ตัวอย่างการรายงานแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน PA1 กลุ่มสาระคณิตศาสตร์

 


💢💢บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💢💢

 



เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้   
 

สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ

 

คำอธิบายข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

คำชี้แจงการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

ข้อตกลงในการพัฒนางาน” (Performance Agreement : PA) หมายความว่า ข้อตกลงที่ข้าราชการครู ได้เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อแสดงเจตจำนงว่าภายในรอบการประเมินจะพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะ ที่สำคัญตามหลักสูตร ให้สูงขึ้น โดยสะท้อนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐานะ ที่ดำรงอยู่ และสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาได้เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครูทุกคน ต้องจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณ เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยข้อตกลงในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2) ผลการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยต้องแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ การแก้ปัญหา ริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน หรือการสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ข้อตกลงในการพัฒนางานต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมาย และบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ

การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ควรกำหนดการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรม ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินการตามข้อตกลงในการพัฒนางาน กรณีที่ข้าราชการครูย้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้รับมอบหมายให้ทำการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำข้อตกลงไว้เดิม ให้ดำเนินการดังนี้

1. กรณีที่ข้าราชการครูย้ายสถานศึกษาระหว่างปีงบประมาณให้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน กับผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใหม่ในสถานศึกษาที่ย้ายไปดำรงตำแหน่ง

2. กรณีที่ข้าราชการครูได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานในตำแหน่งครูกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

3. กรณีที่ข้าราชการครูได้รับมอบหมายให้ทำการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำข้อตกลงไว้เดิม ให้ข้าราชการครูจัดทำรายละเอียดข้อตกลงในการพัฒนางานในวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามที่ได้รับมอบหมายใหม่

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ไม่มีวิทยฐานะ)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ระหว่างวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2565 

ผู้จัดทำข้อตกลง

ชื่อ ....................................... นามสกุล  ..........................   ตำแหน่ง ครู

สถานศึกษา  โรงเรียน........................ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ........................

รับเงินเดือนในอันดับ คศ.1   อัตราเงินเดือน - บาท

ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ (สามารถระบุได้มากกว่า 1 ประเภทห้องเรียน ตามสภาพการจัด การเรียนรู้จริง)

✅ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน

☐ ห้องเรียนปฐมวัย

 ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ

 ห้องเรียนสายวิชาชีพ

 ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ / ตามอัธยาศัย

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

                   1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน  15  ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

               กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน     จำนวน  5  ชั่วโมง/สัปดาห์

               กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม     จำนวน  7.5 ชั่วโมง/สัปดาห์

               ชุมนุมเกมคณิตศาสตร์                                   จำนวน  0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

               ลูกเสือ-เนตรนารี                                          จำนวน  0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

               กิจกรรมสังคมและสาธารณประโยชน์                     จำนวน  0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

    1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

    1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

    1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 (คาดการณ์)

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

                 1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน  15  ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

                กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน     จำนวน  5  ชั่วโมง/สัปดาห์                       กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3  จำนวน  7.5 ชั่วโมง/สัปดาห์                        ชุมนุมเกมคณิตศาสตร์                                    จำนวน  0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์                   ลูกเสือ-เนตรนารี                                          จำนวน  0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์                   กิจกรรมสังคมและสาธารณประโยชน์                     จำนวน  0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

    1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

    1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

    1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

หมายเหตุ

1. รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน. ตามแบบให้เป็นไปตามบริบท และสภาพการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษา และข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง

2. งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และให้นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน โดยเสนอในภาพรวม ของรายวิชาหลักที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา สามารถเลือกรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง และคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางาน ตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA 2

3. การพัฒนางานตามข้อตกลง ตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ ของผู้เรียน (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรม และการประเมินของคณะกรรมการประเมิน ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริง สภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางานตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ ารปรับ ประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น

(ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเอกสารคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 (วิทย์) รหัสวิชา ค32104 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

          ในการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมานักเรียนมีความสับสนใจในการคำนวณหาจำนวนผลของการทดลองสุ่ม และไม่สามารถเขียนแจกแจงผลลัพธ์ได้ครบทุกกรณี  และมีปัญหาในการหาจำนวนผลลัพธ์ในปริภูมิตัวอย่าง และในการทดลองสุ่ม จึงส่งผลให้ในการหาค่าความน่าจะเป็นผิดพลาดไป ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย โดยการเอกสารคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                               2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบางละมุง ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2563 ในเรื่องของ มาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัด ของเนื้อหา เรื่อง ความน่าจะเป็น

                               2.2 จัดทำโครงร่างของเนื้อหาเอกสารคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ พร้อมเฉลยตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด ดังนี้

                                         1) การทดลองสุ่ม

                                         2) ปริภูมิตัวอย่าง

                                         3) เหตุการณ์

                                         4) ความน่าจะเป็น

                               2.3 ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ในเนื้อหา การเฉลยของตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข

                               2.4 ครูผู้สอนนำชุดการเรียนมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนบางละมุง

                               2.6 นำเอกสารการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 (วิทย์) รหัสวิชา ค32104 ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564  ทั้งในรูปแบบ ONLINE หรือ ONSITE โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท

                               2.7 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ ในโปรแกรม Microsoft Excel และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และการสอนซ่อมเสริม สำหรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา และทำการทดสอบใหม่ จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

   3.1 เชิงปริมาณ

  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 115 คน

ได้รับการพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ด้วยเอกสารชุดการเรียนคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 (วิทย์) รหัสวิชา ค32104  โดยมีคะแนนทดสอบปลายภาคผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วย
ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากขึ้นไป

                    3.2 เชิงคุณภาพ

                  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  จำนวน 3 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 115 คน  มีความรู้ความเข้าใจในมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง




เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้   
 

สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ
















เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้   
 

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ




ใหม่กว่า เก่ากว่า