💕💕บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💕💕
แบบการนำเสนอวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
(Best Practices) เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
1. ชื่อผลงาน กิจกรรม “ถุงปัญญา”
2. ชื่อเจ้าของผลงาน โรงเรียนวังไกลกังวล
ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ฝ่ายประถม) โทรศัพท์มือถือ -
โรงเรียนวังไกลกังวล
ในพระบรมราชูปถัมภ์ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทรศัพท์ 032520478
3. สอดคล้องกับหัวข้อต่อไปนี้ (ทำเครื่องหมาย ✔ ใน ☐ ที่สอดคล้อง)
☐ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
☑ การจัดการเรียนรู้ / การวัดและการประเมินผล
☑ การแก้ไขปัญหาชั้นเรียน
☐ อื่นๆ ระบุ (โครงสร้างพิเศษเสริมหลักสูตร)
4. หลักการและเหตุผล/
ความเป็นมา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ได้กล่าวถึงแนวทางการจัดการศึกษาโดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
โดยการบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา
ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่ไม่เอื้ออำนวยให้นักเรียนมาเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติ
โรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์
จึงได้มีแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated teaching) ในทุกกลุ่มสาระวิชาเข้ามาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจึงเป็นวิธีหนึ่งในการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์สาขาต่าง
ๆ ที่สัมพันธ์กันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่มีความหมาย
มีความหลากหลายและนักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
ดังนั้นโรงเรียนจึงตระหนักถึงความสำคัญเรื่องดังกล่าว
และจัดทำโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
“ถุงปัญญา”บูรณาการชิ้นงานการเรียนช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019
(COVID-19) ขึ้นโดยใช้แนวคิดห้องเรียนบูรณาการ ผสานยุคสมัย
สร้างแนวคิดใหม่ด้วย “ถุงปัญญา” เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ได้ลดละการเรียนในระบบออนไลน์เป็นเวลานาน ๆ
ส่งเสริมกระบวนการคิดสร้างสรรค์แบบบูรณาการทุกกลุ่มสาระวิชา
โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานจากอุปกรณ์ที่โรงเรียนจัดเตรียมให้ในถุงปัญญา
เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
และให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการชิ้นงาน
5. วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ได้ออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
2) เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
3) เพื่อให้ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สามารถวัดและประเมินผลชิ้นงานของนักเรียนร่วมกันจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
6.แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
โรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ฝ่ายประถมศึกษา) ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนบูรณาการ ผสานยุคสมัย สร้างแนวคิดใหม่ด้วย “ถุงปัญญา” ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ลดละการเรียนในระบบออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ ส่งเสริมกระบวนการคิดสร้างสรรค์แบบบูรณาการทุกรายวิชา โดยการผลิตชิ้นงานจากอุปกรณ์ที่โรงเรียนจัดเตรียมให้ในถุงปัญญา อีกทั้งเพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนที่บ้านการดำเนินกิจกรรม “ถุงปัญญา” ได้ยึดแนวทางการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับชั้น โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ จึงได้ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อนำมาจัดกิจกรรม ดังที่ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2546) กล่าวว่าการบูรณาการตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Integration มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Integrate คำว่าบูรณาการในความหมายทั่วไป หมายถึง การทำสิ่งที่บกพร่องให้สมบูรณ์แบบ โดยการเพิ่มเติมบางส่วนที่ขาดอยู่ให้สมบูรณ์ หรือการนำส่วนประกอบย่อยมารวมกันตั้งแต่สองส่วนเพื่อทำให้เป็นส่วนประกอบใหญ่ของทั้งหมด ดังนั้นการบูรณาการเป็นการเชื่อมสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่งเข้ามาเป็นส่วนประกอบกับอีกสิ่งหนึ่ง ให้มีความสมบูรณ์กลายเป็นส่วนหนึ่งของแกนหลักหรือส่วนประกอบที่ใหญ่กว่า สอดคล้องกับทิศนา แขมณี (2548) ได้ให้นิยามของการบูรณาการ หมายถึง การทำให้สมบูรณ์โดยการนำหน่วยย่อย ๆ ที่มีความสัมพันธ์มาทำหน้าที่อย่างผสมผสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวให้ครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวเองไม่ได้แยกเป็นส่วน ๆ จากข้อมูลข้างต้นโรงเรียนจึงได้วางแผนและออกแบบกิจกรรมการบูรณาการโดยให้ครูทุกระดับชั้นและทุกรายวิชาประชุมวางแผนเพื่อกำหนดชิ้นงานให้นักเรียน จากนั้นจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ชิ้นงาน และส่งมอบให้นักเรียนได้สร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองมากที่สุด เพื่อให้ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สามารถวัดและประเมินผลชิ้นงานของนักเรียนร่วมกันจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ดังที่วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล (2562) กล่าวถึงความสำคัญของการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ (Creative Integration) ว่า เป็นจุดเน้นของการจัดการเรียนรู้ในโลกยุค Disruptive Technology ที่ผู้เรียนต้องมีทักษะการคิดขั้นสูง และสามารถนำความรู้ Hard skills Soft skill มาใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหา และพัฒนาสังคมได้
