รายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน

 




💕💕บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💕💕

ขอแนะนำไฟล์ รายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน 

เป็นไฟล์ Word  แก้ไขได้  

สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ

1. ที่มาและความสำคัญ

   ด้วยความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคน ที่มีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกันหล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ  ทั้งด้านบวกและด้านลบ  ดังนั้นการรู้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับนักเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ  ที่ช่วยให้ครูมีความเข้าใจนักเรียนมากยิ่งขึ้น  เพื่อที่จะช่วยดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ป้องกัน แก้ไขปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้น  รวมทั้งส่งเสริม เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมนักเรียนได้รู้จักตนเองมากยิ่งขึ้น พัฒนาความสามารถที่มีอยู่ เกิดความรู้สึกเห็นคุณค่า  ภาคภูมิใจในตนเอง  นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตต่อไป  การเยี่ยมบ้านนักเรียน จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูที่ปรึกษาจะได้รับทราบและเข้าใจถึงสภาพความเป็นอยู่ จุดเด่น  จุดด้อย รวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียน โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งเป็นการได้รู้จักและสร้างความคุ้นเคยอย่างเป็นกันเอง  จะช่วยลดช่องว่างระหว่างผู้ปกครองกับครู  ความรู้พื้นฐานและความคาดหวังที่แตกต่างกันไปของผู้ปกครอง  จะทำให้ผู้ปกครองรับรู้สภาพปัญหาของเด็ก  ตามประสบการณ์ส่วนตัวของตนเอง การได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองและครูที่ปรึกษา  จะช่วยให้ครูที่ปรึกษาและผู้ปกครองสามารถมองปัญหาของเด็กได้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น ตระหนักและมีความใส่ใจดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาระหว่างบ้านและโรงเรียน รวมทั้งเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีให้กับผู้ปกครองในการให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนเพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนต่อไป

2. จุดมุ่งหมายของการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน

จุดมุ่งหมายในการเยี่ยมบ้านนักเรียน  มีดังต่อไปนี้

2.1 เพื่อให้ผู้ปกครองและครูที่ปรึกษา  ได้ทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยซึ่งกันและกัน

2.2 เพื่อให้ครูที่ปรึกษา ได้เข้าใจและรับทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน

2.3 เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความตระหนักและมีความใส่ใจ  ดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากขึ้น  และรับ

ทราบถึงปัญหาของนักเรียนที่พบเห็นในโรงเรียน

2.4 เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับผู้ปกครอง  เชื่อมสัมพันธภาพอันดีต่อกัน  และร่วมมือกันดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระหว่างบ้าน  โรงเรียน  และ ผู้ปกครองนักเรียน

3. ความสำคัญของการเยี่ยมบ้านนักเรียน

การพัฒนานักเรียนให้เป็นคนที่มีคุณภาพ  ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ  สติปัญญา ความสามารถ  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง  โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษานั้น  นอกจากจะดำเนินการด้วยการส่งเสริม  สนับสนุนนักเรียนแล้ว  การป้องกันและการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนา  เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งด้านการสื่อสาร  เทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผู้คนในทางบวกแล้ว ในทางลบก็มีปรากฏเช่นกัน  เป็นต้นว่า  ปัญหาเศรษฐกิจ  ปัญหาการระบาดของยาเสพติด ปัญหาการแข่งขันในรูปแบบต่าง ๆ  ปัญหาครอบครัวซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์  ความวิตกกังวล  ความเครียด การปรับตัวที่ไม่เหมาะสม หรืออื่น ๆ ที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของทุกคนที่เกี่ยวข้อง  ดังนั้น  ภาพความสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนานักเรียนไปตามความมุ่งหวังนั้น  จึงต่ออาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  ทุกคน โดยเฉพาะบุคลากรครูทุกคนในโรงเรียน  ซึ่งมีครูที่ปรึกษาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิด ด้วยความรักและเมตตาที่มีต่อศิษย์ และความภาคภูมิใจในบทบาทที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนให้เติบโตงอกงาม เป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมต่อไป

