💗💗บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💗💗
แบบการนำเสนอวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best
Practices) เกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
1.
ชื่อผลงาน กิจกรรม
ถุงปัญญาสร้างสรรค์ผลงานบูรณาการเด็กปฐมวัย ระดับอนุบาล 1-3
2.
ชื่อเจ้าของผลงาน นางสาวภัทรสุดา
แก้วนาโพธิ์,นางสาวพัชชา สังข์ทอง โทรศัพท์มือถือ -
โรงเรียน วังไกลกังวล
ในพระบรมราชูปถัมภ์ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
อำเภอ หัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ โทรศัพท์ 032-520478
3.
สอดคล้องกับหัวข้อต่อไปนี้ (ทำเครื่องหมาย ✓ ใน ☐ ที่สอดคล้อง )
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
☑ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ / การประเมินพัฒนาการ
☑ การแก้ไขปัญหาชั้นเรียน
อื่นๆ ระบุ
(โครงสร้างพิเศษเสริมหลักสูตร)
4.
หลักการและเหตุผล/ ความเป็นมา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่3) พ.ศ.2553 ได้กล่าวถึงแนวทางการจัดการศึกษาโดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ โดยการบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่ไม่เอื้ออำนวยให้นักเรียนมาเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติ โรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้มีแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated teaching) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคนพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจึงเป็นวิธีหนึ่งในการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย และมีกิจกรรมที่หลากหลาย ได้ลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และนักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
ดังนั้นโรงเรียนจึงตระหนักถึงความสำคัญเรื่องดังกล่าว และจัดทำโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน“ถุงปัญญา” สร้างสรรค์ผลงานบูรณาการเด็กปฐมวัย การเรียนช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น โดยใช้แนวคิดการบูรณาการ ผสานยุคสมัย สร้างแนวคิดใหม่ด้วย “ถุงปัญญา” เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 1-3 ได้ลดละความตึงเครียดการเรียนในระบบออนไลน์เป็นเวลานาน ๆ ส่งเสริมกระบวนการจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานจากอุปกรณ์ที่โรงเรียนจัดเตรียมให้ในถุงปัญญา เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน และให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้จากการทำกิจกรรม
5.
วัตถุประสงค์
1.
นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่
1-3 ได้ออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนการเรียนรู้
แบบบูรณาการ
2. นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1-3 ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์
(Online) แบบออนไซต์ (Onsite)
3. ครูผู้สอนระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 1-3 สามารถวัดและประเมินผลชิ้นงานของนักเรียนร่วมกันจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
6. แนวคิด/ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
จากการที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันอังคารที่ 7 เมษายน 2563 มีมติรับทราบการเลื่อน เปิดเทอมจากวันที่ 16 พฤษภาคม
เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จึงจำเป็นต้องวางแนวทางการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์วิกฤติโควิด-19
ในทุกระดับชั้นและทุกประเภท โดยกระทรวงศึกษาธิการได้มีการกำหนดแนวนโยบายเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19
ให้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่สภาพแวดล้อมจะอำนวยให้บนพื้นฐาน
6 ข้อ ดังนี้(กระทรวงศึกษาธิการ, 2563)
1) จัดการเรียนการสอน
โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของทุกคนที่เกี่ยวข้อง “การเปิดเทอม” หมายถึง
