แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning วิชาวิทยาศาสตร์






 💖💖บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้💖💖



 

จากคุณครูพรพรรณ   ปิ่นเงิน   

 

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

สรุปรายละเอียดพอสังเขป  ได้ดังนี้ ครับ



แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning

วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาศาสตร์)    รหัสวิชา ว15101   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

หน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ     

เวลา 3 ชั่วโมง      ครูผู้สอน   นางพรพรรณ  ปิ่นเงิน

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดชั้นปี

มาตรฐาน ว  1.1   เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิต

กับสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ การถ่ายทอด

พลังงาน การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบบนิเวศ ความหมายของประชากรปัญหาและผลกระทบ

ที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการ

แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด

       ว 1.1 ป.5/3 เขียนโซ่อาหารและระบุบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคในโซ่อาหาร

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

2.1 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ และระบุบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิต

และผู้บริโภคในโซ่อาหารได้ (P)

   2.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ (K)

   2.3 เป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด ช่างสงสัย และเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการเสาะแสวงหาความรู้ และมีจิตวิทยาศาสตร์ (A)

3. สาระสำคัญ

โซ่อาหาร คือ ความสัมพันธ์รูปแบบการกินกันเป็นทอดๆ โดยแสดงลำดับการถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมี

ชีวิต จากพืช (ผู้ผลิต) ไปสู่สัตว์กินพืช (ผู้บริโภค)  และจากสัตว์กินพืชไปสู่สัตว์กินเนื้อ (ผู้บริโภค) อีก

ทอดหนึ่ง

4. สาระการเรียนรู้

   นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ รูปแบบโซ่อาหาร เพื่อ

ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ผ่านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการสืบเสาะ

หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตอบคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ

5. การบูรณาการทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (3R 8C)

 ☑ Reading (อ่านออก) : การอ่านบทเรียน

 ☑ (W)Riting (เขียนได้) : การเขียนความสัมพันธ์ของโซ่อาหาร

 ☑ (A)Rithmetic (คิดเลขเป็น) : การจัดลำดับผู้บริโภค

 ☑ Critical Thinking and Problem Solving : นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสิ่งมี

ชีวิตรูปแบบโซ่อาหาร

 ☑ Creativity and Innovation : นักเรียนสามารถจัดทำชิ้นงานเชิงสร้างสรรค์รูปแบบโซ่อาหารของ

กลุ่มตนเองได้

 ☑ Collaboration Teamwork and Leadership : นักเรียนสามารถทำงานรูปแบบกระบวนการกลุ่ม

ได้

 ☑ Communication Information and Media Literacy : นักเรียนสามารถสื่อสารด้วยการแสดง

บทบาทสมมติ และสืบค้นข้อมูลได้อย่างรู้เท่าทันสื่อ

 ☐ Cross-cultural Understanding

 ☑ Computing and ICT Literacy : นักเรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลสิ่งมีชีวิตได้

 ☑ Career and Learning Skills : นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

 ☑ Compassion : นักเรียนมีคุณลักษณะพื้นฐานของเด็กไทย สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี

ความสุข

6.การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 👉  ครูผู้สอน

พอประมาณ : ครูออกแบบการจัดกิจกรรม ตรงตามตัวชี้วัด

เลือกสื่อ แหล่งเรียนรู้เหมาะสมและวัดผลประเมินผลตรงตามเนื้อหา

มีเหตุผล : ครูออกแบบการเรียนรู้ส่งเสริมกระบวนการคิด

มีภูมิคุ้มกัน : ครูศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้า

เงื่อนไขความรู้ : ครูรู้จักเทคนิคการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิด มีความรอบรู้ในเรื่องที่จัดกิจกรรมการ

เรียนรู้

เงื่อนไขคุณธรรม : ครูมีความขยัน เสียสละ และมุ่งมั่นในการจัดหาสื่อมาพัฒนานักเรียนให้บรรลุตามจุด

ประสงค์

 👉  นักเรียน

พอประมาณ : ใช้เวลาในการทำกิจกรรมและเลือกสมาชิกกลุ่มได้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เรียนและศักยภาพ

ของตน

มีเหตุผล : ฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม

มีภูมิคุ้มกัน : วางแผนการศึกษาใบงาน/ใบกิจกรรม/หนังสือเรียนล่วงหน้า

เงื่อนไขความรู้ : มีความรู้ความความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ จนสามารถบรรลุตามจุด

ประสงค์การเรียนรู้

เงื่อนไขคุณธรรม : มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม

7.การบูรณาการกระบวนการประชาธิปไตย

7.1 นักเรียนมีเสรีภาพในการจัดกลุ่มทำกิจกรรมการเรียนรู้

   7.2 นักเรียนมีสิทธิ์ในการเลือกหัวหน้ากลุ่มและมีความเสมอภาคในการแบ่งหน้าที่ต่างๆในกลุ่ม

 1. ความสามารถในการสื่อสาร

 2. ความสามารถในการคิด

 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

8. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

 1. ความสามารถในการสื่อสาร

 2. ความสามารถในการคิด

 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

9. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์    

 2. ซื่อสัตย์สุจริต  

 3. มีวินัย                    

 4. ใฝ่เรียนรู้

 5. อยู่อย่างพอเพียง       

 6. มุ่งมั่นในการทำงาน

 7. รักความเป็นไทย          

 8. มีจิตสาธารณะ

10. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

ขั้นที่ 1  สร้างความสนใจ (engagement)

