💢💢บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💢💢
ตามบทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. ๒๕๔๖กำหนดว่า
การบริหารราชการจะต้องวางแผนโดยกำหนดระยะเวลา ขั้นตอนการปฏิบัติงาน งบประมาณ
เป้าหมาย และตัวชี้วัด จัดให้มีการประเมินและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่
ให้มีการพัฒนา
องค์ความรู้ภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอและให้ทุกส่วนราชการปฏิบัติตามแผนที่กำหนด ประกอบกับ กฎกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๑๔ (๒)
ได้กำหนดให้โรงเรียนจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
พร้อมทั้งกำหนดองค์ประกอบของแผนพัฒนาการจัดการศึกษาไว้ในข้อ ๑๖ โรงเรียนบ้านม่วงนาสีดา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต ๒
จึงจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ระยะ ๔
ปี คือ ปีการศึกษา ๒๕๖๕-๒๕๖๘ นี้ขึ้น เพื่อเป็นกรอบทิศทาง การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามภารกิจและตามต้องการของผู้ปกครองและชุมชนกำหนด
โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๓๑ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำ คณะครู นักเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่อำนวยความสะดวกในการจัดทำ และร่วมดำเนินการจนแผนพัฒนาการจัดการศึกษาฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจหลัก ประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ ดังนี้
วิสัยทัศน์
กระทรวงศึกษาธิการเป็นองค์กรหลักในการจัดการและส่งเสริมการศึกษาให้ประชาชนมีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณภาพ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคมฐานความรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
พันธกิจ
๑. สร้างเสริมโอกาสในการศึกษาให้แก่ประชาชนทุกคน
๒. สร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
๓.
พัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
ประเด็นยุทธศาสตร์
๑.
การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๒. การอนุรักษ์สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงาม
๓. การบริการทางการแพทย์และความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ
๔. การขยายบริการทางการศึกษา และเพิ่มคุณภาพสถานศึกษาในกรุงเทพมหานครให้ทัดเทียมกัน
๕. การฝึกทักษะด้านอาชีพเพื่อแก้ปัญหาความยากจน
๖. การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประชาชนโดยใช้ความรู้เป็นฐาน
๗. การผลิตและพัฒนาบุคลากร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์
๘. การพัฒนากฎหมายด้านการศึกษา
๙. การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของรัฐ
เป้าประสงค์
๑. ประชาชนได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีมาตรฐาน คุณภาพ
๒. ประชาชนได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
๓. ศึกษาและวิจัยเพื่อการบริการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ
๔. เด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานครได้รับการศึกษาในโรงเรียนดีใกล้บ้าน
๕. ประชาชนได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือและสร้างรายได้ให้กับตนเองเพิ่มขึ้น
๖. การเพิ่มกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด
๗. การเพิ่มการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศและเพิ่มศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันการศึกษา
๘. ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์
๙. กฎหมายการศึกษาสามารถตอบสนองการปฏิรูปการศึกษา
๑๐. ประชาชนในพื้นที่ชายแดน และพื้นที่พิเศษอื่น ๆ ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วิสัยทัศน์
การศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย
พันธกิจ
๑. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยเรียนทุกคน ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ
๒. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
๓. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา
เป้าประสงค์
๑. นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษามีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย และได้สมดุล และนักเรียน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามช่วงวัยและมีคุณภาพ
๒. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และเสมอภาค
๓. ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีทักษะที่เหมาะสม และมีวัฒนธรรม
การทำงาน ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
๔. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีประสิทธิภาพและเป็นกลไกขับเคลื่อนการศึกษา
ขั้นพื้นฐานสู่คุณภาพระดับมาตรฐานสากล
๕. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานบูรณาการการทำงาน เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม
กระจายอำนาจและความรับผิดชอบสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
๖. พื้นที่พิเศษ ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ
แนวทางการติดตาม วัดและประเมินผล
เพื่อให้แผนพัฒนาการจัดการศึกษาสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย พันธกิจและวิสัยทัศน์ที่กำหนด ควรมีการสร้างเครื่องมือ กลไกบุคคล/คณะบุคคลติดตามวัดและประเมินผลการดำเนินงาน ดังนี้
๑. การจัดให้มีส่วนร่วมจากคณะครู ผู้แทนนักเรียน/ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาในการร่างและจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกกลุ่มคณะ
๒. การจัดให้มีกลไกการประสานแผนงานและกลยุทธ์ต่างๆภายในแผน การกำหนดบุคคลหรือคณะบุคคลร่วมรับผิดชอบการดำเนินงานในแต่ละกลยุทธ์
๓. การสร้างหรือทบทวนความรู้ การสร้างความเข้าใจในการวางแผน การจัดทำแผนการดำเนินงานตามแผนและการประเมินตนเองพร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานในส่วนที่รับผิดชอบแก่คณะครู
๔.การจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ทราบสาระสำคัญอย่างง่ายๆของแผน ตลอดทั้งภาพแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน
๕.การจัดให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงกิจกรรม โครงการ กิจกรรมหลัก เป้าหมายและตัวชี้วัดความสำคัญ ให้สอดคล้องและทันกับสภาพที่มีอยู่แล้วจริง
๖. มีการพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของคณะครูในการนำแผนสู่การปฏิบัติ
๗. มีเวทีหรือจัดให้มีการประชุมทางวิชาการหรือประชุมย่อยที่มีการนำและเปิดโอกาสให้
มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อมูล ปัญหา
และแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานตามแผน
๘.มีการปรับปรุงเชื่อมโยงกับนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัดหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรายปีเสมอ
๙.มีการปรับปรุงพฤติกรรมของผู้บริหาร ให้มีคุณลักษณะตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด และมีความเป็นผู้นำที่จะนำโรงเรียนไปสู่วิสัยทัศน์ได้จริง พร้อมทั้งเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการคิดริเริ่มตัวอย่างงานหรือวิธีการทำงานอย่างง่ายและเกิดผลดีในทางปฏิบัติแก่คณะครูเสมอ
๑๐.มีความพยายามหรือมีการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ทั้งส่วนของผู้บริหารและคณะครูตามที่กำหนดไว้ในแผน
๑๑.มีความพยายามหรือมีการชักจูง กำกับให้นักเรียนเกิดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในแผน
๑๒.มีการประสาน การสนับสนุน การจัด การหว่านล้อมให้เกิดความร่วมมือหรือข้อตกลงในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรสถาบันอื่น ตามที่กำหนดไว้ในแผน
๑๓.มีการติดตาม วัดและประเมินผลแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ดังนี้
๑. ติดตามความก้าวหน้าประจำปี เป็นการติดตามความก้าวหน้าของตัวชี้วัดในแต่ละกลยุทธ์ เพื่อตรวจสอบถึงผลงานที่เกิดขึ้นจริง เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด อันจะนำไปสู่การทบทวนปรับปรุง แก้ไขเป้าหมายและกลยุทธ์ให้มีความเหมาะสมต่อไป
๒.การวัดและประเมินผลในระยะครึ่งแผน เป็นการประเมินผลในช่วง ๒ ปีการศึกษาแรกของแผน คือ เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพื่อทบทวนผลความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค รวมทั้งทบทวนกลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย หรือเพื่อการปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘
๓.การประเมินผลเมื่อสิ้นสุดแผน เป็นการประมวลผลแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ๔ ปี เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา ๒๕๕๙ เพื่อสรุปผลการพัฒนาการจัดการศึกษา พิจารณาผลสัมฤทธิ์ของงานที่เกิดขึ้นตลอดช่วงเวลา ๔ ปีการศึกษา และเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลหลักในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ - ๒๕๖๓