เผยแพร่ผลงานวิจัยในชั้นเรียน 5 บท

เผยแพร่ผลงานวิจัยในชั้นเรียน 5 บท

 





💢💢บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 💢💢  


ขอแนะนำไฟล์  เผยแพร่ผลงานวิจัยในชั้นเรียน 5 บท


จากคุณครู จริญา    อินทร์ถาวร


  เป็นไฟล์ word  แก้ไขได้



สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ


การจัดทำวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการใช้เกมโอเอ็กซ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการแยกสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านนาทุ่งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการใช้เกมโอเอ็กซ์ เรื่องการแยกสาร ที่เหมาะสมกับสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และเพื่อศึกษาผลของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการใช้เกมโอเอ็กซ์ เรื่องการแยกสารของบทเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาทุ่งภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้จะได้นำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
ผู้วิจัยขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาทุ่งที่ให้คำปรึกษา คำแนะนำ เพื่อจัดทำรายงานวิจัยฉบับนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และขอขอบคุณนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านนาทุ่งทุกคน ที่ได้ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มา ณ โอกาสนี้


จริญา  อินทร์ถาวร


ชื่อผู้วิจัย   :  นางจริญา  อินทร์ถาวร
ชื่อเรื่อง    :  การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการใช้เกมโอเอ็กซ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการแยกสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563  โรงเรียนบ้านนาทุ่ง
ปีการศึกษา :  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการใช้เกมโอเอ็กซ์ เรื่องการแยกสาร ที่เหมาะสมกับสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และเพื่อศึกษาผลของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการใช้เกมโอเอ็กซ์ เรื่องการแยกสารของบทเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 23 คน ปีการศึกษา 2563  โรงเรียนบ้านนาทุ่ง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สื่อ การแยกสาร การแยกสาร ใบงานเชิงสร้างสรรค์ และเกมโอเอ็กซ์ โดยนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ระหว่างการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมเชิงรุกเพื่อเรียนรู้เรื่องการแยกสาร หลังจากจบการเรียนการสอนสรุปความรู้ด้วยการใช้เกมโอเอ็กซ์  และทดสอบความรู้ความเข้าใจด้วยการทำแบบทดสอบท้ายหน่วย จากนั้นผู้วิจัยจึงประเมินวิเคราะห์ความเหมาะสมของการจัดการเรียนรู้ และประเมินวิเคราะห์ความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน
ผลการวิจัยปรากฏว่า หลังการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการใช้เกมโอเอ็กซ์  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการแยกสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้ว ผู้วิจัยพบว่าการใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกและการใช้เกมโอเอ็กซ์  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการแยกสาร ดังงานวิจัยนี้
1. การใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการใช้เกมโอเอ็กซ์มีความเหมาะสมกับ เรื่องการแยกสาร วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื่องจากนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ มีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปใช้ได้
2. การใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการใช้เกมโอเอ็กซ์ สามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องการแยกสาร วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ โดยหลังจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ นักเรียนสามารถทำแบบฝึกหัด/ใบงาน , ทำกิจกรรม เกมโอเอ็กซ์เกมโอเอ็กซ์
   2.1. ผลการวิเคราะห์ระดับคุณภาพในการทำแบบฝึกหัด/ใบงานของนักเรียนรายบุคคลนั้น พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 23 คน สามารถทำแบบฝึกหัด/ใบงานเรื่องการแยกสาร มีระดับคุณภาพดีมาก ร้อยละ 65.22 คุณภาพดี ร้อยละ 13.04 และ คุณภาพพอใช้ ร้อยละ 21.74
   2.2. ผลแสดงการวิเคราะห์ระดับคุณภาพในกิจกรรมเกมโอเอ็กซ์การแยกสารของนักเรียนรายกลุ่มนั้น พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 23 กลุ่ม สามารถทำกิจกรรมเกมโอเอ็กซ์เรื่องการแยกสาร มีระดับคุณภาพดีมาก ร้อยละ 65.22 คุณภาพดี ร้อยละ 17.39และ คุณภาพพอใช้ ร้อยละ 17.39
   2.3. คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนของนักเรียนเท่ากับ   4.26 คะแนนและคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  
ดังนั้นสรุปได้ว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการใช้เกมโอเอ็กซ์ เรื่องการแยกสารเหมาะสมกับวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียนได้

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
วิทยาศาสตร์ “Science“ มาจากคำว่า Scientic ในภาษาลาติน แปลว่า ความรู้ (Knowledge) ฉะนั้น วิทยาศาสตร์คือ ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับ ธรรมชาติที่มนุษย์ สะสมมาแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต อย่างไม่รู้จักจบสิ้น (ทบวง, 2533) นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ที่มีระบบและจัดไว้อย่างมีระเบียบแบบแผนโดยทั่วไปกระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (The Process of Science) วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์ และมีบทบาทสำคัญ ต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทาง วิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ 
จากสภาพปัญหาการเรียนในปัจจุบัน การพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดี ย่อมทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ของหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้เป็นผู้ค้นพบความรู้ ด้วยตนเองมากที่สุด ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้เกิดแนวคิดที่จะพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาให้นักเรียนที่ยังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์อย่างไม่เข้าใจและไม่มีทิศทางได้เข้าใจเนื้อหาสาระและกระบวนการต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ และไม่ชอบวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ พร้อมกับปลูกจิตวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยได้เลือกนวัตกรรมหลายๆ อย่าง และนวัตกรรมที่ผู้วิจัยคิดว่าน่าจะแก้ปัญหาเรื่องการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดีวิธีหนึ่งคือการนำกระบวนการการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบกับการใช้เกมโอเอ็กซ์เพื่อเสริมการใช้กระบวนการคิดเชิงเปรียบเทียบในสาระเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการเรียนรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ตลอดจนกิจกรรมที่จะทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น และเกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง


เผยแพร่ผลงานวิจัยในชั้นเรียน 5 บท  แก้ไขได้ 

เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการ

เรียนรู้เชิงรุกและการใช้เกมโอเอ็กซ์ เพื่อสร้างความเข้าใจ

 เรื่องการแยกสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563


ตัวอย่างไฟล์




เครดิต  : ครูจริญา   อินทร์ถาวร   โรงเรียนบ้านนาทุ่ง

แบบฟอร์มลงทะเบียนเผยแพร่ผลงาน





ดาวน์โหลดไฟล์คลิกที่นี่


{fullWidth}
ใหม่กว่า เก่ากว่า