   1. ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการทบทวนความรู้เดิม เกี่ยวกับความหมายของโซ่อาหาร ผู้ผลิต และผู้

บริโภค

   2. ครูให้นักเรียนดูสื่อพีระมิดสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ พร้อมทั้งร่วมกันวิเคราะห์พื้นที่แต่ละชั้นของ

พีระมิด (จากสื่อต้นไม้พีระมิดสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ) จากนั้นนำเข้าสู่กิจกรรมกลุ่ม

ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา (exploration)

   1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ด้วยกระบวนการประชาธิปไตย จากนั้นครูแจกบัตรภาพสิ่งมี

ชีวิตต่างๆ ให้นักเรียนกลุ่มละ 2 ภาพ

   2. ครูตั้งคำถามดังนี้

          - ภาพสิ่งมีชีวิตที่แต่ละกลุ่มได้รับควรอยู่ตำแหน่งใดของ พีระมิดสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ เพราะ

เหตุใด (เช่น ภาพพืชควรอยู่ที่ฐานของพีระมิด เพราะผู้ผลิตมีมากที่สุดในระบบนิเวศ)

   3. ครูนำเข้าสู่กิจกรรมหมวกบทบาทสมมติ โดยให้นักเรียน 4 คนสวมหมวกที่ระบุข้อความ “ผู้ผลิต” 

“ผู้บริโภคลำดับที่ 1”

“ผู้บริโภคลำดับที่ 2” และ “ผู้บริโภคลำดับที่ 3” จากนั้นให้นักเรียนยืนเรียงลำดับให้ถูกต้องตามตำแหน่ง

โซ่อาหาร

ขั้นที่ 3  อธิบายและลงข้อสรุป (explanation)

   1. ครูให้นักเรียนในกลุ่มที่เหลืออีก 2 คนเลือกบัตรภาพสิ่งมีชีวิตติดที่หมวกทั้ง 4 ใบ จากนั้นให้

นักเรียนตัวแทนที่สวมหมวกแสดงบทบาทสมมติในระบบนิเวศ

   2. ครูและนักเรียนลงข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตต่างๆในโซ่อาหารตัวอย่าง

ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (elaboration)

   1. ครูติดบัตรภาพสิ่งมีชีวิตได้แก่ งู ตั๊กแตน หนอน แตงโม พังพอน และกิ้งก่า บนกระดาน

   2. ครูให้นักเรียนช่วยกันเรียงบัตรภาพสิ่งมีชีวิตตามความสัมพันธ์รูปแบบโซ่อาหาร

   3. จากนั้นครูมอบหมายให้นักเรียนร่วมกันออกแบบชิ้นงานเชิงสร้างสรรค์ “โซ่อาหาร” โดยการเลือกใช้

วัสดุที่สร้างสรรค์ร่วมกัน

   4. นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำชิ้นงานเชิงสร้างสรรค์ “โซ่อาหาร” ของกลุ่มตนเอง โดยมีเงื่อนไขคือแต่ละ

กลุ่มห้ามซ้ำกัน

   5. นักเรียนตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลงานเชิงสร้างสรรค์ “โซ่อาหาร” ของกลุ่มตนเอง

   6. ครูเสริมความรู้ว่าสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตเมื่ออาศัยอยู่ร่วมกันจะมีความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ 

เช่นความสัมพันธ์ในรูปแบบโซ่อาหาร และหลายๆโซ่อาหารรวมกันคือสายใยอาหาร ซึ่งเป็นการถ่ายทอด

พลังงานผ่านการกิน

ขั้นที่ 5  ประเมิน (evaluation)

   ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนี้ สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะทำงานร่วมกัน สังเกต

การตอบคำถามของนักเรียนในชั้นเรียน ประเมินแผนภาพความคิด และประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 

โดยใช้แบบประเมินตามสภาพจริง 

11. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้                               

   11.1 ต้นไม้พีระมิดสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

   11.2 หมวกบทบาทสมมติ “โซ่อาหาร”

   11.3 บัตรภาพสิ่งมีชีวิต

   11.4 วัสดุทำชิ้นงานเชิงสร้างสรรค์ เช่น จานกระดาษ กระดาษ สี กรรไกร กาว เป็นต้น

12. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

   12.1 แบบประเมินชิ้นงานเชิงสร้างสรรค์

เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินการจัดกระทำชิ้นงานเชิงสร้างสรรค์ “โซ่อาหาร”

   12.2 แบบประเมินกระบวนการกลุ่ม



 


 

จากคุณครูพรพรรณ   ปิ่นเงิน   

 

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพ ได้ดังนี้ ครับ












 





 

จากคุณครูพรพรรณ   ปิ่นเงิน   

 

เป็นไฟล์ Word   แก้ไขได้  

 

ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ


https://drive.google.com/file/d/10jm48ZopmocKJ5SflNqsQq6RvGjJC1To/view?usp=sharing 



fullWidth
ใหม่กว่า เก่ากว่า