✅💯🎯บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้✅💯🎯
ขอแนะนำไฟล์ สคริปแนวทางการจัดทำวีดีทัศน์แรงบันดาลใจ
เครดิต : คุณครูสุทธิพงษ์ บรรยงค์
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียดได้ดังนี้ ครับ
สคริปแนวทางการจัดทำวีดีทัศน์แรงบันดาลใจ
ประกอบการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ (PA) สายครูผู้สอน (ว9)
ตอนที่ 1
(แนะนำตัวเองและบริบททั่วไป)
เรียนคณะกรรมการ................................................................................................................................
ชื่อ.....................................................................นามสกุล.....................................................................................
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง.......................................วิทยฐานะ....................................................................................
ปฏิบัติหน้าที่สอนรายวิชา..................................รหัสวิชา......................................................................................
ชั้น.....................................................................กลุ่มสาระการเรียนรู้...................................................................
โรงเรียน.............................................................สำนักงานพื้นที่............................................................................
เสนอขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ.....................................กลุ่มสาระการเรียนรู้...........................................
ซึ่งได้ปฏิบัติงาน
(ตามระดับความความหวังของวิทยฐานะที่ขอมีหรือเลื่อน)
ตัวอย่าง
เรียนคณะกรรมการผู้ประเมินการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะที่เคารพทุกท่าน
ข้าพเจ้า นายสุทธิพงษ์ บรรยงค์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปฏิบัติการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ อ่าน-เขียน
รหัสวิชา อ32205 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
โดยได้เสนอขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะเป็น
ครูเชี่ยวชาญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ซึ่งได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง โดยการคิดค้น
พัฒนานวัตกรรม และปรับเปลี่ยนให้คุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสูงขึ้น โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอนซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้
ตอนที่ 2
(กล่าวสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน)
...........................................เล่าถึงสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่ขอมีหรือเลื่อน
วิทยฐานะตามบริบทของผู้เรียนและหลักสูตรสถานศึกษา...................................................................................
............................................................................................................................................................................
ตัวอย่าง
จากการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน รหัสวิชา อ32205 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 Comprehension ผู้สอนได้วิเคราะห์สภาพปัญหาจากการดำเนินการผ่านกระบวนการPLCและสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ
พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ขาดความกระตือรือร้นในการเรียนภาษาอังกฤษ
โดยเฉพาะทักษะการอ่าน พบว่า นักเรียนไม่ชอบอ่านหนังสือ ขาดทักษะในการอ่าน
ไม่เข้าใจความหมายของคำ กลุ่มคำ ประโยค
จึงไม่สามารถสรุปใจความสำคัญหรือความคิดรวบยอด
ตีความและคิดวิเคราะห์ที่เชื่อมโยงความรู้ไปประยุกต์ใช้ในบริบทหรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
ทำให้ไม่สามารถตอบคำถามจากแบบทดสอบได้ นอกจากนี้นักเรียนยังขาดความ พึงพอใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
เพราะนักเรียนคิดว่าภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่ยาก
เรียนแล้วไม่ได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยจำเป็นต้องค้นคว้าหาวิธีการและสื่อการเรียนการสอนเพื่อนำมาปรับปรุงการการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ
ตอนที่ 3
แนวทางการแก้ปัญหา (กล่าวถึงการนำเทคนิค
วิธีการสอน กรอบแนวคิดการดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่จะแก้ปัญหาผู้เรียน)
.................................................เล่าถึงการศึกษาค้นคว้า
วิธีการสอนต่าง ๆ
กรอบแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนด....................................................
..............................................................................................................................................................................
ตัวอย่าง
จากปัญหาดังกล่าว ข้าพเจ้าได้ศึกษาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นทักษะการอ่าน
ได้มีการทดลองใช้เทคนิคและวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เพื่อจะหาว่าวิธีใดที่ดีและเหมาะสมที่สุด
ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในการอ่าน เพราะถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจหรือจับใจความสำคัญจากสิ่งที่อ่านไม่ได้ก็ไม่เกิดประโยชน์
ซึ่งในการสอนอ่านภาษาอังกฤษมีทฤษฎีและรูปแบบการสอนต่าง ๆ
ที่สำคัญที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและท้าทายให้ผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็นมากยิ่งขึ้น
การสอนเทคนิคการอ่านถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนสามารถอ่านและเข้าใจความหมายจากสิ่งที่อ่านได้แล้ว
เทคนิคการอ่านยังจะช่วยให้นักเรียนสามารถเป็นผู้อ่านที่สามารถพึ่งพาตนเองได้
ไม่ว่าจะอ่านงานเขียนประเภทใดก็ตาม หรือเมื่อพบปัญหาในการอ่าน ผู้อ่านจะสามารถปรับวิธีการเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น
จนสามารถบรรลุเป้าหมายของการอ่านได้ การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษทำได้หลายวิธี
เช่น วิธีสอนทักษะการอ่านแบบ SQ3R วิธีสอนทักษะการอ่านแบบ
SQ4R วิธีสอนทักษะการอ่านแบบ
MIA วิธีสอนทักษะการอ่านแบบ STAD วิธีสอนทักษะการอ่านแบบ
DR-TA ซึ่งแต่ละเทคนิคจะมีขั้นตอนและวิธีการการสอนการอ่านที่แตกต่างกันออกไป
วิธีสอนทักษะการอ่านแบบ KWL-Plus ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
วิธีการสอนแบบ
KWL-Plus เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการอ่าน โดยผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่ในกระบวนการอ่าน
มีการวางแผนตั้งจุดหมายว่าตนเองต้องการอะไรและตรวจสอบว่าได้บรรลุเป้าหมายที่ตนวางไว้หรือไม่
ซึ่งมีขั้นตอน คือ K ย่อมาจาก What I Know เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบหัวข้อเรื่องว่าตนเองมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องมากน้อยเพียงใด
W ย่อมาจาก What I Want to Know เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องถามตนเองว่าต้องการรู้อะไรในเนื้อเรื่องที่จะอ่านบ้าง
โดยเป็นการตั้งเป้าหมายในการอ่าน L ย่อมาจาก What I Have Learned เป็นขั้นตอนที่นักเรียนสำรวจว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่านและจดบันทึกสิ่งที่ตนเองเรียนรู้
และ Plus หมายถึง เป็นการสร้างผังมโนทัศน์ ทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ด้วยการพูดสรุปความในตอนท้ายหลังจากการเขียนผังมโนทัศน์ ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายของการอ่านได้
ตอนที่ 4
(วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล)
...............................................เล่าถึงลำดับขั้นตอนในการนำวิธีการสอน
หรือนำนวัตกรรม ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน.................................................................................................................................
