แผนการเรียนรู้วิทยาศาตร์ป.1-ป.6

แผนการเรียนรู้วิทยาศาตร์ป.1-ป.6








💢💢บทความนี้ วิทยฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 


ขอแนะนำไฟล์  แผนการเรียนรู้วิทยาศาตร์ป.1-ป.6


โดยสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)


  เป็นไฟล์ word💢💢  


สรุปรายละเอียดพอสังเขป ได้ดังนี้ ครับ




💢💢กระบวนการพัฒนาผู้เรียนสู่คุณภาพในศตวรรษที่ 21 

ตามมาตรฐานสากล💢💢 


         การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

สภาพแวดล้อม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อพัฒนาและ

เสริมสร้างศักยภาพคนของชาติให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการยกระดับ

คุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 โลก

ในศตวรรษที่ 21 และทัดเทียมกับนานาชาติ ผู้เรียนมีศักยภาพในการแข่งขันและดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์

ในประชาคมโลก ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สถานศึกษาจึงต้องจัดการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระตุ้นให้ผู้เรียน

ได้ใช้กระบวนการคิด โดยผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้จัดบรรยากาศเชิงบวก สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียน

ต้องการเรียนรู้ ฝึกให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติและสรุปเป็นความรู้ฝังแน่น ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เกิด

จากประสบการณ์ของตนเอง แล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวันตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ให้

สอดคล้องกับเป้าหมายของการเรียนรู้ จึงได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Backward Design ทั้ง

แผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน มุ่งเน้น

การเสริมสร้างความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเป็น

ไปตามปฏิญญาว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO ได้แก่ 

Learning to know: หมายถึง การเรียนเพื่อให้มีความรู้ในสิ่งต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อไป ได้แก่

การรู้จักการแสวงหาความรู้ การต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ และรวมทั้งการสร้างความรู้ขึ้นใหม่ 

Learning to do: หมายถึง การเรียนเพื่อการปฏิบัติหรือลงมือทำ ซึ่งนำไปสู่การประกอบอาชีพ

จากความรู้ที่ได้ศึกษามา รวมทั้งการปฏิบัติเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม

Learning to live together: หมายถึง การเรียนรู้เพื่อการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความ

สุข ทั้งการดำเนินชีวิตในการเรียน ครอบครัว สังคม และการทำงาน
 
Learning to be: หมายถึง การเรียนรู้เพื่อให้รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ รู้ถึงศักยภาพ ความถนัด ความ

สนใจของตนเอง สามารถใช้ความรู้ความสามารถของตนเองให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เลือกแนวทางการ

พัฒนาตนเองตามศักยภาพ วางแผนการเรียนต่อการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพของตนเองได้

ทั้งนี้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลกเทียบเคียงได้กับนานา

อารยประเทศ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพที่สำคัญ ดังนี้ 

1. ความรู้พื้นฐานในยุคดิจิทัล (Digital-Age Literacy) มีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นทางวิทยาศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษา ข้อมูลสารสนเทศและทัศนภาพ (Visual & Information Literacy) 

รู้พหุวัฒนธรรม และมีความตระหนักสำนึกระดับโลก (Multicultural Literacy & Global Awareness) 

2. ความสามารถคิดประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ (Inventive Thinking) มีความสามารถในการปรับตัว

 สามารถจัดการสภาวการณ์ที่มีความซับซ้อน เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้ สามารถกำหนดหรือตั้งประเด็นคำถาม

 (Hypothesis Formulation) เพื่อนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ มีความสามารถในการคิด

วิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ ข้อมูลสารสนเทศ และสรุปองค์ความรู้ (Knowledge Formulation) ใช้ข้อมูลเพื่อ

การตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
 
3. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication) ความสามารถในการรับและส่ง

สาร การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา

ถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ

ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งมีทักษะในการเจรจาต่อรองเพื่อ

ขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ตลอดจนสามารถเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึง

ผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 

4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต (Life Skill) ความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน

การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคม 

เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม สามารถจัดการปัญหาและความขัด

แย้งต่าง ๆ และนำไปสู่การปฏิบัติ สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม นำไปสู่การใช้ให้เกิดประโยชน์

ต่อสังคม การบริการสาธารณะ (Public Service) รวมทั้งการเป็นพลเมืองไทยและพลโลก (Global Citizen) 

5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้ และวิธีการที่หลากหลาย

 (Searching for Information) เลือกใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อ

การพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง

 เหมาะสม และมีคุณธรรม
 
นอกจากนี้ยังมีผู้กล่าวถึงประสบการณ์จริงของผู้เรียนในยุคของการสื่อสารโลกไร้พรมแดน

บนความหลากหลายของพหุวัฒนธรรม การเพิ่มพูนสมรรถนะผู้เรียนให้สามารถครองชีวิตในโลกยุคใหม่นี้

ควรประกอบไปด้วยสมรรถนะสำคัญ ดังนี้ 

GPAS 5 Steps การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดและสร้างความรู้โดยผู้เรียน
 
ดังได้กล่าวถึงแล้วในตอนต้นว่าโลกยุคใหม่ต้องเตรียมคนให้พัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ เจตคติ 

และค่านิยม อย่างสมดุลทุกด้านเพื่อการดำเนินชีวิต ด้วยการสร้างงาน สร้างอาชีพ และอยู่ร่วมกันในสังคม

พหุวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ยั่งยืน มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหาอย่าง

สร้างสรรค์ และริเริ่มผลิตผลงานด้วยเจตคติ และค่านิยมเพื่อความยั่งยืนของโลก จึงเป็นเป้าหมายสำคัญ

ในการพัฒนาผู้เรียน เพื่อความร่วมมือในภูมิภาคและการแข่งขันในโลกอาชีพ นวัตกรรมกระบวนการจัด

การเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด การสร้างความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ผลิตผลงานด้วยค่านิยมเพื่อสังคม

 เพื่อโลก สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยนำมาใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

  ทักษะการคิดและกระบวนการเรียนรู้ GPAS 

กลุ่มนักวิชาการและนักการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ ได้สังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ GPAS มา

จากแนวคิดทางพุทธศาสนาที่กล่าวถึง ปัญญา 3 ได้แก่ 

1. สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการสดับรู้การเล่าเรียน หรือปัญญาที่เกิดจากปรโตโฆสะ 

2. จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาหาเหตุผล หรือปัญญาที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ และ
 
3. ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฝึกอบรมลงมือปฏิบัติหรือปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญ

 (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต): 2548) และแนวคิดโครงสร้าง 3 ชั้น แห่งปัญญา (Three Story

 Intellect) ที่ประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูล (Gathering) การจัดกระทำข้อมูล (Processing) 

และการประยุกต์ใช้ข้อมูลความรู้ (Applying) (Jerry Goldberg: 1996, Art Costa: 1997, Robin

Forgarty:1997) รวมทั้งแนวคิดการพัฒนาคนให้มีบุคลิกภาพการกำกับตนเอง (Self-Regulating) 

มาสังเคราะห์เป็นโครงสร้างทักษะการคิด GPAS

....................................................................................................................................................................


ตัวอย่าง แผนการเรียนรู้วิทยาศาตร์ป.1-ป.6

ไฟล์ word













ดาวน์โหลดเอกสารไฟล์ word

ดาวน์โหลดเอกสารตามลิงค์ที่ปรากฎด้านล่างนี้ ครับ






ใหม่กว่า เก่ากว่า