7. การดำเนินงาน/
กระบวนการ/วิธีการปฏิบัติ
โรงเรียนวังไกลกังวล
ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ฝ่ายประถมศึกษา) เขียนร่างโครงการ/กิจกรรม
และจัดประชุมเพื่อช่วยกันวางแนวทางการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน ดังนี้
1. ประชุมวางแผนโครงการ เสนอเสนอรายละเอียดโครงการต่อผู้บริหาร
และขออนุมัติโครงการ
2. ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ทุกกลุ่มสาระประชุมวางแผนเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม
โดยร่วมกันศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบชิ้นงาน อุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักเรียน
3. ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ทุกกลุ่มสาระออกแบบเกณฑ์การวัดและประเมินผลชินงานแบบบูรณาการ
โดยให้สามารถประเมินได้ครอบคุมทุกกลุ่มสาระ
4. ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ทุกกลุ่มสาระ ออกแบบคู่มือการเรียนรู้ แบบบันทึกผลการเรียน
เพื่อให้นักเรียนได้บันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรม
5. จัดเตรียม
คู่มือการสร้างสรรค์ชิ้นงานและอุปกรณ์การสร้างสรรค์ชิ้นงาน ดังนี้
- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
สร้างสรรค์ชิ้นงาน เรามีผักบุ้งนะ
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สร้างสรรค์ชิ้นงาน นักประดิษฐ์น้อย และ Happy
Diary
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สร้างสรรค์ชิ้นงาน ออมสินออมสุข และ ตัวฉันคือใคร
(Who Am I)
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สร้างสรรค์ชิ้นงาน หุ่นเงาเล่านิทาน และ ธุงชัย ไชโย
- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
สร้างสรรค์ชิ้นงาน Diamond Chef WKS
- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สร้างสรรค์ชิ้นงาน DIY mask strap และ
กล่องนมหรรษา
6. ครูนัดหมายการส่งงาน ติดตามผล และประเมินชิ้นงาน
7. ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ทุกกลุ่มสาระสรุปผลการดำเนินกิจกรรม โดยบอกสิ่งที่ได้ปฏิบัติ ผลที่เกิด
บทเรียนที่ได้รับ และสิ่งที่จะพัฒนาต่อไป
จากนั้นร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่พบสำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป
8. ประกาศรางวัลนักเรียนที่ปฏิบัติกิจกรรมดีเด่นทุกระดับชั้น
9. ผลการปฏิบัติงาน
ส่งผลต่อการพัฒนาความเปลี่ยนแปลง อย่างไร (แนบเอกสารหลักฐานประกอบ)
9.1 ผู้เรียน
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
ได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทุกรายวิชาผ่านชิ้นงานเพียง 1 ชิ้น
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
มีความสุขต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เนื่องจากได้ออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเองผ่านกรอบแนวคิดที่ครูกำหนดและอุปกรณ์ที่ครูจัดเตรียมให้
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมผ่านคู่มือที่ครูจัดเตรียมไว้
ส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ได้ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครอง
5. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
เกิดกระบวนการเรียนรู้และสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงาน
อย่างมีความคิดสร้างสรรค์
6. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีความพึงพอใจได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีความยืดหยุ่น และอยู่ในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
9.2 ครูผู้สอน
ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 สามารถวัดและประเมินผลชิ้นงานของนักเรียนร่วมกันจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
9.3 โรงเรียน
โรงเรียนวังไกลกังวล
ในพระบรมราชูปถัมภ์มี
ได้แนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ
9.4 อื่น ๆ
-
10.
ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
การดำเนินกิจกรรม
“ถุงปัญญา” ของโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์
ฝ่ายประถมศึกษาประสบความสำเร็จได้เปิดจากปัจจัยสำคัญ ดังนี้
1. การวางแผนการปฏิบัติงาน
เนื่องจากคณะครูในระดับชั้นได้ประชุมวางแผนและร่วมกันออกแบบกิจกรรม
จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน และดำเนินงานตามขั้นตอนเพื่อให้ทันเวลา
2. ความสามัคคี
เนื่องจากคณะครูได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดทำอุปกรณ์และคู่มือการเรียนรู้เพื่อแจกให้กับนักเรียน
3. ความร่วมมือของนักเรียนและผู้ปกครอง เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ไม่สามารถทำให้นักเรียนมาเรียนแบบปกติที่โรงเรียนได้
โรงเรียนมีนโยบายในการแจกอุปกรณ์การเรียนโดยผ่านผู้ปกครอง
ลำนำมาส่งในวันที่โรงเรียนนัดหมาย
4. การสร้างแรงจูงใจด้วยการกำหนดรางวัลอย่างหลากหลายเพื่อให้นักเรียนสนใจปฏิบัติกิจกรรม
11. ข้อค้นพบ
1. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทุกรายวิชาส่งผลต่อการประเมินผลการเรียนรู้ที่สะดวก
รวดเร็ว และเที่ยงตรง
2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมถุงปัญญาภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก
วัดจากแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม
3. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม
4. นักเรียนมีกำลังใจในการเรียนรู้เนื่องจากได้รับรางวัล