บทบาทของครูที่กล่าวมานั้น คงไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีการปฏิบัติกันอย่างสม่ำเสมอและได้ดำเนินการมานานแล้วนับตั้งแต่อดีตจนได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคล  แต่เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย  โดยเฉพาะการทำงานอย่างเป็นระบบที่มีกระบวนการทำงาน  มีหลักฐานการปฏิบัติงาน  มีเทคนิค  วิธีการ  หรือการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแล้ว  ความสำเร็จของงานย่อมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  มีประสิทธิภาพ  ผลดีย่อมเกิดขึ้นกับทุกคนทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่ว่าจะเป็นครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน หรือสังคม

การเยี่ยมบ้านนักเรียน  เป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ที่ครูที่ปรึกษาจะได้รับทราบและเข้าใจถึงสภาพความเป็นอยู่ จุดเด่น  จุดด้อย รวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียน โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่งที่ครูที่ปรึกษาและผู้ปกครองนักเรียน จะใช้ประกอบในการดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือนักเรียน  ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาระหว่างบ้านและโรงเรียน รวมทั้งเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีให้กับผู้ปกครองในการให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนเพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนานักเรียนให้เป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป

4. ขอบเขตในการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน

4.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนบ้านโนนยาง  ปีการศึกษา  2563   จำนวน  17 คน

4.2 ระยะเวลาในการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน   วันที่  21 - 24 กรกฎาคม  พ.ศ.  2563

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

5.1 ผู้ปกครองและครูที่ปรึกษา  ได้ทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยซึ่งกันและกัน

5.2 ครูที่ปรึกษา ได้เข้าใจและรับทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน

5.3 ผู้ปกครองเกิดความตระหนักและมีความใส่ใจ  ดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากขึ้น และ

รับทราบถึงปัญหาของนักเรียนที่พบเห็นในโรงเรียน

5.4 สร้างทัศนคติที่ดีให้กับผู้ปกครอง  เชื่อมสัมพันธภาพอันดีต่อกัน  และร่วมมือกันดูแลช่วย

เหลือนักเรียน ระหว่างบ้าน  โรงเรียน  และ ผู้ปกครองนักเรียน

ทำไมต้องเยี่ยมบ้านนักเรียน

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นกระบวนการ  มีขั้นตอน เพื่อให้ผู้เรียน ครู ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องร่วมแรงร่วมใจกันช่วยเหลือ พัฒนา ส่งเสริมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยยึดสายใยและความผูกพันระหว่างครูและศิษย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนให้มีทักษะดำรงชีวิตอยู่รอดปลอดภัยในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีความสุข ซึ่งภารกิจหลักที่สำคัญประการหนึ่งของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนก็คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการเยี่ยมบ้านนักเรียน

การเยี่ยมบ้านนักเรียน

การเยี่ยมบ้านนักเรียน หมายถึง วิธีการศึกษารวบรวมข้อมูลที่ช่วยให้ครูได้ทราบชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมทางบ้านของนักเรียน โดยการพบปะสนทนากับผู้ปกครองนักเรียนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เจตคติซึ่งกันและกัน ตลอดจนเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียนทำให้ครูได้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนอย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

สิ่งที่ได้จากการเยี่ยมบ้านนักเรียน
             1.  เพื่อเยี่ยมเยือนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียน
        2. เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวนักเรียน ได้แก่ สภาพความเป็นอยู่ ครอบครัว ฐานะทางการเงิน และอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เห็นสภาพที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงได้ยินแต่คำบอกเล่าเท่านั้น
           3. เพื่อให้คำปรึกษา และแนะนำกับผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา การอบรมสั่งสอน และการเลี่ยงดูนักเรียน
            4. เพื่อนำข้อมูลที่ได้ ไปวางแผนในการพัฒนา ส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน

เราจะเยี่ยมบ้านนักเรียนกันอย่างไร
          ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดนโยบาย บทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบแนวทางในการดำเนินการตลอดจนประสานงานและประชาสัมพันธ์การเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
         
