การเขียนแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA1/ส) วิทยฐานะครูชำนาญการ

 





💕💕บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💕💕




จากคุณครูฉลาด   ไชยสุระ   โรงเรียนบ้านเวินพระบาท 

 

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2

 

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

สรุปรายละเอียด  ได้ดังนี้ ครับ


 

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ

โรงเรียนบ้านเวินพระบาท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษนครพนม เขต 2

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ระหว่างวันที่  1 เดือนตุลาคม พ.ศ.2564 ถึงวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2565

ผู้จัดทำข้อตกลง

ชื่อ นายฉลาด  นามสกุล ไชยสุระ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ   สถานศึกษาโรงเรียนบ้านเวินพระบาท  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2  รับเงินเดือนในอันดับ คศ.2 อัตราเงินเดือน 30,210 บาท

          ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ (สามารถระบุได้มากกว่า 1 ประเภทห้องเรียน ตามสภาพการจัดการเรียนรู้จริง)

          ☐ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน

           ห้องเรียนปฐมวัย

           ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ

           ห้องเรียนสายวิชาชีพ

           ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ / ตามอัธยาศัย

          ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ  ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

          ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

                1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

                     1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน           รวมจำนวน 19 ชั่วโมง/สัปดาห์    ดังนี้

                 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

                     กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาสังคมศึกษา ชั้นประถม  

ศึกษาปีที่ 4               จำนวน 2  ชั่วโมง/สัปดาห์

                    กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาสังคมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4         จำนวน 1  ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5         จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาอาเซียนศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

แนะแนว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 5                     จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

ลูกเสือ เนตรนารี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6           จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

ชุมนุม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6                       จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้       จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมโฮมรูม                                        จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์


ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                        จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์  

 

 1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา               จำนวน 10

 ชั่วโมง/สัปดาห์

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี           จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

หัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิชาการ                         จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

-งานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

-งานประกันคุณภาพการศึกษา

-งานระบบควบคุมภายในสถานศึกษา

                       1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น                 จำนวน 5  ชั่วโมง/สัปดาห์

                                -งานส่งเสริมคุณธรรมและธรรมศึกษานักเรียน

-งานส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา

                                -งานสถานศึกษาสีขาว ( การต่อต้านและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา)      

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู(ให้ระบุรายละเอียดของงานที่จะปฏิบัติในแต่ละด้านว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยอาจระบุระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการด้วยก็ได้)

 

 

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

ตามมาตรฐานตำแหน่ง

งาน (Tasks)

ที่จะดำเนินการพัฒนา

ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ

การประเมิน

(โปรดระบุ

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ของงานตามข้อตกลง

ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น

กับผู้เรียน

(โปรดระบุ)

ตัวชี้วัด (Indicators)

ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน

ที่แสดงให้เห็นถึงการ

เปลี่ยนแปลงไปในทาง

ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนา

มากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์

สูงขึ้น (โปรดระบุ)

1. ด้านการจัดการเรียนรู้

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึง การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน และการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

 

1.1 สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร

- วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร และนำไปจัดทำรายวิชา

และหน่วยการเรียนรู้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์ จุดประสงค์รายวิชา สมรรถณะ คำอธิบายรายวิชา นำไปวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อแบ่งหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์สมรรถนะ และคำอธิบายรายวิชาและจัดทำตารางวิเคราะห์หลักสูตร

-ผู้เรียนมีสมรรถนะ ตรงตามหลักสูตรและ ความต้องการของสถาน ประกอบการ

-ผู้เรียนมีความรู้ตรงตาม วัตถุประสงค์และเนื้อหา ที่กำหนด

-ผู้เรียนร้อยละ 80

มีสมรรถนะตรงตาม

หลักสูตรและความต้องการ

ของสถานประกอบการ

-ผู้เรียนร้อยละ 80

มีความรู้ตรงตาม

วัตถุประสงค์และเนื้อหาที่กำหนด

1.2 ออกแบบการจัดการ

เรียนรู้โดยมีสาระสำคัญ

ประจำหน่วย สมรรถนะ

ประจำหน่วยการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยด้านความรู้ ด้านทักษะ คุณลักษณะอันพึง

ประสงค์ และเนื้อหาสาระการเรียนรู้

-ผู้เรียนมีสมรรถนะตรง ตามสมรรถนะประจำ หน่วยการเรียนรู้

-ผู้เรียนมีความรู้และ ทักษะประจำหน่วย การเรียนรู้

-ผู้เรียนร้อยละ 80 มี สมรรถนะตรงตามสมรรถนะ ประจำหน่วยการเรียนรู้

-ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความรู้ และทักษะประจำหน่วย การเรียนรู้

ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง

งาน (Tasks)

ที่จะดำเนินการพัฒนา

ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ

การประเมิน

(โปรดระบุ

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ของงานตามข้อตกลง

ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น

กับผู้เรียน

(โปรดระบุ)

ตัวชี้วัด (Indicators)

ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน

ที่แสดงให้เห็นถึงการ

เปลี่ยนแปลงไปในทาง

ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนา

มากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์

สูงขึ้น (โปรดระบุ)

 

1.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน และกระบวนการทดลอง  ประกอบด้วยขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นการเรียนรู้ โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม(Active Learning) โดยมีการเสริมแรง

ทางบวก และให้นักเรียนเรียนรู้จาก

ที่มีความง่าย ไปหายาก

ตามลำดับ และกระบวนการคิดสร้างสรรค์ขั้นสรุป ขั้นการวัดและประเมินผล

-ผู้เรียนมีพฤติกรรมตรง ตามจุดประสงค์ของ กิจกรรมการเรียนรู้

-ผู้เรียนร้อยละ 80 มีพฤติกรรมตรงตาม จุดประสงค์ของกิจกรรมการเรียนรู้

1.4 สร้างสื่อเว็บไซต์รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วย Google Site และสร้าง สื่อนำเสนอเนื้อหาด้วย โปรแกรม Power point เพื่อ ใช้เป็นแหล่งในการจัดการเรียนการสอน จัดแหล่งเรียนรู้ เพื่อเป็นช่องทางในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน ออนไลน์ผ่าน Google Site

 

 

 

 

 

-ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ เนื้อหาผ่านสื่อการเรียน รู้ ที่ครูสร้างขึ้น

-ผู้เรียนร่วมกิจกรรมการ เรียนรู้ผ่าน Google Site

-ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความรู้ในเนื้อหา ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่ครูสร้าง ขึ้น

-ผู้เรียนร้อยละ 80 ทำกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่าน Google Site ได้

ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง

งาน (Tasks)

ที่จะดำเนินการพัฒนา

ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ

การประเมิน

(โปรดระบุ

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ของงานตามข้อตกลง

ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น

กับผู้เรียน

(โปรดระบุ)

ตัวชี้วัด (Indicators)

ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน

ที่แสดงให้เห็นถึงการ

เปลี่ยนแปลงไปในทาง

ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนา

มากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์

สูงขึ้น (โปรดระบุ)

 

 

 

 

 

 

1.5 สร้างแบบวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ตาม สภาพจริง โดยการประเมิน ชิ้นงานของผู้เรียน สร้างเกณฑ์ การให้คะแนนแบบรูบริค (Scoring Rubric) เป็น เครื่องมือในการวัดผลที่ เหมาะสมกับงานที่มอบหมาย และการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ระเบียบวัดผลและประเมินผล มีการสะท้อนผลให้ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

- ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนสูงขึ้น

- ผู้เรียนมีทักษะที่

สะท้อนให้เห็นถึง

คุณภาพผลงานของ

ตนเอง

- ผู้เรียนร้อยละ 80

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

- ผู้เรียนร้อยละ 80

มีทักษะและสะท้อนให้

เห็นถึงคุณภาพผลงานของตนเอง

1.6 วิเคราะห์ผู้เรียน

รายบุคคลเพื่อแก้ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ โดยศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ปัญหาและสาเหตุการนักเรียนที่มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในระดับต่ำ เพื่อ

แก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้ที่

ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ออกแบบและดำเนินการ แก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ และสรุปผลการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

 

- ผู้เรียนได้รับการ

แก้ปัญหาในการเรียนรู้ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล

- ผู้เรียนร้อยละ 80

ได้รับการแก้ปัญหาในการเรียนรู้ ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล

ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง

งาน (Tasks)

ที่จะดำเนินการพัฒนา

ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ

การประเมิน

(โปรดระบุ

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ของงานตามข้อตกลง

ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น

กับผู้เรียน

(โปรดระบุ)

ตัวชี้วัด (Indicators)

ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน

ที่แสดงให้เห็นถึงการ

เปลี่ยนแปลงไปในทาง

ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนา

มากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์

สูงขึ้น (โปรดระบุ)

 

1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน โดยการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนเชิงบวกที่ส่งเสริมทักษะทางการเรียนโดยจัดเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่สอดคล้อง กับกิจกรรมการเรียนรู้จัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้มีความปลอดภัยและสร้างบรรยากาศผู้เรียนให้เกิดความรู้สึกประสบความ

