รายงานผลการคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนชั้นป.1 ภาคเรียนที่ 1/65





💕💕บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💕💕




จากคุณครูอัจฉรา  เพ็งทา

โรงเรียนวัดหนองดินแดง (ประชารัฐอุทิศ)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1


เป็นไฟล์ Word  แก้ไขได้

สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ

 

รายงานผลการคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียน

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕


หลักการและเหตุผล

    กระทรวงศึกษาธิการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยมีนโยบาย ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่มีระบบเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนไปสู่ความเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ สามารถดำรงตนในสังคมอย่างปกติสุข

   การใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะทักษะการอ่านและการเขียน เป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเรียนรู้และการพัฒนาชีวิตสู่ความสำเร็จเพราะจะนำมาซึ่งความรู้และส่งเสริมให้เกิดการคิดวิเคราะห์วิจารณญาณ แยกแยะ และประยุกต์ใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิต พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดสื่อสารความรู้ ความคิด ให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจได้ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ ๒๑ หากผู้เรียนบกพร่องหรือขาดความสามารถ ในทักษะดังกล่าวจะส่งผลให้การเรียนรู้ไม่อาจก้าวหน้าได้ และจะประสบความยากลำบากในการดำรงชีวิต จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาที่จะต้องพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียน รวมทั้งส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารให้แก่ประชาชนตั้งแต่วัยเยาว์ เพื่อให้สามารถเรียนรู้ในระดับที่ซับซ้อนขึ้น  เมื่อเติบใหญ่ และนำไปสู่การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นในช่วงระยะเวลา ๙ ปี ของการจัดการศึกษาภาคบังคับ  และ ๑๒ ปี ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเด็กและเยาวชนจึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญต่อการวางรากฐานให้นักเรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ให้มั่นคง ซึ่งการรู้หนังสือหรือการอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้นับเป็นพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรก ๆ ของการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียน ทั้งนี้ การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียน นอกจากครูจะต้องมีความรู้ เข้าใจทักษะและกระบวนการพัฒนาความสามารถ  ในการอ่านและการเขียนของนักเรียน ทั้งนักเรียนปกติและนักเรียนที่ต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษแล้ว ครูยังต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เรียน ทั้งความแตกต่างทางสติปัญญาและความแตกต่างทางพื้นฐานของครอบครัว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียน

    ด้วยเหตุนี้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา จึงได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาเครื่องมือคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น โดยเป็นการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Formative Assessment) สำหรับเป็นข้อมูลการอ่าน  และการเขียนของนักเรียน เพื่อให้ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษานำไปใช้ในการพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยสำหรับใช้ในการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตต่อไป โดยกรอบโครงสร้าง ของเครื่องมือที่สร้างขึ้นนี้ จัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

    เครื่องมือที่สร้างขึ้นนี้สร้างโดยศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบด้านภาษาไทยครูผู้สอนภาษาไทย ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสอนภาษาไทย และได้รับรางวัลด้านการสอนภาษาไทย และตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการสอนภาษาไทยและการวัดและประเมินผลจากสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเครื่องมือที่ใช้คัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑ - ๖ นี้ ครูผู้สอนสามารถนำผลของการคัดกรองไปใช้เป็นข้อมูลในการวินิจฉัยนักเรียนเพื่อพัฒนานักเรียนได้ตรงตามความเป็นจริง


จุดประสงค์ของการคัดกรอง

๑. เพื่อคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖

๒.เพื่อให้ได้ข้อมูลผลการคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงและพัฒนานักเรียน

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

   การประเมินความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑- ๖ ได้กำหนดนิยามศัพท์ ดังนี้

. การอ่าน หมายถึง ความสามารถในการอ่านของนักเรียน ดังนี้   

                    ๑) การอ่านออกเสียง หมายถึง การอ่านคำ ประโยค หรือข้อความสั้น ๆ ที่เป็นวงคำศัพท์ที่กำหนดในแต่ละระดับชั้นปี ทั้งที่เป็นคำที่มีความหมายโดยตรงหรือคำที่มีความหมายโดยนัยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน        