1. ประสานสัมพันธ์ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ  ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน เห็นความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการเยี่ยมบ้านนักเรียน พร้อมทั้งเชิญชวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเยี่ยมบ้านนักเรียนกับโรงเรียนในพื้นที่ตามความเหมาะสม
       2. ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนทราบและเห็นความสำคัญเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการเยี่ยมบ้านนักเรียน โดยใช้วิธีการและสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย เช่นการประชุมผู้ปกครอง การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน

 ระดับสถานศึกษา
         
1. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและประชาชนทราบ ถึงการดำเนินงาน" สัปดาห์ เยี่ยมบ้านนักเรียน" โดยสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ การจัดทำจดหมายข่าว หอกระจายข่าว ฯลฯ
          2. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ระยะทาง สมาชิกในครอบครัวว่า นักเรียนอยู่กับใคร อยู่อย่างไร หากไปแล้วจะได้พบใครบ้าง
          3. วิเคราะห์ว่าใครคือคนที่ต้องการพบ เช่น พ่อ แม่ หรือลุง ป้า น้า อา ของนักเรียน
          4. เตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ และประเด็นในการสนทนา
      5. นัดหมายล่วงหน้า เพื่อให้พร้อมทั้งสองฝ่าย หรือในกรณีเร่งด่วนอาจไม่นัดหมายก็ได้ หากต้องการข้อมูลที่เป็นธรรมชาติไม่มีการจัดฉาก ผู้เยี่ยมบ้านอาจไม่นัดหมายล่วงหน้า
        6. ไปตามนัด กรณีที่ไปไม่ได้ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพราะผู้ปกครองบางคนอาจต้องหยุดงาน ไม่ควรเลื่อนนัดถ้าไม่จำเป็น
         7. หากไปตามนัดแล้วไม่พบใคร ให้ถามเพื่อนบ้านใกล้เคียงเพื่อทราบข้อมูลที่มาในครั้งต่อไป

วิธีการรวบรวมข้อมูล
         
1.  การสังเกตสภาพที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมของนักเรียนและบุคคลในบ้านนักเรียน
          2.  การพูดคุย สนทนากับพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียน

คุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษาในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับชั้นเรียน

ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญ ในการจัดการเรียนการสอนและดูแล ช่วยเหลือนักเรียน ฉะนั้นครูที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติที่ดีย่อมสามารถช่วยเหลือนักเรียนได้เป็นอย่างดี การจัดการศึกษาในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาได้มอบหมายหน้าที่ให้ครูปฏิบัติงานหลักสองประการ งานหลักประการแรกคือสอนหนังสือถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาการให้กับนักเรียน ประการที่สองให้มีหน้าที่ดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยแต่งตั้งให้เป็นครูที่ปรึกษาประจาชั้นเรียน ซึ่งบทบาทของครูที่ปรึกษาจึงมีหน้าที่ทั้งสอนนักเรียนให้มีความรู้และมีความประพฤติดีและช่วยเหลือนักเรียน ไปด้วยพร้อมกันครูมีหน้าที่ให้คาแนะนาทั้งด้านเนื้อหาวิชาและสาระโดยมีครูเป็นแบบอย่างที่ดี การดาเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อมุ่งหวังให้ครูที่ปรึกษามีบทบาทในการช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิดอบอุ่นและแก้ปัญหาได้ทันท่วงที พัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพและ ความสามารถของตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์สามารถดารงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547: 35- 36) จากรายงานการวิจัยเรื่อง การสร้างรูปแบบการบริหารงานที่ปรึกษานักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สมลักษณ์ พรหมมีเนตร และ ฉันทนา จันทร์บรรจง, 2546. อ้างถึงใน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2546: 7-8) สรุปคุณสมบัติของครูที่ปรึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ดังนี้

1. คุณสมบัติด้านบุคลิกภาพ

1.1 มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส

1.2 แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับอาชีพครูและกาลเทศะ

1.3 มีวุฒิภาวะทางอารมณ์

1.4 มีความสุขุม รอบคอบ อ่อนโยน และเข้มแข็ง

1.5 มีความสง่างาม กริยามารยาทเรียบร้อย

1.6 มีความมั่นใจในตนเองและให้เกียรติผู้อื่น 

2. คุณสมบัติด้านมนุษยสัมพันธ์

2.1 มีความสามารถถ่ายทอดความรู้สึกให้นักเรียนเข้าใจได้

2.2 ใจกว้างและยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน

2.3 สังเกต รับรู้ และเข้าใจปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็ว