สำเร็จในงานที่เรียนรู้สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้ อยากเรียนส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดทักษะการเรียนรู้

- ผู้เรียนมีความพึง

พอใจในบรรยากาศ

การจัดการเรียนรู้

และมีความพร้อมที่จะ

พัฒนาตนเอง

- ผู้เรียนร้อยละ 80

มีความพึงพอใจใน

บรรยากาศการจัดการ

เรียนรู้ และมีความพร้อม

ที่จะพัฒนาตนเอง

1.8 อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดีงาม โดยมีการอบรมคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดีงาม โดย สอดแทรกนำข้อความส่งเสริม

คุณธรรมจริยธรรม ให้อยู่ในแบบฝึก

ทักษะกระบวนการทำงาน ของนักเรียน รวมถึงสอดแทรกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ผู้เรียนมีคุณธรรม

จริยธรรม และ

คุณลักษณะอันพึง

ประสงค์ตามหลักสูตร

ผู้เรียนร้อยละ 80 มี

คุณธรรม จริยธรรม และ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร

ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง

งาน (Tasks)

ที่จะดำเนินการพัฒนา

ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ

การประเมิน

(โปรดระบุ

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ของงานตามข้อตกลง

ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น

กับผู้เรียน

(โปรดระบุ)

ตัวชี้วัด (Indicators)

ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน

ที่แสดงให้เห็นถึงการ

เปลี่ยนแปลงไปในทาง

ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนา

มากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์

สูงขึ้น (โปรดระบุ)

2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชาการดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน การปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา และการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ

 

 

 

 

 

 

2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชาโดยจัดทำการจัดทำสารสนเทศผู้เรียนเป็นรายบุคคล  และจัดทำสารสนเทศผู้เรียนเป็นรายบุคคลผู้เรียน รูปแบบการวิเคราะห์ผู้เรียนผ่าน

การประเมิน SDQ การเยี่ยมบ้าน

ผลการเรียนแต่ละภาคเรียน ในที่ปรึกษาเพื่อใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ แก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

- ผู้เรียนได้รับการ

ส่งเสริมสนับสนุนการ

เรียนรู้ แก้ไขปัญหาและ

พัฒนาคุณภาพผู้เรียน

- ผู้เรียนร้อยละ 80 ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ แก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

2.2 ติดตามดูแลช่วยเหลือผู้เรียนโดยมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศ การติดตามผู้เรียนโดยการแจ้งเตือนในระบบ  Line Group ผู้เรียนและ

ผู้ปกครอง อีกทั้งการอบรมผู้เรียนในHomeRoom  เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียน

- ผู้เรียนได้รับการ

ช่วยเหลือเพื่อลดปัญหา

การออกกลางคัน

- ผู้เรียนร้อยละ 80

ได้รับการช่วยเหลือ

เพื่อลดปัญหาการออก

กลางคัน

2.3 ปฏิบัติงานวิชาการและงานอื่นๆของสถาน ศึกษา โดยเป็นกรรมการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้และร่วมแลก เปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชา การกับเพื่อนครู รวมทั้งการนิเทศการสอน

 

-ผู้เรียนได้รับการแก้ไข

ปัญหา เพื่อพัฒนา

การเรียนรู้

-ผู้เรียนร้อยละ 80 ได้รับ

การแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง

งาน (Tasks)

ที่จะดำเนินการพัฒนา

ตามข้อตกลง ใน 1 รอบ

การประเมิน

(โปรดระบุ

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ของงานตามข้อตกลง

ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น

กับผู้เรียน

(โปรดระบุ)

ตัวชี้วัด (Indicators)

ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน

ที่แสดงให้เห็นถึงการ

เปลี่ยนแปลงไปในทาง

ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนา

มากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์

สูงขึ้น (โปรดระบุ)

 

2.4  จัดทำเพจ face book กลุ่มไลน์ผู้ปกครอง จัดทำเอกสารประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการติดตามผู้เรียน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา และพัฒนาผู้เรียน

-ผู้เรียนได้รับการ

ช่วยเหลือ ด้านการเรียน

โดยความร่วมมือระหว่าง

ครู ผู้ปกครอง

-ผู้เรียนร้อยละ 80 ได้รับ

การช่วยเหลือ ด้านการเรียนโดยความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครอง

3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการนำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