                     ๒) การอ่านรู้เรื่อง หมายถึง การอ่านคำ ประโยค ข้อความสั้น ๆ หรือเรื่องราวที่เป็นวงคำศัพท์ที่กำหนดในแต่ละระดับชั้นปี ทั้งที่เป็นคำที่มีความหมายโดยตรงหรือคำที่มีความหมายโดยนัยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยสามารถบอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านร้อยแก้ว ร้อยกรองสำหรับเด็ก (เป็นข้อความง่ายๆ) จับใจความจากเรื่องที่อ่าน ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน บอกความหมายของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่สำคัญที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน คาดคะเนจากเรื่องที่อ่านและสรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้อย่างสมเหตุสมผล

๒. การเขียน หมายถึง ความสามารถในการเขียนคำ ประโยค หรือเรื่องของนักเรียน ดังนี้

                   ๑) การเขียนคำ หมายถึง การเขียนคำที่เป็นวงคำศัพท์ที่กำหนดในแต่ละระดับชั้นปี โดยวิธีการเขียนคำตามคำบอก 

                    ๒) การเขียนเรื่อง หมายถึง การเขียนเรื่องสั้น ๆ ตามจินตนาการ

ลักษณะของเครื่องมือ

    เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖

โครงสร้างเครื่องมือคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑- ๖

    เครื่องมือคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑ - ๖ มีรายละเอียดกรอบโครงสร้าง ดังนี้

การนำผลการคัดกรองไปใช้ในการพัฒนานักเรียน

   การคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อนำข้อมูลจากผลการคัดกรองไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงและพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียน ซึ่งมีความสามารถสูงให้ดียิ่งขึ้น และแก้ไขปัญหาการอ่านและการเขียนของนักเรียนที่มีผลการคัดกรองระดับต่ำ โดยครูควรพิจารณาผลการคัดกรองของนักเรียนทั้งภาพรวมและรายบุคคล เพื่อให้ทราบว่านักเรียนแต่ละคน มีผลการคัดกรองความสามารถและทักษะใดที่ควรได้รับการพัฒนา โดยจำเป็นต้องปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เหมาะสมกับนักเรียน เช่น การจัดสอนซ่อมเสริมนักเรียนเป็นรายบุคคลเพิ่มเติม เป็นต้น

การดำเนินการสอบ

  การดำเนินการสอบเป็นความรับผิดชอบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในการบริหารจัดการมีแนวปฏิบัติ ดังนี้

๑. การเตรียมการก่อนการสอบ ก่อนการสอบให้โรงเรียนเตรียมการดังนี้

                   ๑) การจัดห้องสอบ ให้จัดห้องสอบตามปกติของการจัดสอบของโรงเรียน

                    ๒) ผู้ดำเนินการสอบ มอบหมายให้ครูผู้สอนหรือครูประจำชั้นเป็นผู้ดำเนินการสอบ โดยใช้เครื่องมือคัดกรองที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดส่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

          ๒. การดำเนินการสอบ การดำเนินการสอบให้ดำเนินการ ดังนี้

                   ๑) ให้ครูผู้สอนหรือครูประจำชั้นที่ได้รับมอบหมายศึกษาทำความเข้าใจเอกสารต่อไปนี้

                - คู่มือการคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖

          - คำชี้แจงและเครื่องมือคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖

                  ๒) ให้ครูผู้สอนหรือครูประจำชั้นที่ได้รับมอบหมายจัดสอบตามรายละเอียดที่กำหนดในคำชี้แจง ของแบบทดสอบแต่ละฉบับ

          ๓. การดำเนินการหลังสอบ การดำเนินการหลังสอบให้ดำเนินการ ดังนี้

 ครูผู้สอนหรือครูประจำชั้นที่ได้รับมอบหมายตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดในคำชี้แจงของแบบทดสอบแต่ละระดับชั้นของนักเรียนในโรงเรียนของตน และรายงานผลการคัดกรองตามเกณฑ์ที่กำหนด





จากคุณครูอัจฉรา  เพ็งทา

โรงเรียนวัดหนองดินแดง (ประชารัฐอุทิศ)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1


เป็นไฟล์ Word  แก้ไขได้

สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ















จากคุณครูอัจฉรา  เพ็งทา

โรงเรียนวัดหนองดินแดง (ประชารัฐอุทิศ)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1


เป็นไฟล์ Word  แก้ไขได้

ดาวน์โหลดจากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ


https://drive.google.com/file/d/17VWfeckNW89rmzhhhf532C02Fvabu0gv/view?usp=sharing



fullWidth

 

ใหม่กว่า เก่ากว่า