2.4 มองนักเรียนในแง่ดี เรียนรู้และพยายามเข้าใจสิ่งที่นักเรียนสื่อสารออกมาด้วยใจ

เป็นกลาง

2.5 เป็นผู้มีเหตุผล ควบคุมอารมณ์ได้ดี และสามารถแก้ไขปัญหาด้วยความสุขุมรอบคอบ

2.6 ใช้คาพูดที่สุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล

2.7 ยิ้มแย้ม ทักทายปราศรัยพูดคุยกับนักเรียนด้วยมิตรไมตรี

3. คุณสมบัติด้านคุณธรรมและความประพฤติ

3.1 มีความเสียสละ รับผิดชอบ กระตือรือร้นต่อการปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษา นักเรียน

3.2 มีความเมตตากรุณาต่อศิษย์

3.3 มีความยุติธรรมและให้ความช่วยเหลือนักเรียนทุกคนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน 

3.4 ปฏิบัติตนต่อนักเรียนทุกคนอย่างทัดเทียมกันเสมอต้นเสมอปลาย

3.5 มีความประพฤติเหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน

3.6 เอาใจใส่ติดตามดูแลนักเรียนทั้งในและนอกโรงเรียน

3.7 มีความเห็นอกเห็นใจ ให้โอกาส และไม่ซ้ำเติมนักเรียนที่ทำผิด

4. คุณสมบัติด้านความรู้ความสามารถ

4.1 มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและสิทธิเด็ก

4.2 มีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการของนักเรียนและหลักการให้คาปรึกษา

4.3 มีความรู้เกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติและข้อบังคับของโรงเรียน

4.4 มีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน

4.5 มีความรู้กว้างขวางในเหตุการณ์ปัจจุบัน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

4.6 มีข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อการอาชีพที่ทันสมัย

4.7 มีความสามารถใช้จิตวิทยาและศิลปะในการให้คาปรึกษาแก่นักเรียน

4.8 มีความสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพ/ความสามารถของนักเรียน

ทั้งด้านสติปัญญา ร่างกาย และเศรษฐกิจ

4.9 มีความสามารถจัดกิจกรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียน

5. คุณสมบัติด้านจรรยาบรรณ

5.1 คำนึงถึงสวัสดิภาพของนักเรียน ไม่กระทาการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสีย

ต่อนักเรียนอย่างไม่เป็นธรรม

5.2 รักษาความลับเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของนักเรียนและเรื่องที่นักเรียนนามาปรึกษา

5.3 จริงใจและเต็มใจให้ความช่วยเหลือนักเรียนจนสุดความสามารถ 

5.4 ให้คาปรึกษาแบบเป็นกลาง ไม่วิพากษ์วิจารณ์ทับถมหรือพูดจาในทางก่อให้เกิดความ

เสื่อมเสียแก่บุคคล สถาบัน หรือก่อให้เกิดความแตกร้าวระหว่างบุคคลและสถาบัน

5.5 ในการให้คาปรึกษาครูที่ปรึกษาไม่ควรรีบแก้ปัญหาให้นักเรียนเอง หากแต่ควรใช

เทคนิคการให้คาปรึกษาต่างๆ เพื่อให้นักเรียนมีข้อมูลในการตัดสินใจด้วยตนเอง

5.6 พึงอุทิศเวลาเพื่องานครูที่ปรึกษา ซึ่งอาจต้องใช้เวลานอกราชการเพื่อพบปะพูดคุยกับนักเรียน

 

 ตัวอย่างไฟล์ รายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน 

เป็นไฟล์ Word  แก้ไขได้  

สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ


















 ดาวน์โหลดไฟล์ รายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน 

เป็นไฟล์ Word  แก้ไขได้  

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ






fullWidth
ใหม่กว่า เก่ากว่า