💖💖สวัสดีพี่น้องเพื่อนครูทุกๆ ท่านครับ💖💖
พบกับผมเช่นเคยครับ บทความนี้จะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อการพัฒนา
สมรรถนะการอ่านขั้นสูงโดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น สู่ความสำเร็จในการอ่านจับใจความ
สำคัญ กับพี่น้องเพื่อนครูทุกๆ ท่านครับ ซึ่งมีเนื้อหาใจความสำคัญดังนี้ ครับ
การพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูงโดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น
สู่ความสำเร็จในการอ่านจับใจความสำคัญ
การจับใจความสำคัญเป็นทักษะพื้นฐานที่ผู้เรียนจำเป็นต้องมีเพื่อที่จะสามารถรับสารผ่านการอ่านหรือ
การฟังได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องตรงประเด็น นอกจากนี้การจับใจความสำคัญได้อย่างแม่นยำยังช่วยให้ผู้รับสาร
สามารถใช้ทักษะทางภาษาขั้นสูงยิ่งขึ้น กล่าวคือ สามารถนำใจความสำคัญจากสิ่งที่ได้อ่านหรือสิ่งที่ได้ฟังมา
วิเคราะห์ ตีความ ประเมินค่า และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การจับใจความสำคัญจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เรียน
ควรศึกษาและหมั่นฝึกฝนให้เกิดความชำนาญเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและการทำงานอื่น ๆ
ต่อไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน
การอ่าน คือ การถอดรหัสจากตัวหนังสือและรูปมาเป็นความหมาย
การรู้จักความหมายของคำ
การอ่านจะเริ่มจากผู้อ่านต้องรู้ความหมายของคำในภาษาที่อ่าน
และในกรณีที่เป็นการอ่าน ออกเสียง
ผู้อ่านก็ต้องสามารถแปลสัญลักษณ์ตัวอักษรกลับเป็นเสียงได้ การอ่านข้อความที่มีขนาดยาว
ยิ่งผู้อ่านรู้ความหมายของคำก็จะทำให้เข้าใจเรื่องได้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม
แม้จะมีบางคำที่ผู้อ่านอาจไม่รู้ความหมายมาก่อน แต่ก็สามารถพิจารณาความหมายของคำแวดล้อม
ในบริบท (คำ ข้อความ
หรือสถานการณ์แวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของภาษาหรือของถ้อยคำ) ประกอบ เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของข้อความได้
ความหมายของคำ
1. คำที่มีความหมายโดยตรง หรือความหมายประจำคำ หมายถึง คำที่มีความหมายตรง ตามเนื้อความ
เป็นคำที่มีความหมายประจำคำตามพจนานุกรม
ซึ่งเป็นความหมายที่คนส่วนใหญ่เข้าใจตรงกัน เช่น เต่า (ความหมายโดยตรง) พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2544 ให้ความหมายว่า “ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายวงศ์ ในอันดับ Testudines คอยาว
ลำตัวสั้น มีกระดองหุ้ม กระดองมีทั้งที่เป็นแผ่นเกล็ด แข็งและที่เป็นแผ่นหนัง
ขาและหางสั้นส่วนใหญ่หดเข้าไปในกระดองได้ มีถิ่นอาศัยต่าง ๆ กัน ที่อยู่บนบก เช่น เต่าเหลือง
ที่อยู่ในน้ำจืด เช่น เต่านา ที่อยู่ในทะเล เช่น เต่าตนุ
พวกที่มีหนังหุ้มกระดองเรียก ตะพาบ เช่น ตะพาบสวน”
2. คำที่มีความหมายโดยนัย หมายถึง คำที่มีความหมายซ่อนเร้นอยู่ในความหมายโดยตรง
เป็นความหมายของคำที่ทำให้นึกถึงสิ่งอื่น ๆ
ต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ใช้ภาษาหรือบริบทของคำจึงจะ เข้าใจ เช่น เต่า (ความหมายโดยนัย)
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2544 ให้ความหมายว่า
“โดยปริยายหมายความว่า โง่ หรือ เชื่องช้า” เต่าที่เลี้ยงไว้ในสระชอบกินผักบุ้ง
เธอนี่เต่าจริง ๆ ป่านนี้ยังทำงานไม่เสร็จอีกหรือ
ลักษณะของข้อความในแต่ละย่อหน้า
ธรรมชาติของการเขียนนั้น การนำเสนอความคิดหรือความรู้ในงานเขียนมักปรากฏในรูปแบบย่อหน้า
หลายย่อหน้าที่มีเนื้อความต่อเนื่องกัน ผู้เรียนจึงควรทราบก่อนว่า
ในหนึ่งย่อหน้านั้นมีองค์ประกอบลักษณะใดบ้าง เพื่อจะช่วยให้หาใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้าได้ง่ายขึ้น
ในย่อหน้าหนึ่งนั้นจะมีลักษณะข้อความที่แตกต่างกัน อาจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ ใจความ สำคัญและส่วนขยายใจความสำคัญ
1. ใจความสำคัญหรือความคิดหลัก (main
idea) คือ ข้อความที่เป็นแก่นของเนื้อหาที่มีสาระ ครอบคลุมเนื้อความอื่น
ๆ ในย่อหน้าหรือในเรื่องนั้น ๆ ใจความสำคัญนี้อาจปรากฏเป็นประโยคเรียกว่า ประโยค ใจความสำคัญ
สามารถเห็นได้ชัดเจนที่ต้นย่อหน้า หรือท้ายย่อหน้า หรือกลางย่อหน้า
หรือปรากฏที่ต้นและท้าย ย่อหน้า หรืออาจไม่ปรากฏประโยคใจความสำคัญให้เห็นชัดเจนแต่แฝงอยู่ในเนื้อความ
2. ส่วนขยายใจความสำคัญหรือพลความ
อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ใจความรองหรือความคิดรอง (major supporting details) คือ ข้อความที่เป็นส่วน ขยายหรือสนับสนุนใจความสำคัญเพื่อให้เกิดความกระจ่าง
ทำให้เกิดความสมเหตุสมผล ทำให้ใจความสำคัญ ชัดเจนขึ้น
2. รายละเอียด (minor supporting details) คือ
ข้อความที่เป็นส่วนขยายใจความรอง หรือใจความสำคัญให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
รายละเอียดนั้นอาจเป็นการยกตัวอย่าง การเปรียบเทียบ สถิติตัวเลข การอ้างอิง คำกล่าวของบุคคล
และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เสริมความเข้ามา
สรุปเป็นรูปภาพได้ดังนี้ ครับ
💕💕💕บทความนี้ขอนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพียงเท่านี้
บทความหน้าจะมาต่อจากเรื่องนี้..........ครับ
ฝากติดตาม กดไลน์ กดแชร์ให้กับแอดมินด้วย นะครับ
ขอบคุณมากครับ 💕💕💕