1.การพัฒนาตนเองอย่างเป็น

ระบบและต่อเนื่อง

-เข้าร่วมการประชุม/อบรม/สัมมนา

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาระหน้าที่

และความรับผิดชอบ และรายงาน

ผลการประชุม/อบรม/สัมมนา

อย่างเป็นระบบ ไม่น้อยกว่า 20

ชั่วโมง และเผยแพร่ความรู้ที่ได้จาก

การประชุม/อบรม/สัมมนา ไปยัง

ครูที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

2.การมีส่วนร่วมในการ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อ

พัฒนาการจัดการเรียนรู้

-เข้าร่วมกิจกรรมนิเทศการสอนใน

บทบาทของผู้รับการนิเทศและผู้

นิเทศ

3. การนำความรู้ความสามารถ

ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเอง

และวิชาชีพมาใช้ในการ

พัฒนาการจัดการเรียนรู้ และ

พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการ

พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

พัฒนาตนเอง การสร้างห้องเรียนคุณภาพ สู่นักเรียนคุณภาพ โดยมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือวิธีการอื่น ๆ และนำผลจากการพัฒนาตนเอง

-จัดทำนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้จาก

การเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา

อย่างน้อย 2 รายการ และเผยแพร่

ตัวอย่างผลงานที่ได้จากการพัฒนา

ให้ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้

นำไปเป็นแนวทาง จัดทำเพจ face book และเวปไซต์ Googel Site

-ผู้เรียนมีทักษะใน

การเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยการคำนวณ)

-ผู้เรียนได้รับการ

พัฒนาการเรียนรู้จากผล

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

-ผู้เรียนร้อยละ 80 มีทักษะในการเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)

-ผู้เรียนร้อยละ 80

มีผลการเรียนรู้สูงขึ้น

หมายเหตุ

          1. รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน.ตามแบบ.PA.1.ให้เป็นไปตามบริบทและสภาพการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษาและข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง

          2. งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และให้นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน โดยเสนอในภาพรวมของรายวิชาหลักที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา สามารถเลือกรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง และคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA 2

          3. การพัฒนางานตามข้อตกลง ตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Outcomes)และตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรม และการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริงสภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางานตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร

     ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

                     ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการคือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทาง  ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

                    ประเด็นท้าทาย เรื่อง

                     การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่  4-6  โดยใช้รูปแบบ  BOSS MODEL

                     1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                     การจัดการเรียนการสอนพบว่าผู้เรียนไม่มีพื้นฐานด้านการเขียน Coding และจากการสังเกตุมีผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะและความเข้าใจของหลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น การจดจำCoding ไม่แม่นยำ ส่งผลให้การเรียนรู้ในด้านการเขียน Coding ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย ไม่สนใจที่จะแก้ไข Code ให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ซึ่งรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)นี้ เป็นพื้นฐานของการศึกษาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ดังนั้นผู้สอนจึงนำรูปแบบ BOSS MODEL มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียน เกิดกระบวนการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเอง


                    

 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                         2.1. การวิเคราะห์เนื้อหา

    2.2 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

    2.3 สร้างชุดการสอน

    2.4 การทดสอบประสิทธิภาพของชุดการสอน

                     3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

                         3.1 เชิงปริมาณ

3.1.1 ผู้เรียนร้อยละ 80 เขียน Coding

    3.2 เชิงคุณภาพ

3.2.1 ผู้เรียนสร้างแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา

3.2.2 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ 2.5 ขึ้นไป



         

ลงชื่อ........................................................................

                                                                ( นายฉลาด   ไชยสุระ)

                                                             ตำแหน่งครู โรงเรียนบ้านเวินพระบาท

                                                              ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน

                                                                วันที่ 1  เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564



ความเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา

          (  ) เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน

          (  ) ไม่เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อนำไปแก้ไข และเสนอเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ดังนี้

          .........................................................................................................................................................

.....................................................................................................................................................................................


                                                    ลงชื่อ........................................................................

                                                           (นางสาวปราณี  ศรส่ง)

                                                        ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเวินพระบาท

                                                               วันที่ 1  เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564   





จากคุณครูฉลาด   ไชยสุระ   โรงเรียนบ้านเวินพระบาท 

 

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2

 

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ  ได้ดังนี้ ครับ












 



 ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างการเขียนแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน



จากคุณครูฉลาด   ไชยสุระ   โรงเรียนบ้านเวินพระบาท 

 

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2

 

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  
 

 ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ


https://docs.google.com/document/d/1LcOr8zsUiirU5RQS7zYkTKOXps5Vt_wY/edit?usp=sharing&ouid=106872878421040230671&rtpof=true&sd=true



fullWidth
ใหม่กว่า เก่ากว่า