💓💓บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💓💓
ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่างเอกสารข้อตกลงในการพัฒนางานPA1
จากคุณครูลลิตา หว่างเชื้อ
โรงเรียนวัดคันโช้ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)
แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน
(PA) จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อตกลงในการพัฒนางานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ที่ได้เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา
เพื่อแสดงเจตจำนงว่าภายในรอบการประเมินจะพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรให้สูงขึ้นโดยสะท้อนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่
และสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ
โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาได้เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
ส่วนที่
2
ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ซึ่งข้อมูลที่ได้นำเสนอนี้
ข้าพเจ้าจะนำไปพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนวัดคันโช้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก
เขต 3 ให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตำแหน่ง ครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)
(ทุกสังกัด)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม
พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ.
2565
ผู้จัดทำข้อตกลง
ชื่อ นางสาวลลิตา นามสกุล หว่างเชื้อ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ -
สถานศึกษา โรงเรียนวัดคันโช้ง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 1 อัตราเงินเดือน 18,400 บาท
(เงินเดือน ณ วันที่ 30 ก.ย. 64)
ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ (สามารถระบุได้มากกว่า 1 ประเภทห้องเรียน ตามสภาพการจัด
การเรียนรู้จริง)
☑ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน
☐ ห้องเรียนปฐมวัย
☐ ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ
☐ ห้องเรียนสายวิชาชีพ
☐ ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ
/ ตามอัธยาศัย
ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
ตำแหน่งครู ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา
ไว้ดังต่อไปนี้
ส่วนที่
1
ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน
จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน
รวมจำนวน 22 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้
(สอนควบชั้นเรียน)
👉 รายวิชา
คณิตศาสตร์ (ค15101 และ ค16101)
ชั้นประถมศึกษาปีที่
5
และ 6 จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
👉 รายวิชา ภาษาไทย (ท15101
และ ท16101)
ชั้นประถมศึกษาปีที่
5
และ 6 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
👉 รายวิชา ภาษาต่างประเทศ
(อ15101
และ อ16101)
ชั้นประถมศึกษาปีที่
5
และ 6 จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
👉 รายวิชา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ว15101 และ ว16101)
ชั้นประถมศึกษาปีที่
5
และ 6 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
👉 รายวิชา สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม (ส15101 และ ส16101)
ชั้นประถมศึกษาปีที่
5
และ 6 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
👉 รายวิชาการงานอาชีพ (ส15101
และ ส16101)
ชั้นประถมศึกษาปีที่
5
และ 6 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
👉 รายวิชาศิลปะ (ศ15101
และ ศ16101)
ชั้นประถมศึกษาปีที่
5
และ 6 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
👉 รายวิชาสุขศึกษา
และพลศึกษา (พ15101 และ พ16101)
ชั้นประถมศึกษาปีที่
5
และ 6 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรม
ลูกเสือ-เนตรนารี จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรม ชุมนุมยุวชนต้านทุจริต จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานงบประมาณ จำนวน 1
ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น
จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรม เพิ่มเวลารู้ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู
(ให้ระบุรายละเอียดของงานที่จะปฏิบัติในแต่ละด้านว่าจะดำเนินการอย่างไร
โดยอาจระบุระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการด้วยก็ได้)
หมายเหตุ
1.
รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน.ตามแบบ.PA.1.ให้เป็นไปตามบริบทและสภาพการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษาและข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง
2.
งาน (Tasks)
ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
และให้นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน
โดยเสนอในภาพรวมของรายวิชาหลักที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา
สามารถเลือกรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง
และคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA
2
3. การพัฒนางานตามข้อตกลง ตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Outcomes)และตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรม และการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริงสภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางานตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง
คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ
เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์
ให้มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นจากเดิม
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับต่ำ
เนื่องจากนักเรียนยังขาดทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ คือ การบวก ลบ คูณ หาร
หากนักเรียนยังไม่ได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานดังกล่าวนี้
จะส่งผลต่อการเรียนหน่วยอื่น ๆ ในรายวิชาคณิตศาสตร์อีกด้วย
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
มีป้ายนิเทศเกี่ยวกับเทคนิคการคิดเลขเร็ว ออกแบบเครื่องมือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในรูปแบบแบบทดสอบออนไลน์ หรือแบบทดสอบปกติ
เลือกใช้ตามความพร้อมและความเหมาะสมสำหรับผู้เรียนให้นักเรียนได้ใช้เครื่องมือนี้ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
โดยให้นักเรียนได้ทำแบบทดสอบนี้ในทุก ๆ สัปดาห์ จากง่ายไปยากตามลำดับ
สังเกตผลจากการปฏิบัติกิจกรรมและคะแนนจากแบบทดสอบ
วิเคราะห์จุดเด่นและจุดบกพร่องของผู้เรียน นำมาพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้เกิดผลที่ดียิ่งขึ่น
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ
ด้วยแบบทดสอบการคิดคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่สูงขึ้นจากเดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
และผู้เรียนมีความพึงพอใจในกรจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากขึ้นไป
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
3.2 เชิงคุณภาพ
ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ ในรายวิชาคณิตศาสตร์
💓💓บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💓💓
ขอแนะนำไฟล์ ตัวอย่างเอกสารข้อตกลงในการพัฒนางานPA1
จากคุณครูลลิตา หว่างเชื้อ
โรงเรียนวัดคันโช้ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ
ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างเอกสารข้อตกลงในการพัฒนางานPA1
จากคุณครูลลิตา หว่างเชื้อ
โรงเรียนวัดคันโช้ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