การเรียนที่โรงเรียนหรือการเรียนที่บ้าน ทั้งนี้การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับผลการประเมินสถานการณ์
อย่างใกล้ชิด
2) อำนวยการให้นักเรียนทุกคน
สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนได้แม้จะไม่สามารถไปโรงเรียนได้
3) ใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เช่น การเสนอขอช่องดิจิทัล TV จาก กสทช. ทั้งหมด 17 ช่อง เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้น สามารถเรียนผ่าน DLTV ได้ ทั้งนี้ ไม่มีการลงทุนเพื่อจัดซื้อ อุปกรณ์ใด ๆ เพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น
ซึ่ง กสทช.อนุมัติแล้วให้เริ่มออกอากาศ 16 พฤษภาคมนี้
เป็นเวลา ไม่เกิน 6 เดือน หรือถ้าสามารถกลับมาดำเนินการสอนได้ตามปกติก็ให้หยุดทดลองออกอากาศ
แบ่งเป็น ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 15 ช่อง เป็นของสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 1 ช่อง และเป็นของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย
(กศน.) จำนวน 1 ช่อง โดยให้ออกอากาศแบบความคมชัดปกติ (SD)
4) ตัดสินใจนโยบายต่าง
ๆ บนพื้นฐานของการสำรวจความต้องการ ทั้งจากนักเรียน ครู และโรงเรียน ไม่คิดเอง
โดยให้การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นที่ตั้ง
และกระทรวงจะสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
5) ปรับปฏิทินการศึกษาของไทยให้เอื้อต่อการ
“เรียนเพื่อรู้” ของเด็กมากขึ้น รวมทั้งมีการปรับตารางเรียนตามความเหมาะสม
โดยเวลาที่ชดเชยจะคำนึงถึงภาระของทุกคนและการได้รับความรู้ ครบตามช่วงวัยของเด็ก
6) บุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และทำให้ท่านได้รับผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
ซึ่งโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนชดเชยให้ครบตามหลักสูตรได้ภายหลังจากเปิดการเรียนการสอนแล้ว
โดยจะสอนชดเชยที่โรงเรียน หรือผ่านช่องทางต่าง ๆ
ตามความพร้อมของผู้เรียนในช่องทางใดช่องทางหนึ่ง หรือผสมผสานกันในรูปแบบ 5
On ได้แก่
1.Online
ผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ
2.On
Air ทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เช่น DLTV
3.On
Hand จัดส่งหนังสือ แบบเรียน แบบฝึกหัด
หรือใบงานที่โรงเรียนจัดทำขึ้นไปยังนักเรียนผ่านผู้ปกครอง
4.On Site จัดการเรียนเป็นกลุ่มเล็ก
ๆ และเรียนในสถานที่ที่ปลอดภัย
5.On School Line โดยใช้ช่องทาง
Group Line ของแต่ละห้องเรียนเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างครูประจำชั้นกับผู้ปกครองและนักเรียน
รวมถึงใช้เป็นช่องทางการมอบหมายงาน หรือส่งการบ้าน
โรงเรียนสามารถพิจารณาให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน สภาพแวดล้อม/ทรัพยากรที่เอื้ออำนวยและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ซึ่งโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้มีการจัดการเรียนการสอนบูรณาการหลากหลายรูปแบบ คือ Online On Air On Hand On Site และมีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการทำกิจกรรม เช่น อุปกรณ์การทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เกมการศึกษา นิทาน ใบงาน ชุดกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง
7. การดำเนินงาน/ กระบวนการ/วิธีการปฏิบัติ
7.1 คณะครูปฐมวัยร่วมประชุมวางแผนวางแผนเกี่ยวกับกิจกรรม“ถุงปัญญา”สร้างสรรค์ผลงานบูรณาการเด็กปฐมวัย ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
7.2 ครูปฐมวัยร่วมกันวางแผนและออกแบบชิ้นงานให้เหมาะสมกับระดับชั้น
7.3 ครูปฐมวัยแต่ละระดับชั้นจัดเตรียมอุปกรณ์ในถุงปัญญา
ประกอบด้วย คู่มือการสร้างสรรค์ชิ้นงานและอุปกรณ์การสร้างสรรค์ชิ้นงาน
7.4ครูปฐมวัยแต่ละระดับชั้นจัดทำเกณฑ์การวัดและประเมินผลชิ้นงานและตารางบันทึกผลคะแนนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
7.5 ครูปฐมวัยจัดทำเครื่องมือบันทึกและรายงานผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
7.6สรุปและประเมินผลในการจัดกิจกรรม และนำปัญหาที่พบมาปรับปรุงแก้ไขในการทำกิจกรรมใน
ครั้งต่อไป
fullWidth