ตัวอย่าง
ข้าพเจ้าได้นำวิธีการสอนแบบ KWL-Plus มาพัฒนาและออกแบบเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(E-book)
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus มีระยเวลาตั้งแต่ ธ.ค. 64
- ก.ย. 65 โดยมีวิธีการดำเนินการ ดังนี้
1. สำรวจสภาพปัญหา
พบว่า นักเรียนขาดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
2. ศึกษามาตรฐาน ตัวชี้วัด หลักการ ทฤษฎี
เกี่ยวกับการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยได้เลือกใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus
3. ออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus ตามแนวทางของ ADDIE Model
4. ทดลองใช้และปรับปรุงกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
6. ใช้นวัตกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
7. ประเมินและสรุปผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus
ตอนที่ 5 (ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่คาดหวัง)
...............................เล่าถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากที่ใช้วิธีการสอน
หรือนวัตกรรม ที่นำไปใช้กับผู้เรียนหรือพัฒนาผู้เรียน
และชิ้นงานของผู้เรียน.............................................................................................
ตัวอย่าง
จากการที่ข้าพได้นำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(E-book)
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus รายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน รหัสวิชา อ32205
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2
ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้กับผู้เรียน ดังนี้
1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ที่เรียนรายวิชาภาษารายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน
รหัสวิชา อ32205
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(E-book)
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ
75.77
ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้คือร้อยละ 70
2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2 ที่เรียนรายวิชาภาษารายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน
รหัสวิชา อ32205
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus มีสมรรถนะการคิด (C) และคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ (A)
ร้อยละ 88.85 ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้คือร้อยละ
70
3.
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
ที่เรียนรายวิชาภาษารายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน
รหัสวิชา อ32205
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus มีชิ้นงานสรุปองค์ความรู้ในเรื่องที่อ่าน
คือ
นำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปสรุปความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
เช่น ผังมโนทัศน์ (Mind Mapping) วิดีโอคลิป จำนวน 38
คน คิดเป็นร้อยละ 100
ตอนที่ 6 (สรุป)
..................................วิธีการสอน
นวัตกรรมที่นำมาใช้แก้ไขปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน
และข้อเสนอแนะ..............................................................................................................................................................................
ตัวอย่าง
จากการที่ข้าพเจ้าได้นำเอาวิธีการสอนแบบ KWL-Plus มาออกแบบเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(E-book) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
รายวิชาภาษารายวิชาภาษาอังกฤษ อ่าน-เขียน รหัสวิชา อ32205
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
พบว่า ผู้เรียนสามารถนำวิธีการ KWL-Plus ไปการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ
และความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยแต่ละขั้นตอนจูงใจให้นักเรียนอ่านจับใจความ
และการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยละเอียด และพัฒนา ทักษะการเขียนสรุปความได้เช่นเดียวกันจากขั้นการเขียนสรุปความจากแผนภูมิรูปภาพ
สิ่งที่ครูควรพัฒนาต่อไปคือ การนำวิธีการสอนแบบ KWL-Plus
ไปใช้กับเนื้อหาและแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาในหน่วยหรือเนื้อเรื่องอื่น
ๆ
****************สวัสดีครับ**************
ขอแนะนำไฟล์ สคริปแนวทางการจัดทำวีดีทัศน์แรงบันดาลใจ
เครดิต : คุณครูสุทธิพงษ์ บรรยงค์
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
สรุปรายละเอียดเป็นรูปภาพได้ดังนี้ ครับ
ขอแนะนำไฟล์ สคริปแนวทางการจัดทำวีดีทัศน์แรงบันดาลใจ
เครดิต : คุณครูสุทธิพงษ์ บรรยงค์
เป็นไฟล์ Word แก้ไขได้
ดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้ นะครับ