ในสาระต่างๆ
ซึ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ (ทีเฉลี่ย) ทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้น
จากเดิม 52.72
เป็น 60.46
2.4 ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาและพัฒนาในอนาคต
2.4.1. ขอให้โรงเรียนจัดกิจกรรมวันวิชาการ
เพื่อให้นักเรียนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาเรียนต่างๆ
2.4.2. ปรับบรรยากาศในชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
2.4.3. ให้โรงเรียนจัดโครงการมอบรางวัลแก่นักเรียนเรียนดี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียน
ส่วนที่
3 ปริมาณและสภาพของงาน (ณ วันที่ยื่นคำขอรับการประเมิน)
3.1
ปริมาณงาน
- จำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์ 22 ชั่วโมง
- วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค23102
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
- วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค31202
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมติวตลอดภาคเรียน จำนวน 2
ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ จำนวน 2
ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมแนะแนว/เพศศึกษา จำนวน
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรม PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้ จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมชุมนุม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมลูกเสือวิสามัญ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมสวดมนต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
-
จำนวนผู้เรียนที่สอน 141 คน
- ปฏิบัติงานอื่น
งานพิเศษอื่นที่ปฏิบัติได้แก่
1. ครูที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1
2.
ปฏิบัติหน้าที่เวรยามสถานศึกษา ตอนกลางวัน
3.
ปฏิบัติหน้าที่กรรมการและเลขานุการ
กลุ่มบริหารงานวิชาการ
4. ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานนิเทศการสอน กลุ่มบริหารงานวิชาการ
5.
ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ กลุ่มบริหารงาน
วิชาการ
6.
ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานครูที่ปรึกษา กลุ่มบริหารงานวิชาการ
7.
ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยงานจัดการเรียนการสอน กลุ่มบริหารงานวิชาการ
8.
ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยงานวิจัย กลุ่มบริหารงานวิชาการ
9.
ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยงานสำนักงานวิชาการ กลุ่มบริหารงานวิชาการ
10. ผู้กำกับลูกเสือวิสามัญระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
11.
กรรมการและเลขนุการ
โครงการโรงเรียนในฝัน
12.
กรรมการและเลขนุการ
คณะกรรมการดำเนินงาน มาตรฐานที่
1
การบริหารวิชาการ โครงการโรงเรียนสุจริต
13. งานที่ได้รับมอบหมายตามคำสั่งโรงเรียน
และผู้บังคับบัญชา
3.2
สภาพของงาน
(
)
รับผิดชอบนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
(
) รับผิดชอบนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษหลายประเภทความพิการและมี
ลักษณะอาการรุนแรง
( /)
รับผิดชอบนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ/วัฒนธรรม
( /)
สถานศึกษาตั้งอยู่บนพื้นที่ปกติ
(
) สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขา
หรือเกาะหรือติดกับรอยตะเข็บชายแดน
(
)
สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ เช่น กันดาร เสี่ยงภัย
ตามประกาศของทางราชการ เป็นต้น
ขอรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ถูกต้อง
และเป็นความจริง
(ลงชื่อ)..................................................ผู้ขอรับการประเมิน
(นางสาวปริยากร ครูทำนา)
ตำแหน่ง ครู
วันที่ 4 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2560
การตรวจสอบและรับรองของผู้บังคับบัญชาขั้นต้น
ได้ตรวจสอบแล้วรับรองว่าข้อมูลถูกต้อง
และเป็นความจริง
(ลงชื่อ)..................................................ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
( ………………………………………… )
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน………………………
วันที่ 4 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2560
ขอแนะนำไฟล์ แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(ก.ค.ศ.3)
จากคุณครูปริยากร ครูทำนา
โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ
ขอแนะนำไฟล์ แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(ก.ค.ศ.3)
จากคุณครูปริยากร ครูทำนา
โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