Best practices เรื่องการจัดกิจกรรมเล่านิทาน ระดับปฐมวัย

Best practices เรื่องการจัดกิจกรรมเล่านิทาน ระดับปฐมวัย

 





💓💓บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💓💓


ขอแนะนำไฟล์ Best practices



จากคุณครูปราถติพร  อุดโท  


โรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล


สังกัด เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ

  

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้ ครับ

แบบนำเสนอ ผลงานสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศ (Best practices)

ด้านการจัดประสบการณ์การจัดการศึกษาปฐมวัย จังหวัดอำนาจเจริญ (สำหรับครูผู้สอน)

ประจำปี 2565

1. ชื่อผลงาน : การจัดกิจกรรมเล่านิทาน BIG BOOK ไม่จบเรื่อง เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2

2. ชื่อผู้นำเสนอผลงาน : นางปราถติพร อุดโท ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดเทพมงคล สังกัด เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ตำบล บุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสไปรษณีย์ 37000 โทรศัพท์ 045452642 E-mail : prattipon254@gmial.com เว็บไซต์โรงเรียน hhps://b.facebook.com/Thep Mongkol

3. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ

         การศึกษานับเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง ในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและแก้ไข ปัญหาต่างๆ ในสังคมได้ เนื่องจากการศึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่การวางรากฐานพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่แรกเกิด การพัฒนาศักยภาพและขีด ความสามารถด้านต่างๆ ที่จะดำรงชีวิต และประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ของโลก รวมเป็นพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน (เยาวพา เดชะคุปต์. 2542 : 99) การศึกษาจึงมีความสำคัญ ในการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการจัดการศึกษาให้กับเด็กในช่วง ปฐมวัย เพราะวัยเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 ปี เป็นระยะที่เรียกว่าเป็นวัยช่วงพลังแห่งความเติบโตงอกงาม สำหรับชีวิต และเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและ สติปัญญา สำหรับด้านสติปัญญานั้น สติปัญญาของเด็กเมื่ออายุ 1 ปี พัฒนาร้อยละ 20 เด็กอายุ 4-8 ปี สติปัญญาของเด็กจะพัฒนาเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 ส่วนอีกร้อยละ 20 จะพัฒนาในช่วงที่มีอายุตั้งแต่ 8 ปี ขึ้นไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบุคคล มีพัฒนาการทางสติปัญญามากที่สุดในช่วงวัยทองนี้ (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. 2546 : 2) การส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การพัฒนาด้านสติปัญญาเป็นด้าน ที่มักได้รับการเอาใจใส่สูงสุด เนื่องจากเป็นด้านที่เห็นผลเด่นชัด ผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถสูงมักจะได้รับ การยอมรับและได้รับโอกาสที่ดีกว่าผู้ที่มีความรู้ ความสามารถต่ำ วงการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ พบว่า การพัฒนาสติปัญญาของผู้เรียนยังทำได้ในขอบเขตที่จำกัด และยังไปไม่ถึงเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการ ซึ่งทำให้ เกิดแนวความคิดเรื่องการสอนให้ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น” (ทิศนา แขมมณี และคณะ. 2544:35)  

         พฤติกรรมในการแก้ปัญหาของเด็ก เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการศึกษา ในอนาคตของเด็กในการ แก้ปัญหา เพื่อที่จะกำหนดกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนาของเด็ก และในสถานการณ์ปัจจุบันสภาพชีวิตของบุคคลในสังคมต้องเกี่ยวข้องกับปัญหา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมได้ส่งผลกระทบต่อบุคคลทั้งสิ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีก ถ้าหากบุคคลไม่สามารถปรับตัวหรือฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้ บุคคลที่สามารถปรับตัวอยู่ในสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา ประชากรให้เป็นผู้มีความสามารถในการคิดได้อย่างมีเหตุผลสามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและปัญหาของ สังคมได้อย่างเหมาะสมจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น และการจัดการศึกษาต้องจัดให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ของโลกและยุคสมัยการศึกษาที่ให้เด็กท่องจำอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดความทุกข์ (รุ่ง แก้วแดง.2541 : 1) เพราะเด็กไม่ได้คิดหรือวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ขาดทักษะการแก้ปัญหาและเมื่อเป็นเช่นนี้นานๆ จะทำ ให้เด็กขาดเหตุผลและสติปัญญาในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

         ฉะนั้นการพัฒนาเด็กจึงควรพัฒนาในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะการสอนให้เด็กคิด ความสามารถในการ คิดเป็นคุณสมบัติที่พึงปรารถนา และเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาและการสอน เพราะการคิดเป็นจุดเริ่มต้น ให้คนเราแสดงออกในสิ่งดีงามเป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ สามารถเผชิญปัญหาต่างๆ ได้ (ทิศนา แขมมณี. 2544 : 43)กระทรวงศึกษาธิการเห็นความสำคัญของการสอนให้เด็กคิดจึงได้กำหนดนโยบายการจัดการศึกษา โดยมุ่งให้เด็กรู้จักคิดหาเหตุผล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การเผชิญสถานการณ์และประยุกต์ความรู้ มาใช้เพื่อ ป้องกันและแก้ไขปัญหา (กรมวิชาการ. 2546 : 3-6) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 จึงได้ กำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ข้อ.ที่ 10 ว่ามีความสามารถในการคิดและ การแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย ซึ่งมี 2 ตัวบ่งชี้และตัวบ่งชี้ที่ 2 คือ แก้ปัญหาในการเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ โดยกำหนดสภาพที่พึงประสงค์สำหรับเด็ก 4 ปี คือ พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะและ กำหนดสภาพที่พึงประสงค์ของเด็กอายุ5 ปี คือ พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง การสอนให้เด็กแก้ปัญหา ในเด็กปฐมวัยนั้น มีวิธีการแก้ปัญหาที่จำกัด เด็กจะเริ่มแก้ปัญหาด้วยการลองผิดลองถูกและใช้การสังเกต เพื่อจดจำวิธีแก้ปัญหานั้น เหตุที่เด็กไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ เพราะเด็กมีข้อมูลความรู้น้อย ประการหนึ่งกับอีกประการหนึ่ง เด็กยังมีวุฒิภาวะไม่มากพอที่จะแก้ปัญหาครูมีส่วนช่วยเด็กได้มากในแง่ ของการสนับสนุน และให้แนวทางแก่เด็กในการเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาด้วยแนวคิดที่ถูกต้อง

         การสอนให้เด็กคิดแก้ปัญหาเป็นกระบวนการสอนเพื่อให้เด็กคิดอย่างหนึ่ง แต่เป็นการคิดแบบประเมินสถานการณ์ (กุลยา ตันติผลาชีวะ .2545 : 40) ครูจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดประสบการณ์ที่กระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาการเล่านิทาน BIG BOOK ไม่จบเรื่อง เป็นการจัด กิจกรรมเล่านิทานที่ช่วยให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กปฐมวัยยังไม่สามารถพัฒนากระบวนการคิด ที่เป็นนามธรรมได้ต้องอาศัยเทคนิคที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ความรู้จากเนื้อหาที่สอดแทรกในนิทานทำให้ เด็กเกิดการเรียนรู้ สามารถจดจำตลอดจนเนื้อหาสาระในนิทาน เป็นตัวชี้แนะพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ และเป็นแรงจูงใจให้เด็กรับพฤติกรรมที่พึงปรารถนามาใช้ ทั้งยังเป็นการสร้างสมาธิผ่อนคลายอารมณ์เชื่อม ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้เล่า และผู้ฟังการเล่านิทานไม่จบเรื่องจึงเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วม ในกิจกรรมการเล่านิทาน (กรรณิการ์ พงศ์เลิศวุฒิ. 2547 : 2)

         การเล่านิทานเพื่อให้เด็กสนใจและได้ประโยชน์จากการฟังนิทานอย่างเต็มที่นั้น ผู้เล่าควรมีวิธีการเล่า ที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการเล่าด้วยตนเองบ้าง เป็นการช่วยจูงใจให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว ดังนั้น การจัดกิจกรรมเล่านิทาน BIG BOOK ไม่จบเรื่อง จึงเป็นกิจกรรมที่นอกจากเด็กได้มี ส่วนร่วมในการเล่าเรื่องต่อให้จบแล้วเด็กยังได้รับความสนุกสนาน มีการแสดงออกทางความคิดอย่างอิสระ เพื่อสนองความต้องการของแต่ละบุคคล (เนื้อน้อง สนับบุญ. 2541 : 45) ในสภาพปัจจุบันของการจัดกิจกรรม ที่ผู้รายงานได้พบจากผลการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดเทพมงคล สังกัดเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ มักจะพบว่า มาตรฐานคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ ข้อ.10 คือ มีความสามารถ ในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัยและสภาพที่พึงประสงค์ คือ พยายามหาวิธีแก้ปัญหา ด้วยตนเอง เด็กจะมีผลการประเมินยังไม่เป็นที่พอใจเด็กขาดทักษะหรือ พฤติกรรมในการแก้ปัญหาไม่พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยเฉพาะการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

         ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้รายงานตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมความสามารถในการคิด แก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยและมีความสนใจที่จะศึกษาว่า หลังจากการจัดกิจกรรมเล่านิทาน BIG BOOK ไม่จบเรื่อง จะส่งผลให้ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย สูงกว่าก่อนการทดลองหรือไม่ จึงได้ จัดทำหนังสือนิทาน BIG BOOK ไม่จบเรื่อง เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย ในการส่งเสริมพัฒนาการในการแก้ปัญหาให้กับเด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป



ขอแนะนำไฟล์ Best practices



จากคุณครูปราถติพร  อุดโท  


โรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล


สังกัด เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ

  

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ











 

ดาวน์โหลดไฟล์ Best practices



จากคุณครูปราถติพร  อุดโท  


โรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล


สังกัด เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ


เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ 


https://drive.google.com/file/d/1nj3rtxUce-E8jErEgU0ixE1v7axRsrcP/view?usp=sharing



ใหม่กว่า เก่ากว่า